ปลาแปลกขนาดเล็กแค่ 1 ซม. แต่ทำไมเสียงดังเท่าเครื่องบิน จนแก้วหูแตก-ผู้รู้เผยคำตอบแล้ว

เว็บไซต์ต่างประเทศ รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ ปลาแดนีโอแนลลา ซีรีบรัม ปลาตัวจิ๋วขนาดแค่ 1 เซนติเมตร โดยอาศัยอยู่ในน้ำตื้นนอกชายฝั่งเมียนมาร์ สามารถส่งเสียงดังได้มากกว่า 140 เดซิเบล ดังพอที่ทำแก้วหูมนุษย์แตกได้

โดยปลาแดนีโอแนลลา ซีรีบรัม (Danionella cerebrum) เป็นปลาชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน มีรูปร่างโปร่งใสขนาดเล็กจิ๋ว มีขนาดลำตัวยาวแค่ 1.27 ซม. แต่เมื่อมันใช้กระเพาะลมตีเป็นจังหวะแรงๆ สามารถส่งเสียงดังได้มากกว่า 140 เดซิเบล เทียบเท่ากับเสียงในคอนเสิร์ต หรือเสียงเครื่องบิน

ภาพประกอบ

ขณะที่ ผู้เขียนรายงานการศึกษา และนักวิทยาวิทยาที่พิพิธภัณฑ์เซนเคนเบิร์กเมืองเดรสเดน ประเทศเยอรมนี กล่าวว่า “สิ่งนี้เทียบได้กับเสียงที่มนุษย์รู้สึกเมื่อเครื่องบินบินขึ้นที่ระยะห่างประมาณ 100 เมตร ซึ่งค่อนข้างไม่ปกติสำหรับสัตว์ขนาดเล็ก”

โดยนักวิจัยเชื่อว่า ปลาชนิดนี้ถือเป็นปลาที่ทำเสียงดังที่สุดในบรรดาสายพันธุ์ปลาขนาดเดียวกัน และเชื่อว่า เสียงดังรัวๆ ดังกล่าวอาจเป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารทางสังคม

ภาพประกอบ

อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิจัยค้นพบว่า เสียงของปลาแดนีโอแนลลา ซีรีบรัม เกิดจากกล้ามเนื้อหดตัวลง ของกล้ามเนื้อซ้ำๆ ที่ด้านใดด้านหนึ่ง มันจะดึงซี่โครงลงไปด้วย และส่งแรงตึงไปยังกระดูกอ่อนที่อยู่ภายในกล้ามเนื้ออีกที เมื่อกระดูกอ่อนถูกปล่อยออกมา มันจะกระทบกับกระเพาะลมของปลา ต่างจากปลาชนิดอื่นที่ใช้กล้ามเนื้อรัวตีที่กระเพาะลมเพื่อสร้างเสียง

ภาพประกอบ

ขณะเดียวกัน นักวิจัยชี้ว่า “เป็นเรื่องน่าสนใจที่จะเรียนรู้ว่ากลไกการสร้างเสียงต่างกันอย่างไร และความแตกต่างเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการดัดแปลงเชิงวิวัฒนาการอย่างไร”

ทั้งนี้ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น กุ้งไกปืน สามารถสร้างเสียงดังขนาด 200 เดซิเบล ขณะที่ออกล่าเหยื่อสายพันธุ์อื่น หรือกระทั่งสัตว์ใหญ่ อย่าง ช้างสามารถสร้างเสียงได้ถึง 125 เดซิเบลด้วย

ภาพประกอบ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน