นกแอร์-ไลอ้อน ระทึก เอฟเอเอ ออกคำเตือนให้เช็ควาล์แรงดันอากาศโบอิ้ง 737 ไม่บินนานขึ้นสนิมอาจทำเครื่องตก หลังพบเครื่องยนต์ดับกลางอากาศแล้ว 4 ลำ แต่กัปตันลงจอดปลอดภัย

รายงานข่าวจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า เมื่อช่วงปลายเดือน ก.ค.ที่ผ่านมาล่าสุด สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (เอฟเอเอ) ได้ออกคำสั่งสมควรเดินอากาศฉุกเฉิน (Airworthiness Directive)แจ้งเตือน ไปยังบริษัทผู้ผลิตและสายการบินที่ใช้เครื่องบิน ของ บริษัท โบอิ้งรุ่น 737-300, -400, -500, -600, -700, -700, -800, -900 และ -900 ER ให้ดำเนินการเร่งตรวจสอบความสมบูรณ์ของระบบวาล์ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมแรงดันอากาศภายในเครื่องยนต์ของเครื่องบินโบอิ้ง737รุ่นที่กล่าวมาข้างต้นโดยด่วน เนื่องจากเกรงว่าระบบวาล์ดังกล่าวอาจจะเกิดปัญหามีสนิมเกาะหลังจากที่หลายสายการบินจากทั่วโลกหยุดทำการบินชั่วคราวจากปัญหานำการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา

“เอฟเอเอ ได้ออกคำเตือนไปยัง สายการบินที่ใช้เครื่องรุ่นดังกล่าวเป็นการเร่งด่วนแล้วให้ตรวจเช็คความสมบูรณ์ของวาล์ควบคุมแรงดันอากาศภายในเครื่องยนต์นก่อนที่จะนำเครื่องบินที่จอดไว้นานกลับมาบินให้บริการอีกครั้ง เพราะการจอดเครื่องไว้นานอาจทำให้วาล์ขึ้นสนิมเมื่อนำเครื่องออกไปบินอาจเกิดปัญหาเครื่องทำงานไม่สมบูรณ์ซึ่งอาจทำให้เครื่องยนต์ดับกลางอากาศและเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงตกได้ ซึ่งขณะนี้ เอฟเอเอ ได้ตรวจพบเครื่องบินของอาจเกิดสนิมได้จากกรณีที่จอดไว้นาน ซึ่งขณะนี้เอฟเอเอ ตรวจพบมีเครื่องบิน โบอิ้งรุ่น 737 จากทั่วโลก ประมาณ 3-4 ลำ ที่เกิดปัญหาเครื่องดับกลางอากาศระหว่างที่ทำการบิน แต่กัปตันยังสามารถแก้ไขสถานการณ์นำเครื่องลงจอดได้อย่างปลอดภัย ”

รายงานข่าวจาก กพท.กล่าวว่า สำหรับสายการบินของไทยที่มีการนำ เครื่องบิน โบอิ้งรุ่น 737 มาให้บริการในประเทศไทย คือ สายการบินนกแอร์และสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ โดย สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ มีเครื่องบินแบบ Boeing 737 อยู่ทั้งหมด 30 ลำ แบ่งเป็นแบบ Boeing 737-900ER จำนวน 19 ลำและ Boeing 737-800 จำนวน 11 ลำ ขณะที่สายการบินนกแอร์ มีเครื่องบินแบบ Boeing 737 อยู่ทั้งหมด 14 ลำ เป็นเครื่องบินแบบ Boeing 737-800

“ขณะนี้ทางนกแอร์ และไทยไลอ้อนแอร์ ได้รับการแจ้งเตือนจากเอฟเอเอแล้ว โดยหลังจากนี้จะต้องเร่งตรวจสอบวาล์แรงดันอากาศให้ครบทุกลำว่าเกิดปัญหาสนิมหรือไม่ หากมีปัญหาจะต้องดำเนินการเปลี่ยนวาล์แบบเร่งด่วนทันที เนื่องจากขณะนี้ทั้ง 2 สายการบินมีการนำเครื่องบินรุ่นดังกล่าวออกมาให้บริการแล้ว หลังจากหยุดให้บริการมาช่วงหนึ่ง โดยหลังจากนี้ กพท.จะต้องประสานไปยัง 2 สายการบินให้ดำเนินการตรวจเช็คอุปกรณ์ดังกล่าว หลังจากนั้น กทพ.จะเข้าไปตรวจสอบเครื่องบินของทั้ง 2 สายการบิน ว่าได้ดำเนินการตามที่เอฟเอเอแจ้งเตือนครบถ้วนหรือไม่ เพื่อกำกับให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดสำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการของ 2 สายการบินนี้”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน