คณะนักวิทย์นานาชาติพบ “นิกทีนาสตี” พืชนอนหลับ-เก่าแก่สุด 250 ล้านปี!

คณะนักวิทย์นานาชาติพบซินหัว รายงานการค้นพบสำคัญหลังจากทีมนักวิจัยนานาชาติเจอ “นิกทีนาสตี” (Nyctinasty) หรือ “ต้นไม้นอน” ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของพืชที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของกลางวันและกลางคืนโดยนิกทีนาสตีนี้อาจมีมาตั้งแต่เมื่อ 250 ล้านปีก่อน

ข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารเคอร์เรนต์ ไบโอโลจี เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาระบุว่า นิกทีนาสตีซึ่งคล้ายคลึงกับการนอนหลับของมนุษย์ เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวที่เป็นจังหวะชีวภาพ 24 ชั่วโมงของใบไม้ ซึ่งต้นกำเนิด ประวัติวิวัฒนาการ และประโยชน์ใช้สอยยังไม่ชัดเจนเนื่องจากขาดหลักฐานฟอสซิล กระทั่งคณะนักวิจัยพบฟอสซิลของพืชที่แสดงความเสียหายอันเกิดจากแมลง

“นิกทีนาสตี” พืชนอนหลับ-เก่าแก่สุด 250 ล้านปี!

Figure 1Location and geology of the fossil locality in Yunnan Province, Southwest China – (A and B) Geographic maps showing the fossil locality in Fuyuan County. Nyctinasty, a plant’s nastic movements responding to the alteration of day and night, like folding or raising leaves, could date back to 250 million years ago, according to an international research team’s findings, published on Thursday in the journal Current Biology. /cell.com/

คณะนักวิทยาศาสตร์ที่นำโดย นายเฝิง จัว นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน ได้เปรียบเทียบรูปแบบสมมาตรของความเสียหายอันเกิดจากแมลงบนใบไม้หุบที่ยังมีชีวิต กับรูปแบบเดียวกันบนใบของพืชเก่าแก่ 250 ล้านปีที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

ก่อนสรุปว่าฟอสซิลใบไม้ข้างต้นถูกแมลงโจมตีขณะที่กำลังหุบหรือ “นอนหลับ” ซึ่งเป็นหลักฐานแรกของการนอนของต้นไม้ทางใบในฟอสซิลพืช นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญยังวิเคราะห์ตัวอย่างจำนวนมากและค้นพบว่าการนอนของต้นไม้ทางใบมีวิวัฒนาการอย่างเป็นอิสระในกลุ่มพืชที่หลากหลาย

คณะนักวิทย์นานาชาติพบ

Figure 2Typical fossil plants from the upper Permian Xuanwei Formation in Fuyuan, Qujing City, Yunnan Province, Southwest China. /cell.com/

คณะนักวิทย์นานาชาติพบ

Figure 3Gigantopterid leaves hosting insect feeding damage (Folifenestra symmetrica isp. nov.) from the upper Permian Xuanwei Formation in Yunnan Province, Southwest China. (A) Gigantonoclea sp. (catalog no. YNUPB10153). (B) Gigantonoclea sp. cf. G. guizhouensis (catalog no. YNUPB10154). /cell.com/

คณะนักวิทย์นานาชาติพบ

Figure 4Nyctinastic leaves of extant legumes showing various styles of symmetrical hole-feeding damage facilitated by nocturnal folding of the leaflets along the midvein. (A–C) Arachis duranensis Krapov. et Greg. (D) Bauhinia variegata var. candida (Aiton) Voigt. (E) Bauhinia acuminata Linn. /cell.com/

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน