ซีเอ็นเอ็น รายงานเจาะลึกข้อมูลเรือดำน้ำของสหรัฐอเมริกา เขี้ยวลับสำคัญทางยุทธศาสตร์แห่งศตวรรษที่ 21 ท่ามกลางบรรยากาศเผชิญหน้ากับมหาอำนาจรัสเซียที่แผ่อิทธิพลอย่างต่อเนื่องในยุโรปตะวันออก

เริ่มจากเรือดำน้ำ ยูเอสเอส ฮาร์ตฟอร์ด (USS Hartford) เป็นเรือดำน้ำคลาสลอสแองเจลิส (เรือดำน้ำประเภทจู่โจมเร็ว) ใช้พลังงานนิวเคลียร์ขับเคลื่อน ถือเป็นหนึ่งในอาวุธสำคัญของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาในพื้นที่มหาสมุทรอาร์กติก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพื้นที่เสี่ยงต่อการปะทะกับกองทัพเรือรัสเซียที่ร้ายกาจ

ยูเอสเอส ฮาร์ตฟอร์ด มีอาวุธร้ายไว้รับมือ นั่นคือ จรวดตอร์ปิโดยาว 6 เมตร ที่สามารถจมเรือดำน้ำฝ่ายตรงข้ามได้ในทันที

USS Hartford (SSN 768) (U.S. Navy photo by Don S. Montgomery/Released)

ล่าสุด ยูเอสเอส ฮาร์ตฟอร์ด กำลังอยู่ระหว่างปฏิบัติภารกิจซ้อมรบร่วมกับเรือดำน้ำ ยูเอสเอส คอนเน็กติกัด (USS Connecticut) และเอชเอ็มเอส เทร็นแชนต์ (HMS Trenchant) พิกัดน้ำหนัก 6,000 ตัน ของกองทัพเรืออังกฤษ

มหาสมุทรอาร์ติกถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่เสี่ยงกลายเป็นสมรภูมิยุทธนาวีระหว่างสหรัฐกับชาติพันธมิตร กับกองทัพเรือรัสเซียมากที่สุด ในพื้นที่รวมกว่า 14 ล้านตารางกิโลเมตร (คิดเป็นประมาณพื้นที่ 28 เท่าของประเทศไทย) แต่ผิวน้ำส่วนใหญ่นั้นเป็นน้ำแข็ง ขณะที่น้ำแข็งที่เริ่มละลายนั้นก็เป็นโอกาสในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ช่องทางเดินเรือสินค้า และแน่นอนทำสงคราม

ยูเอสเอส โอไฮโอ

พลเรือตรีเจมส์ พิตส์ ผู้บัญชาการศูนย์พัฒนายุทธวิธีสงครามใต้น้ำของสหรัฐ กล่าวว่า สหรัฐตระหนักดีว่าอยู่ท่ามกลางการแข่งจันทางด้านแสนยานุภาพทางทหาร มหาสมุทรอาร์ติกนับเป็นส่วนหนึ่งในการแข่งขันด้วย จึงเป็นเหตุผลที่กองทัพเรือสหรัฐต้องเดินทางมาฝึกฝนความพร้อมกันในที่แห่งนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีความพร้อมรับมือสถานการณ์

พล...พิตส์กล่าวว่า ภารกิจซ้อมรบครั้งนี้เรียกว่า ไอซีอีเอ็กซ์ (ICEX) มีความพิเศษกว่าทุกครั้ง เพราะมาฝึกในหนึ่งสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมโหดที่สุดในโลก คือ ใต้แผ่นน้ำแข็งทะเลอาร์ติก

หากมองในมิติของกองทัพ ภูมิศาสตร์ และวิทยาศาสตร์แล้ว จะพบว่า ทะเลอาร์ติก นั้นมีความโดดเด่นมาก และเป็นหนึ่งในสภาพแวดล้อมที่โหดมากที่สุดบนโลกพล...พิตส์กล่าวย้ำ

ด้าน นาวาโทโครีย์ บี. เบ็กเกอร์ ผู้อำนวยการกรมสารนิเทศกองทัพเรือสหรัฐ กล่าวว่า ความโหดของมหาสมุทรอาร์ติกนอกจากเรื่องสภาพแวดล้อมแล้วยังมีแผ่นน้ำแข็งซึ่งลูกเรือของเรือดำน้ำจะต้องใช้ทักษะอย่างสูงสุดในการโผล่ทะลุขึ้นเหนือผิวน้ำแข็งถือเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก รวมทั้งยังเป็นการทดสอบระบบเรดาร์ โซนาร์ และระบบอาวุธให้พร้อมใช้งานในสภาพแวดล้อมดังกล่าวด้วย

ยูเอสเอส จอร์เจีย

เอกสารของเพนตากอน ระบุว่า การใช้ระบบโซนาร์ในพื้นที่นี้มีความท้าทาย เนื่องมาจากกาเปลี่ยนทิศทางของเสียงที่มาจากการสะท้อนกับแผ่นน้ำแข็งบนผิวน้ำ แต่ กองเรือดำน้ำของสหรัฐมีความพร้อมต่อความท้าทายดังกล่าว เพราะมีเทคโนโลยีการตรวจจับที่ทันสมัย มีเพียงเรือดำน้ำของรัสเซียและจีนเท่านั้นที่อยู่ระหว่างพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อตามสหรัฐให้ทัน

สำหรับกองทัพเรือรัสเซียที่ใช้งบประมาณมหาศาลเพื่อวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการหลบหลีกการตรวจจับ และกองเรือดำน้ำของรัสเซียกำลังมีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีใกล้จะเทียบเท่ากับสหรัฐแล้ว ทำให้บรรยากาศเริ่มกลับไปคล้ายๆ กับเมื่อสมัยสงครามเย็นระหว่างสหรัฐกับอดีตสหภาพโซเวียต

ปฏิบัติการซ้อมรบไอซีอีเอ็กซ์ครั้งนี้ยังมีเรือดำน้ำของอังกฤษมาร่วมฝึกด้วยเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี โดยทางสหรัฐปรับรูปแบบของภารกิจมุ่งเน้นจำลองการสู้รบช่วงสงครามเย็น ตามนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐ

นโยบายนี้ปรับเปลี่ยนจากการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้าย จากสมัยอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช หลังการก่อวินาศกรรม 11 กันยาฯ เมื่อปี 2544 มาเป็นการเน้นแสนยานุภาพการทำสงครามเต็มรูปแบบ เช่น การฝึกปล่อยจรวดตอร์ปิโดติดหัวรบที่มีความรุนแรงสูง

พลเรือจัตวาแมตธิว แฟนนิง ผู้บังคับการเรือดำน้ำ ยูเอสเอส ฮาร์ตฟอร์ด กล่าวว่า ลูกเรือทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการบังคับบัญชาเรือดำน้ำ โดยตนสอนให้ทุกคนต้องทำหน้าที่แทนกันได้หมด ไม่ใช่เฉพาะระดับนายทหารเท่านั้น

ส่วนพล..จัตวา โอลลี ลูวิส ผู้บังคับการกองเรือดำน้ำที่ 12 ของสหรัฐ กล่าวเสริมว่า ความท้าทายที่ลูกเรือในเรือดำน้ำต้องเผชิญมากที่สุดระหว่างอยู่ใต้ผิวน้ำแข็งทะเลอาร์กติก คือ การที่ระบบ GPS สำหรับบอกตำแหน่งและทิศทางจะไม่สามารถพึ่งพาได้ชั่วคราว และการสื่อสารก็กองบัญชาการก็จะมีอุปสรรค

นอกจากนี้ ยังต้องระวังไม่ให้เรือดำน้ำไปชนเข้ากับแผ่นน้ำแข็งยื่นลงมาใต้น้ำจากผิวน้ำ และระวังไม่ให้เรือโดนพื้นทะเล แต่แน่นอนว่าที่ท้าทายที่สุดคงหนีไม่พ้นเรือดำน้ำของรัสเซีย

ผู้บังคับการกองเรือดำน้ำที่ 12 ของสหรัฐ กล่าวอีกว่า กองทัพเรือรัสเซียนั้นนอกจากอยู่ระหว่างเร่งพัฒนาเทคโนโลยีและยุทธวิธีที่ทำให้เลี่ยงการตรวจจับ และมีอาวุธที่ร้ายแรงแล้ว ยังสร้างฐานทัพเรือ อู่เรือ และสนามบินทางทหารหลายแห่งตลอดแนวชายฝั่งด้านทะเลอาร์กติก สะท้อนว่ารัสเซียกำลังเร่งพยายามพัฒนาอย่างเร็วที่สุดเพื่อให้มีแสนยานุภาพทางทหารเทียบเท่าสหรัฐ

CNN

ถ้าจะถามว่ารัสเซียกำลังพัฒนาเร็วแค่ไหน เอาเป็นว่าหากเราไม่พัฒนาต่อจากนี้ล่ะก็โดนแซงแน่ๆ มันเร็วขนาดนั้นแหละผบ.กองเรือดำน้ำที่ 12 กล่าว

อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กองทัพเรือสหรัฐได้รับผลกระทบจากนโยบายปรับลดงบประมาณทางทหารค่อนข้างมาก แม้ประธานาธิบดีทรัมป์ จะเพิ่งเปลี่ยนโยบายมาเป็นการเพิ่มงบให้กองทัพก็ตาม

ปัจจุบัน กองทัพเรือสหรัฐมีเรือดำน้ำพิฆาต (คลาส ลอสแองเจลิส) ทั้งหมด 43 ลำ และมีแผนต่อจะต่อเรือดำน้ำพิฆาตรุ่นใหม่ ที่ได้รับการติดตั้งเทคโนโลยีล่าสุด เช่น เทคโนโลยีล่องหน (คลาส เวอร์จิเนีย) 30 ลำ

ยูเอสเอส จอห์น วอร์เนอร์

พร้อมต่อเรือดำน้ำบรรทุกขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์รุ่นใหม่ (คลาส โคลัมเบีย) 12 ลำ เพื่อทดแทนเรือดำน้ำบรรทุกขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์รุ่นเก่า (คลาส โอไฮโอ) ที่มีอยู่ 14 ลำ โดยมีแผนจะต่อคลาส โคลัมเบียให้เสร็จอย่างน้อย 1 ลำ ภายในปี 2564

แม้กองทัพเรือสหรัฐจะสามารถต่อเรือดำน้ำพิฆาตรุ่นใหม่ได้ 2-3 ลำต่อปี ต่อจากนี้ สหรัฐก็จะยังมีต่อเรือดำน้ำพิฆาตรุ่นใหม่เพียง 41 ลำ ภายในปี 2572

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน