เอเอฟพีรายงานว่า เมื่อ 2 มี.ค. คณะนักวิทยาศาสตร์เผยแพร่ผลงานการสำรวจค้นพบนกเพนกวินอาเดลี แถบคาบสมุทรแอนตาร์กติกา ขั้วโลกใต้ อยู่ตามหมู่เกาะแดนเจอร์ ไอส์แลนด์ ที่เป็นเกาะโขดหิน 9 เกาะ อย่างน่าฮือฮา เนื่องจากมีประชากรหนาแน่นกว่า 1.5 ล้านตัว จากเดิมที่วิตกกังวลกันว่าเพนกวินอาเดลีเป็นชนิดที่ลดประชากรลงเรื่อยๆ

หมู่เกาะนี้อยู่ใกล้กับทวีปอเมริกาใต้มากที่สุด และอยู่ในฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลเวดเดลล์ การค้นพบครั้งนี้ให้พื้นที่ดังกล่าวขึ้นแท่นเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเพนกวินอาเดลี ด้วยจำนวนมากเป็นอันดับ 3 หรือ 4 ของโลก

This undated handout photograph released by Louisiana State University on March 2, 2018, shows Adélie penguins on sea ice next to Comb Island, Danger Islands, Antarctica. AFP PHOTO / Michael Polito/Louisiana State University

“นี่เป็นเรื่องน่าประหลาดใจอย่างยิ่ง เป็นเป็นสถานการณ์จริงสำหรับเราว่าจะบริหารจัดการกับภูมิภาคนี้อย่างนี้อย่างไร” ฮีตเธอร์ ลีนช์ จากมหาวิทยาลัยสโตนี บรู๊ก ผู้ร่วมเขียนงานวิจัยชิ้นนี้กล่าว โดยผลงานชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Scientific Reports

This undated handout photograph released by Louisiana State University on March 2, 2018, shows Adélie penguins nesting on the Danger Islands, Antarctica. “AFP PHOTO

ทั้งนี้ เพราะหากดูสถานการณ์ในพื้นที่ที่อยู่ห่างจากคาบสมุทรแอนตาร์กติกาไปทางตะวันตกราว 160 ก.ม. จะพบว่าบริเวณ แอนตาร์กติกาตะวันตกนั้น เพนกวินอาเดลีลดประชากรลงไปถึงร้อยละ 70 ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา เป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้หิมะละลาย

Adélie penguin (R) looking at a drone at breeding colony on Heroina Island, Danger Islands, Antarctica. AFP PHOTO








Advertisement

“การค้นพบนี้เป็นข่าวดีว่ายังมีพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแอนตาร์กติกาที่ดูเหมือนว่าจะค่อนข้างมั่นคงกว่าภาคตะวันตกภายใต้สภาพความเปลี่ยนแปลงทางอากาศ ดังนั้นประชากรของเพนกวินอาเดลีถึงได้มีจำนวนมากในภูมิภาคนี้และดูเหมือนว่ายังจะเหมาะเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับพวกมันไปพักใหญ่” ลีนช์กล่าว

A thriving “hotspot” of some 1.5 million Adelie penguins has been discovered on the remote Danger Islands in the east Antarctic, AFP PHOTO

สำหรับเพนกวินอาเดลีนเป็นหนึ่งใน 5 ชนิดของเพนกวินที่มีชีวิตอยู่ในโลก และอาศัยอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา ฝั่งขั้วโลกใต้ มันเป็นเพนกวินขนาดกลาง มีความสูงเฉลี่ย 70 เซนติเมตร น้ำหนัก 6 กิโลกรัม มีลักษณะเด่นคือ รอบดวงตามีวงกลมสีขาวคล้ายวงแหวน และมีขนหางที่ยาวกว่าเพนกวินชนิดอื่นๆ

ส่วนหมู่เกาะแดนเจอร์ ที่ได้ชื่อว่าอันตราย เพราะด้วยเหตุผลตามภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อมของมัน ลีนช์อธิบายว่า พื้นที่ของหมู่เกาะนี้ปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาจากทะเลเกือบตลอดทั้งปี แม้แต่ในช่วงฤดูร้อน เป็นพื้นที่ที่ยากจะเข้าถึงสำหรับการสำรวจ

เกาะที่ว่าเข้าไปง่ายที่สุดแล้วชื่อ เอโรอีนา ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ยังเข้าไปได้ด้วยเรือเพียง 1 ครั้งต่อปีเท่านั้น

เจ้าตัวนี้ยืนอยู่หลังโดรน บนเกาะเอโรอีนา. AFP PHOTO

หมู่เกาะแดนเจอร์ หรือที่แปลว่า อันตรายนั้น ค้นพบโดยทีมนักวิจัยจากอเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศส โดยอาศัยดาวเทียมแลนแซ็ตขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ หรือ นาซา และสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ (ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติที่ขึ้นสู่วงโคจร และบันทึกข้อมูลพื้นผิวโลกมาเกือบ 4 ทศวรรษ)

ยุบยับเหมือนเม็ดแมงลักนี้คือตัวเพนกวินบนเกาะเอโรอีนา / WHOI/MIT /

ลีนช์และทีมงานนำภาพสำรวจจากดาวเทียมส่องด้วยระบบที่ใช้ความคมชัดสูง ตอนแรกที่เห็นเพนกวินหลายพันหลายหมื่นตัวนั้น ยังคิดว่าเป็นความผิดพลาดของภาพ เพราะหมู่เกาะดังกล่าวไม่เป็นที่รู้จักว่ามีเพนกวินอาศัยอยู่

ดังนั้นเพื่อความแน่ใจจึงใช้การสำรวจภาคพื้นดินตามแบบฉบับเดิมผสมผสานกับการใช้โดรนถ่ายรูป ซึ่งนอกจากจะพบเพนกวินอาเดลีแล้ว ยังพบรังของเพนกวินเจนทู (เป็นชนิดที่ใกล้ชิดกับเพนกวินอาเดลี) อีก 100 รัง และรังของเพนกวินชินสแตรป (เพนกวินหางแปรงชนิดหนึ่ง บริเวณใต้คางจะเป็นเส้นเล็ก ๆ สีดำคาดผ่านเหมือนสายรัดคางของหมวกนักขี่ม้า) อีก 27 รัง

“เราโชคดีมากๆ ที่ตอนเดินทางไปนั้นทะเลน้ำแข็งเปิดออกทำให้เราล่องเรือเข้าไปได้” ผู้นำทีมวิจัยกล่าว
พร้อมกล่าวเตือนในตอนท้ายว่า จำเป็นอย่างยิ่งต้องปกป้องพื้นที่นี้อย่างแข็งขัน ไม่ให้มีการประมงกร้ำกรายเข้าไปเลย !!

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน