เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพยท์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี แถลงข่าวเรื่อง “รามาธิบดีกับความสำเร็จ หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดประสาทศัลยศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย” โดย ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ให้การรักษาพยาบาลด้วยวิธีต่างๆมากมาย ซึ่งการผ่าตัดแต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้ความรู้ความสามารถ และความแม่นยำในการผ่าตัด จึงได้นำเทคโนโลยีการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์เข้ามาใช้เพื่อประโยชน์ของประชาชน

201611291433274-20151218170201

ผศ.นท.นพ.สรยุทธ ชำนาญเวช กล่าวว่า อัตราผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคกระดูกสันหลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในผู้สูงอายุมักจะมีอาการ ไขสันหลังตีบแคบ กระดูกสันหลังเคลื่อนผิดรูป และกลุ่มเด็กที่เกิดมาสันหลังผิดรูป โดยการผ่าตัดนั้นจะมีความเสี่ยงสูงมาก หากผิดพลาดมีโอกาสพิการได้ ดังนั้นจึงได้พัฒนาหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเรเนซอง เป็นตัวหุ่นยนต์ที่พัฒนาและสร้างขึ้นที่ประเทศอิสราเอล ได้รับการยอมรับจาก USFDA (องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา) ตั้งแต่ปีพ.ศ.2549 และมีใช้มาตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมาในต่างประเทศ หุ่นยนต์ตัวนี้จะช่วยกำหนดเป้าและทิศทางการเดินทางของสกรูเพื่อยืดกระดูกสันหลัง มีความแม่นยำกว่า 99.7 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจากที่ได้ใช้ทำการผ่าตัดให้ผู้ป่วยในไทย 5 ราย ยังไม่พบความผิดพลาดใด

201611291433273-20151218170201

ผศ.นท.นพ.สรยุทธ กล่าวต่อว่า ขนาดนี้ในประเทศไทย เราสามารถใช้หุ่นยนต์ตัวนี้ผ่าตัดช่วงอกและเอวลงไป แต่ยังไม่สามารถผ่าตัดช่วงคอและสมองได้ ซึ่งจะพัฒนาต่อไปเพื่อให้สามารถผ่าตัดได้ การใช้หุ่นยนต์ดังกล่าวผ่าตัดนั้น ก็จะทำให้ผู้ป่วยใช้เวลาพักฟื้นสั้นขึ้น เพราะการผ่าตัดใช้ระยะเวลาสั้นเพียง 10-20 นาที ที่ผ่านมาพบว่า ผู้ป่วยที่ใช้หุ่นยนต์ผ่าตัดพักฟื้นเพียง 5 วันเท่านั้น ก็สามารถกลับบ้านได้ นอกจากนี้ ต่อไปทางโรงพยาบาลจะพยายามตั้งกองทุน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยยากไร้สามารถเข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังโดยหุ่นยนต์ตัวนี้ได้ต่อไป

201611291433271-20151218170201

ศ.นพ.วชิร คชการ หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เนื่องจากหุ่นยนต์ตัวนี้มีราคาสูง จึงทำให้ค่าใช่จ่ายมีราคาสูงตามไปด้วย ดังนั้นแม้จะสามารถใช้สิทธิต่างๆได้ แต่ก็จะมีค่าใช้จ่ายส่วนเกินอยู่ดี โดยหากคนไข้ไม่สามารถจ่ายได้ ก็จะมีกองทุนของมูลนิธิผู้ป่วยยากไร้ ค่อยให้ความช่วยเหลืออยู่ในส่วนนี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วการจะผ่าตัดด้วยวิธีการใดขึ้นอยู่กับอาการป่วยด้วย ไม่ใช่ผู้ป่วยทุกคนที่จำเป็นต้องใช้หุ่นยนต์ผ่าตัด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน