จักษุแพทย์มั่นใจภาวะการมองเห็นของ 13 ชีวิตติดถ้ำหลวงไร้ปัญหา ชี้จอประสาทตาใช้เวลา 5-10 นาที ปรับการทำงานค่อยเพิ่มการรับแสงทีละน้อย เผยอาจเตรียมแว่นกันแดดให้ใส่ระหว่างนำเด็กๆ ออกสู่แสงสว่างครั้งแรก

จากกรณีทีมปฏิบัติการสามารถค้นหาทีมหมูป่าอะคาเดมี 13 ชีวิตที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย พบแล้ว โดยอยู่เลยจากพัทยาบีชประมาณ 400 เมตร ซึ่งทั้งหมดปลอดภัยดี แต่มีอาการอ่อนเพลีย โดยอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อพาตัวทั้งหมดออกมา อย่างไรก็ตาม กระแสสังคมมีความเป็นห่วงถึงดวงตาของทั้ง 13 คน อาจเกิดอันตราย หลังออกจากถ้ำ เพราะอยู่ในที่มืดมานานถึง 10 วัน อ่านข่าว ผู้ว่าฯเชียงราย ให้ ‘ซีล’ ต่อสายโทรศัพท์ให้ครอบครัวคุย 13ชีวิตในถ้ำหลวง

เมื่อวันที่ 3 ก.ค. รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ หัวหน้าศูนย์ตาธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า ก่อนอื่นตนขอร่วมแสดงความยินดีกับคนไทยทุกคน และผู้คนอีกกว่าครึ่งโลกที่ส่งกำลังใจให้ทีมกู้ภัยฯสามารถช่วยเหลือน้องๆ นักฟุตบอลออกมาจากถ้ำหลวงได้สำเร็จ อ่านข่าว ทีมดำน้ำคาดอีก 2 วันพา 13 ชีวิตออกจากถ้ำ ตุนอาหาร-ส่งถังออกซิเจนเพิ่ม

ส่วนประเด็นที่ผู้คนให้ความเป็นห่วง หนึ่งในนั้นคือการที่เด็กๆ ติดอยู่ในถ้ำที่มืดสนิทนานเกือบ 10 วันจะเกิดอันตรายกับดวงตาหรือไม่นั้น เท่าที่ประเมินจากคลิปที่เผยแพร่ออกมาขณะพบตัวทั้ง 13 คน คาดว่าไม่น่ามีปัญหาด้านดวงตา อ่านข่าว ด่วน! เปิดคลิปนาทีเจอ 13 ชีวิตแบบชัดๆ หลังติดในถ้ำหลวงนาน 10 วัน

ส่วนการออกจากที่มืดมาสู่แสงสว่างนั้น ก็ไม่ได้น่ากังวลอย่างที่คิด เนื่องจากสามารถจอประสาทตาจะปรับให้รับแสงสว่างได้ แม้จะอยู่ในที่มืดมาเป็นระยะเวลานานก็ตาม ยืนยันว่าจะไม่เกิดอันตรายถาวร ซึ่งต่างจากคนที่จ้องดวงอาทิตย์ตรงๆ แบบนี้จะทำให้จอประสาทตาเสียหายได้ อ่านข่าว เปิดเมนูแรก 13ชีวิต ราคาหลักล้านไทยผลิตเหลือแค่ร้อย เด็กๆหิวหนักอดข้าว10วัน(คลิป)

“ในจอประสาทตาคนเรามีเซลล์รับแสง 2 ชนิด คือ เซลล์ชนิดแท่งสำหรับรับแสง และเซลล์ชนิดโคนสำหรับมองเห็นสี ซึ่งเมื่อเราอยู่ในที่มืด เซลล์ชนิดแท่งสำหรับรับแสงจะทำงานหนักขึ้น เพื่อพยายามให้เห็นแสง ขณะที่เซลล์รับสีจะทำงานน้อยลง เพราะไม่มีสีสันใดๆ ในที่มืด ดังนั้น เมื่อออกมาเจอแสงสว่าง การทำงานของเซลล์รับแสงที่เยอะผิดปกติจะทำให้รู้สึกแสงจ้ามากกว่าคนอื่นเห็น แต่จอประสาทตาปรับตัวเอง โดยเซลล์รับแสงจะกลับไปทำงานปกติ ส่วนเซลล์รับสีจะเริ่มทำงานมากขึ้น ทุกอย่างก็จะกลับมาเป็นปกติ ไม่เกิดความพิการถาวรอย่างที่หลายคนกลัว” รศ.นพ.ศักดิ์ชัย กล่าว








Advertisement

รศ.นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า จอประสาทตาจะใช้เวลาในการปรับดวงตากับสภาพแวดล้อมใหม่ประมาณ 5-10 นาที โดยการปรับแสงสว่างนั้น ควรให้ค่อยๆ เจอแสงเพิ่มทีละน้อย เช่น เตรียมแว่นกันแดดให้ใส่ระหว่างนำเด็กๆ ออกสู่แสงสว่างครั้งแรก โดยสวมแว่นกันแดดตั้งแต่อยู่ภายในถ้ำ ซึ่งแว่นกันแดดจะใช้แบบใดก็ได้ หรือแว่นกันแดดทั่วๆ ไปก็ได้ เพราะใช้เพื่อตัดแสงเป็นเวลาไม่นาน 5-10 นาทีเท่านั้น เพื่อให้จอประสาทตากลับมาปรับตัวในสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ ไม่เหมือนแว่นกันยูวีเวลาอยู่กลางแดด ที่ตามหลักแล้วจะต้องกันได้ 95-98 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้ แม้จะอยู่ในที่มืดมานานเป็นเดือน หลักการก็เป็นเช่นเดียวกันคือ ดวงตาสามารถปรับรับแสงสว่างในสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ แต่แค่ต้องค่อยเพิ่มการรับแสงทีละน้อยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อดูแลสภาพทั่วไปของน้องๆแล้วสามารถนำไปตรวจสุขภาพตาเพิ่มเติมเพื่อความสบายใจได้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน