นักวิทยาศาสตร์เล็งคืนชีพ “นกโดโด” ด้วยการผสมจีโนมกับนกพิราบ หลังสูญพันธุ์กว่า 400 ปี

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ ประกาศแผนคืนชีพนกโดโดที่สูญพันธุ์ไปแล้วนานกว่า 400 ปี โดยใช้วิธีการตัดต่อยีน และการนำจีโนมของนกโดโดประกอบไปในร่างกายของนกพิราบ

บริษัทโคลอสซอล ไบโอไซเอนเซส (Colossal Biosciences) บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรมมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ ระบุว่า ทางบริษัทกำลังอยู่ในขั้นตอนการเปรียบเทียบข้อมูลทางพันธุกรรมกับนกที่ใกล้ชิดกับนกโดโดที่สุด ซึ่งก็คือสัตว์ตระกูลนกพิราบ โดยทางบริษัทคิดว่าการกล่าวถึงเรื่องราวการปลุกชีพนกโดโด จะทำให้ผู้คนตระหนักถึงวิกฤตการสูญพันธุ์ที่เกิดขึ้นในโลกมากขึ้น และหวังว่าถ้าแผนคืนชีพนี้สำเร็จ จะนำไปสู่การเกิดขึ้นของเทคนิคใหม่ๆ มากมาย ที่จะสามารถอนุรักษ์นกและสัตว์อื่นๆ ไม่ให้สูญพันธุ์หายไปจากโลกนี้ได้

Dr. Beth Shapiro, Ph.D. (Lead Paleogeneticist and Colossal Scientific Advisory Board Member) and Ben Lamm (Colossal Co-Founder and CEO). Image courtesy of Colossal Biosciences.

นกโดโดเป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ เดิมมีถิ่นที่อยู่ในประเทศมอริเชียส นอกชายฝั่งแอฟริกาในมหาสมุทรอินเดีย ตั้งอยู่ทางตะวันออกของมาดากัสการ์ มีหลักฐานการพบเห็นนกโดโดครั้งสุดท้ายเมื่อปี 1662 สำหรับสาเหตุหลักของการสูญพันธุ์ คือการมาเยือนของชาวดัตช์ในช่วงปี 1600 ซึ่งได้เข้ามาตัดไม้ทำลายป่า ล่าสัตว์ และการทำลายวิถีชีวิตของโดโดด้วยการนำสัตว์อื่นเข้ามาที่เกาะ

รายงานระบุอีกว่า บริษัทใช้งบประมาณในการวิจัยครั้งนี้เป็นเงินประมาณ 225 ล้านเหรียญ (ราว 7,395 ล้านบาท) ทำให้มีหลายคนวิพากษ์วิจารณ์การใช้เงินจำนวนมหาศาลเพื่อสนับสนุนให้คืนชีพให้นกโดโด เพราะคิดว่าเงินวิจัยนี้ควรไปช่วยสิ่งมีชีวิตที่ยังอยู่และกำลังจะสูญพันธุ์ไม่ดีกว่าหรอ

ทั้งนี้ บริษัทโคลอสซอล ไบโอไซเอนเซส เคยประกาศแผนคืนชีพให้กับแมมมอธขนดก และ เสือแทสเมเนียด้วยวิธีลักษณะคล้ายกันมาแล้ว ขณะที่การคืนชีพนกโดโดนี้ นักวิทยาศาสตร์จะทำงานกับไข่นกพิราบ และใช้สารพันธุกรรมจากนกพิราบที่ดัดแปลงยีนให้มีคุณลักษณะของนกโดโด รวมถึงคุณลักษณะการเป็นนกที่บินไม่ได้ด้วย แต่วิธีการนี้ยังเป็นสิ่งที่ท้าทายในเชิงเทคนิค เนื่องจากยังไม่มีใครสามารถใช้การตัดต่อยีนนกด้วยวิธีนี้ได้มาก่อน

Gene editing company hopes to bring dodo back to life.

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน