อินเดียย้าย “จระเข้” ครั้งใหญ่ 1,000 ตัว-หลังประชากรทะลักศูนย์เพาะพันธุ์

วันที่ 3 ธ.ค. บีบีซีรายงานว่า ศูนย์วิจัยการเพาะพันธุ์จระเข้มาทรัส คร็อกคอไดล์ ทรัสต์ แบงก์ ในเมืองเจนไน รัฐทมิฬนาฑู ทางตอนใต้ของอินเดีย เตรียมย้ายจระเข้มากถึง 1,000 ตัว จากไปยังศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูสัตว์ กรีนส์ ซูโลจิคัล เรสคิว แอนด์ รีแฮบิลิเทชั่น เซ็นเตอร์ ของนายมูเกซ อัมบานี มหาเศรษฐีอันดับ 1 แห่งเอเชีย ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐคุชราต ทางภาคตะวันตก ซึ่งมีระยะทางห่างจากศูนย์วิจัยการเพาะพันธุ์จระเข้กว่า 1,930 กิโลเมตร

A thousand crocodiles are being transferred from Tamil Nadu to Gujarat // cr. JERIN SAMUEL

 

รายงานระบุว่าในปีที่ผ่านมาหน่วยงานกำกับดูแลสวนสัตว์ท้องถิ่นได้เคลื่อนย้าย “จระเข้อินเดีย” (Crocodylus palustris) จากศูนย์วิจัยการเพาะพันธุ์มาทรัสไปยังศูนย์ช่วยเหลือกรีนส์ไปแล้วประมาณ 300 ตัว

นายนิฮิล วิเทเกอ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยการเพาะพันธุ์ เปิดเผยถึงสาเหตุที่ต้องเคลื่อนย้ายจระเข้ว่าในศูนย์เพาะพันธุ์มีจระเข้มากเกินไป จนเกิดการทะเลาะและกัดกันเอง นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังต้องทำลายไข่จระเข้ทิ้งเป็นจำนวนมากในแต่ละปีเพื่อควบคุมจำนวนประชากรจระเข้ไม่ให้หนาแน่นเกินไปจนกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของพวกมัน

The crocodile bank is a popular tourist attraction in Chennai // cr. JERIN SAMUEL

 








Advertisement

แม้หลายปีที่ผ่านมาจะมีการย้ายจระเข้ไปยังพื้นที่คุ้มครองและสวนสัตว์ทั่วอินเดีย แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่จะเคลื่อนย้ายจระเข้จำนวนมากเช่นนี้ เจ้าหน้าที่ยังระบุว่าด้วยขนาดของศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูสัตว์กรีนส์ซึ่งมีพื้นที่เกือบ 1,100 ไร่ ถือว่าเพียงพอในการรองรับจระเข้นับพันตัว

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยการเพาะพันธุ์จระเข้มาทรัสก่อตั้งในปี 2519 ด้วยวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์จระเข้พื้นเมือง 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ จระเข้อินเดีย จระเข้น้ำเค็ม และตะโขงอินเดีย เริ่มแรกมีจระเข้ประมาณ 40 ตัว และตั้งเป้าหมายขยายพันธุ์ก่อนปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ แต่ในปี 2537 รัฐบาลกลางอินเดียมีคำสั่งห้ามปล่อยจระเข้กลับลงแหล่งน้ำธรรมชาติ เนื่องจากสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน และศูนย์วิจัยการเพาะพันธุ์มาทรัสต้องแบกรับภาระดูแลจระเข้ฝูงใหญ่นับตั้งแต่นั้น

The bank was started in 1976 to conserve native crocodile species // cr. JERIN SAMUEL

 

ด้านนายพี แกนนัน นักสัตววิทยา กล่าวว่า ยังไม่มีวิธีแก้ไขปัญหาความแออัดของจระเข้ตราบใดที่ไม่แยกจระเข้ตัวผู้กับตัวเมียออกจากกัน ส่วนนางเอส ชายาจันทรัน เลขาธิการสมาคมสัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อมนิลกิรี กล่าวว่า “แทนที่จะเคลื่อนย้ายพวกมัน อินเดียควรจะลดจำนวนลง ถ้ามีพื้นที่ป่ามากพอสำหรับจระเข้ พวกมันคงไม่ถูกย้ายไปที่สวนสัตว์หรอก

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน