สารตั้งต้นผลิตประทัดปิงปอง ยังคงตกค้างรอบโรงงานผลิตพลุระดับไม่เป็นอันตราย เปิดนาให้ชาวบ้านเข้าได้แล้ว

เมื่อเวลา 16.30น. วันที่ 20 ม.ค.ที่วัดโรงช้าง ต.ศาลาขาว จ.สุพรรณบุรี นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมนางอภิญญา เอี่ยมอำภา รอง ผวจ.สุพรรณบุรี ร่วมกับตำรวจภูธรจังหวัดสุพรรณบุรี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และหน่วยงานเกี่ยวข้อง ประชุมสรุปผลมาตรการช่วยเหลือเยียวยาแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต 23 รายจากเหตุโรงงานพลุระเบิดใน ต.ศาลาขาว

นายณัฐภัทร กล่าวว่า นับตั้งแต่เกิดเหตุ ได้เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยแบ่งหน้าที่ทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ 1.การดูแลพื้นที่ ซึ่งขณะนี้ยังคงปิดกั้นพื้นที่ไว้บางส่วน เนื่องจากอาจมีสารเคมีที่ใช้ในการผลิตประทัดปิงปองตกค้างอยู่

สารตั้งต้นผลิตประทัดยังตกค้างรอบโรงงานพลุ อนาคตโรงงานต้องเข้ม แค่มือถือก็ก่ออันตรายได้

โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตรวจสอบพบว่ามีสารตกค้างอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จึงเปิดนาให้ชาวบ้านเข้าไปทำนาได้แล้ว เว้นแต่พื้นที่กันเขตของตำรวจตรงบริเวณจุดที่เกิดเหตุ ซึ่งจะปิดถึงวันที่ 23 ม.ค.นี้

นายณัฐภัทร กล่าวอีกว่า ด้านที่ 2 คือการพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลของผู้เสียชีวิจทั้ง 23 ราย ด้วยความช่วยเหลือของกองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขณะนี้ได้ส่งมอบศพให้ครอบครัวผู้เสียชีวิตครบแล้ว

และด้านที่ 3.คือการดูแลเยียวยาญาติผู้เสียชีวิต ขณะนี้มีกลุ่มเฝ้าระวังสภาพจิตใจอย่างใกล้ชิด 12 ราย ในจำนวนนี้ มี 4 รายที่อาการน่าเป็นห่วง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข และ พม.จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิดทุกวัน นอกจากนี้ยังให้การช่วยเหลือเรื่องบ้านที่อยู่อาศัย ผู้สูงอายุ และเด็กอ่อน

สารตั้งต้นผลิตประทัดยังตกค้างรอบโรงงานพลุ อนาคตโรงงานต้องเข้ม แค่มือถือก็ก่ออันตรายได้

โดยหลังการปิดศูนย์ช่วยเหลือแล้ว สำนักงาน ปภ.จังหวัด จะส่งมอบสิ่งของอุปโภคบริโภค ให้ อบต.ศาลาขาว พร้อมแจกจ่ายเงินบริจาคอีกกว่า 8 หมื่นบาท โดยนายชาดา ไทยเศรษฐ์ รมช.มหาดไทย ยังส่งมอบเงินสมทบให้ครอบครัวผู้ที่เสียบิดามารดาพร้อมกันอีก 1 แสนบาท

นายณัฐภัทร กล่าวอีกว่า ในจังหวัดสุพรรณบุรี มีสถานประกอบการผลิตพลุใน อ.เมือง ทั้งหมด 10 แห่ง ซึ่งมีกำหนดการแบ่งแยกห้อง รั้ว และหลังคา เมื่อตรวจสอบและขออนุญาตถูกต้อง ใบอนุญาตจะมีอายุ 1 ปี

และเมื่อเข้าใกล้ช่วงเทศกาลจะมีคำสั่งซื้อเข้ามาให้สถานที่รับผลิตเหล่านี้เยอะ จึงจะกำชับผู้นำท้องถิ่น ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบและแนะนำความปลอดภัย ไม่นำวัตถุไวไฟหรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือที่อาจก่อให้เกิดการระเบิดเข้าไปภายในได้

ทั้งนี้ โรงงานอุตสาหกรรทตามหลักเกณฑ์จะต้องมีจำนวนคนงานและเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ แต่สำหรับสถานที่เกิดเหตุและสถานที่ผลิตตามที่เอ่ยนั้นยังไม่จัดเป็นโรงงาน จึงจัดเป็นสถานประกอบการที่รับผลิตพลุให้ตามคำสั่งซื้อ

ดังนั้นจึงทำให้การควบคุมและอบรมมาตรฐานความปลอดภัยไม่รัดกุม พร้อมยอมรับว่าขณะนี้ยังคงไม่ทราบสาเหตุการเกิดเหตุในครั้งนี้ว่ามาจากอะไร แต่สันนิษฐานเบื้องต้นจากการสอบถามว่าอาจเกิดจากวัตถุเช่น มีดตกกระทบพื้นและก่อให้เกิดประกายไฟได้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน