ศบค.เผยผลตรวจกลุ่มกิจการที่ผ่อนปรน 9,838 แห่ง พบไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค 351 แห่ง คิดเป็น 4% ยันยังไม่มีคำสั่งปิด แค่ให้คำแนะนำ ชี้แนะปรับตัว

วันนี้ (5 พ.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวว่า การจัดชุดตรวจกิจการและกิจกรรมที่ได้รับการผ่อนคลาย ผลการออกปฏิบัติการวันที่ 4 พ.ค. 2563 ออกตรวจทั้งหมด 9,383 แห่ง พบว่า ปฏิบัติตามมาตรการ 9,032 แห่ง

คิดเป็น 96% ไม่ปฏิบัติ 351 แห่ง คิดเป็น 4% โดยแยกเป็น 1.ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ตรวจ 3,156 แห่ง พบปฏิบัติ 2,942 แห่ง ไม่ปฏิบัติ 214 แห่ง คิดเป็น 6.7% 2.ร้านค้าที่เปิดในห้างสรรพสินค้า ออกตรวจ 573 แห่ง ปฏิบติ 563 แห่ง ไม่ปฏิบัติ 10 แห่ง คิดเป็น 1.7% 3.ตลาด ร้านค้านปลีก ออกตรวจ 2,680 แห่ง ปฏิบัติ 2,639 แห่ง ไม่ปฏิบัติ 41 แห่ง คิดเป็น 1.5%

4.ร้านเสริมสวย ออกตรวจ 1,943 แห่ง ปฏิบัติ 1,882 แห่ง ไม่ปฏิบัติ 61 แห่ง คิดเป็น 3.1% 5.สนามกอล์ฟ ออกตรวจ 77 แห่ง ปฏิบัติทั้งหมด 6.สนามกีฬา ออกตรวจ 254 แห่ง ปฏิบัติ 242 แห่ง ไม่ปฏิบัติ 12 แห่ง คิดเป็น 4.7% 7.สวนสาธารณะ ออกตรวจ 352 แห่ง ปฏิบัติ 346 แห่ง ไม่ปฏิบัติ 6 แห่ง คิดเป็น 1.7% และ 8. ร้านสัตว์เลี้ยง ออกตรวจ 348 แห่ง ปฏิบัติ 341 แห่ง ไม่ปฏิบัติ 7 แห่ง คิดเป็น 2%

เมื่อถามว่า มีคำสั่งปิดบางกิจการ สถานประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการ เพราะหลายร้านกลับมานั่งปกติ หรือตั้งฉากกั้น นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า การประชุม ศบค.หลายครั้ง ย้ำว่าช่วงนี้เป็นการเปลี่ยนผ่าน ปรับพฤติกรรม ต้องอาศัย 3 ส่วน คือ ผู้ประกอบการ ผู้ใช้บริการ และผู้เข้าไปกำกับติดตาม

ถ้าผู้ประกอบการทำได้ดี มีระเบียบทำตามมาตรการหลักและเสริมให้ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ร้านค้า สร้างระยะห่าง และผู้ประกอบการทำดี ผู้มารับบริการก็ทำดี รอคิว อยู่ห่างๆ กัน ไม่ไปแย่งคิด เบียดเสียดกัน กลุ่มกำกับติดตามแทบไม่มีบทบาทอะไรเลย

ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการสั่งปิด หากสั่งปิดคงเป็นกลุ่มผิดกฎหมายต่างๆ หากทำถูกกฎหมายตอนนี้ คือ ให้คำชี้แนะ แนะนำ เรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน เพื่อปรับพฤติกรรมให้เข้ากับชีวิตวิถีใหม่ในช่วงนี้ ก็จะเห็นนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมา คนที่ทำดี คนขายแข็งแรง คนซื้อมั่นใจ ก็จะไปบ่อยด้วยซ้ำ เพราะใส่ใจรายละเอียดอย่างดี

“แม้จะมีรายงานไม่ปฏิบัติตามแต่ไม่ได้ลงโทษทั้งสิ้น แต่การตรวจครั้งที่ 2 หากเปลี่ยนแปลงก็จบ แต่หากทำเหมือนเดิมหรือแย่ลงกว่าเดิม อาจต้องถูกสั่งปิดหรือสั่งให้ทำอะไรมากขึ้น ถ้าไม่อยากถูกสั่ง ให้ทำด้วยตัวเอง คำสั่งมาในพื้นฐานเพื่อมีสุขอนามัยที่ดี ปลอดโรค ปลอดภัย ไม่ต้องให้ภาครัฐสั่งเลย” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

เมื่อถามถึงขนส่งสาธารณะ รถไฟฟ้าเริ่มหนาแน่นอีกครั้ง นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า เห็นภาพจากในโซเชียลมีเดีย เมื่อเช้าสถานีรถไฟฟ้าหลายสถานีมีภาพคนแออัดกัน ก็พยายามมองดูว่าสวมหน้ากากหรือไม่ ก็ยังคงสวม แต่พื้นที่นั้นต้องให้ผู้ดำเนินการกิจการพยายามปรับพื้นที่ให้ได้ ในต่างประเทศมีกรณีศึกษาหลายประเทศ

ทั้งจัดพื้นที่หรือพื้นที่จำกัดก็เพิ่มจำนวนเที่ยวโดยสารให้มากขึ้น พอขึ้นในรถช่วงเวลาเดียวกัน ก็แน่นอนว่าตู้โดยสารน้อยไปก็มาแออัด อาจต้องเพิ่มจำนวนตู้โดยสาร ผู้ประกอบการต้องช่วยกันคิดให้ผู้รับบริการเกิดความมั่นใจ และผู้ใช้บริการเองเลือกเวลาได้ก็เหลือ่มเวลา ถ้าเป็นเวลาเร่งด่วนไปแล้วเสี่ยงก็อย่าไป เรายังมีการให้ทำงานที่บ้าน เป็นนโยบายอยู่ก็ทำงานในบ้านจะดีกว่า ลดการเดินทางให้มากที่สุดเพื่อตัวท่านเอง

ถามถึงการรายงานผลจ.ยะลา จะกระทบความเชื่อมั่นการตรวจเชื้อของไทยหรือไม่ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ความเชื่อมั่นมีความสำคัญมากๆ แต่ระดับหน่วยงานปฏิบัติตามนโยบายจะต้องมีการเพิ่มศูนย์ตรวจห้องปฏิบัติการให้มากขึ้นให้ได้ เพื่อลดความเสี่ยงตรวจน้อยเจอน้อย

การเพิ่มปริมาณในส่วนที่ให้ได้การตรวจเพิ่ม ก็ต้องเพิ่มคุณภาพในช่วงนี้ไปด้วยกัน แต่การปฏิบัติต่างๆ อาจมีเรื่องของการเรียนรู้ที่ต้องให้เท่าทันกัน แล็บที่เพิ่งเปิดใหม่กับแล็บที่เปิดนานแล้ว 3-4 1เดือน บุคลากรที่ฝึกหัดดีแล้วับเริ่มต้นก็มีข้อจำกัดทั้งสิ้น

สธ.เห็นถึงความสำคัญจึงต้องมีการคิดในหลายระบ เช่น ให้ความสำคัญศูนย์นั้น บุคคลนั้นๆ เพิ่มระบบดับเบิลเช็ก ศูนย์ใหม่ๆ อาจต้องส่งตรวจ 2 แล็บด้วย หากไม่แน่ใจก็มีแล็บอ้างอิงขึ้นมาอีก ทำทุกอย่างเพื่อเพิ่มความมั่นใจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้หากมีข้อต่อที่ไม่เชื่อมสนิทกันดี หลวมเมื่อไร

ทำให้การขับเคลื่อนก็ไม่ดี ข้อห่วงใยที่ทุกคนมี เราก็มีเหมือนกัน และจะนำข้อห่วงใยมาพัฒนาให้ดีขึ้น และสร้างความมั่นใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะสะท้อนกลับมาทุกคน คนทำแล็บก็จะมั่นใจว่าปลอดภัย บวกจริงลบจริงไมนำมาซึ่งข้อสงสัย เขาก็ไม่ติดเชื้อด้วย เราจะพยายามปรับปรุงเรื่อยๆ


 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน