พอล อเล็กซานเดอร์ เจ้าของฉายา “พอล ปอดเหล็ก” เสียชีวิตแล้วในวัย 78 ปี หลังป่วยโปลิโอเป็นอัมพาต ต้องนอนในถังเหล็กนาน 70 ปี

เว็บไซต์ต่างประเทศ รายงานว่า นายพอล อเล็กซานเดอร์ ชายเจ้าของฉายา “พอล ปอดเหล็ก” ผู้ซึ่งใช้ชีวิตนานกว่า 70 ปีอยู่ในถังเหล็ก เนื่องจากป่วยเป็นอัมพาตถาวรตั้งแต่คอลงไป จากการติดเชื้อโปลิโอเมื่ออายุได้ 6 ขวบ เสียชีวิตแล้วในวัย 78 ปีหลังป่วยโควิด

ตามรายงานเผยว่า ชายชาวเท็กซัสผู้นี้เป็นอัมพาตตั้งแต่คอลงมาจากโรคโปลิโอ และกลายเป็นบุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ หลังจากรอดชีวิตจากโรคโปลิโอ โดยเขามีชีวิตอยู่ในปอดเหล็กมานานกว่า 70 ปี

ภาพประกอบ

ในระหว่างนั้น พอลเข้าเรียนวิทยาลัย เป็นทนายความและเป็นนักเขียนที่ได้รับการตีพิมพ์หนังสือ เรื่องราวของเขาเดินทางไปไกลและมีอิทธิพลเชิงบวกต่อผู้คนทั่วโลก

พอลเป็นแบบอย่างที่น่าทึ่งและจะถูกจดจำต่อไปเขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกฎหมาย เขียนบันทึกความทรงจำและวาดภาพโดยใช้ปาก

ภาพประกอบ

ขณะที่ น้องชายผู้ตาย ระบุว่า พวกเขาไม่ทราบสาเหตุการเสียชีวิตของนายอเล็กซานเดอร์ที่แน่ชัด แต่เขายอมรับว่า พวกเขาต้องนำตัวนายอเล็กซานเดอร์ ส่งโรงพยาบาลในเมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส เมื่อสามสัปดาห์ก่อน เนื่องจากพี่ชายติดโรคโควิด-19 แต่ผลตรวจโควิดในสัปดาห์นี้ไม่ได้ออกมาเป็นบวกแล้ว








Advertisement

อย่างไรก็ตาม ระหว่างนายอเล็กซานเดอร์ใช้เวลาในปอดเหล็ก หรือเครื่องช่วยหายใจแบบกลไกอย่างยากลำบาก เขาต้องใช้แรงดันในการสูบลมเข้าไปในปอดของเขา และเขาสอนตัวเองให้หายใจโดยการกลืนอากาศเข้าไปแล้วบังคับลมลงคอ โดยเทคนิคการหายใจนี้เหมือนกับการขี่จักรยาน แต่เขาทำได้เฉพาะตอนตื่นเท่านั้น

ภาพประกอบ

ขณะเดียวกัน เมื่อปี 2563 เขายังทำหน้าที่เป็นตัวแทนลูกความในศาล เข้าร่วมการประท้วงด้านสิทธิผู้พิการ โดยนายอเล็กซานเดอร์มีชื่อเสียงโด่งดังในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลังจากได้รับความสนใจจากสื่อมาเป็นเวลานานที่เขาใช้เวลาอยู่ในปอดเหล็ก

นอกจากนี้ นายอเล็กซานเดอร์ กล่าวอีกด้วยว่า เขาไม่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด และยังคงมีชีวิตอยู่ในปอดเหล็ก และกลายเป็นหนึ่งในคนกลุ่มสุดท้ายในโลกที่ทำเช่นนั้น ขณะที่แพทย์ไม่เคยคาดหวังว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้นานขนาดนี้

ภาพประกอบ

กระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ เขาได้รับการยอมรับจากกินเนสส์ เวิลด์ เรกคอร์ด ว่าเป็น “ผู้ป่วยที่ใช้ชีวิตอยู่ในปอดเหล็กยาวนานที่สุด”

ทั้งนี้ อุปกรณ์ปอดเหล็กช่วยชีวิตเด็กหลายพันคนในช่วงที่มีการระบาดของโรคโปลิโอ แต่เพื่อใช้เพียงช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น หลังมีการพัฒนาวัคซีนในช่วงปลายทศวรรษ 1950 อุปกรณ์ปอดเหล็กส่วนใหญ่ได้ถูกเลิกใช้ และมีการพัฒนาอุปกรณ์ช่วยหายใจอื่นๆ ที่สามารถสอดเข้าไปในลำคอผู้ป่วยโดยตรง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน