จีนกลุ่มมีอันจะกิน แห่พักผ่อนยาวๆ นอกประเทศ ไทยก็เป็นจุดหมาย

จีนกลุ่มมีอันจะกินเซาท์ ไชน่า มอร์นิง โพสต์ รายงานเจาะลึกการใช้ชีวิตของชาวจีนชนชั้นกลางกลุ่มที่มีอันจะกินนิยมมาพักผ่อนในต่างแดนเเป็นเวลานานๆ เพื่อหลีกเลี่ยงมลพิษ ความไม่มั่นใจในสุขอนามัยด้านอาหาร ยา ไปจนถึงการควบคุมของรัฐบาล แต่การทำอย่างนั้นเริ่มเจออุปสรรคมากขึ้น ด้วยระเบียบข้อบังคับที่มุ่งสกัดของทางการที่ไม่ต้องการให้เงินไหลออกนอกประเทศ และระเบียบการไปต่างแดนที่เข้มงวดขึ้น

ชู จางเล่อ กับสามีและลูกๆ 2 คน เป็นตัวอย่างหนึ่งของครอบครัวชนชั้นกลางจากเมืองเซินเจิ้น มลฑลกวางตุ้งของจีน กับชาวจีนอีก 60 ครอบครัว ที่มีแผนจะเดินทางมาพักผ่อนระยะยาวในประเทศไทยเดือนกรกฎาคมนี้ พวกเขาคาดหวังว่าจะมีความสุขกับการเก็บเกี่ยวประสบการณ์คล้ายผู้อพยพ

ครอบครัวชาวจีนเหล่านี้ต้องจ่ายเงินให้บริษัทนำเที่ยว 50,000 หยวนหรือประมาณ 250,000 บาท เป็นค่าจัดการสำหรับการอาศัยในจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้ง ค่าเดินทาง ค่าเข้าค่ายฤดูร้อนที่โรงเรียนนานาชาติในเชียงใหม่ 3 สัปดาห์ของลูกสาวทั้ง 2 คน ค่าเช่าเซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ และค่าใช้จ่ายประจำวัน

จางเล่อชอบวิถีชีวิตเนิบๆ ในเชียงใหม่ บรรยากาศสบายๆ และอยากอยู่อย่างคนพื้นเมืองสักเดือนหรือนานกว่านั้น แทนการพักผ่อนที่ต้องเร่งรีบในช่วงวันหยุดสั้นๆ

ไม่ใช่แค่การเดินทางท่องเที่ยว แต่เป็นการใช้ชีวิตนอกประเทศจีนมากกว่าเธอบอก

เมื่อไม่นานมานี้เอง ชาวจีนชนชั้นกลางค่อนไปทางสูงมักใช้ความร่ำรวยและต้องการมีเสรีภาพมากขึ้นระหว่างใช้เวลาพำนักในต่างประเทศยาวนานขึ้น

จีนกลุ่มมีอันจะกิน

A one-bedroom apartment in Bangkok can cost around bout 2,000 (US$298) to 3,000 yuan a month. Photo: AFP

พวกเขาลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์และขอวีซ่าประเภทพำนักระยะยาว ถึงแม้ว่ามีคนจำนวนไม่น้อยต้องประสบความล้มเหลวเนื่องจากอุปสรรคต่างๆ เช่น การจำกัดวงเงินโอนข้ามประเทศอย่างเข้มงวดและข้อจำกัดในการเยืือนต่างประเทศ

ปัจจุบันนี้ ชาวจีนมีความกังวลเรื่องมลภาวะ ความปลอดภัยด้านอาหารและยา รวมทั้ง บรรยากาศการเมืองแบบลัทธินิยม ทำให้ครอบครัวชนชั้นกลางมองหาหนทางใหม่เพื่อหลีกหนีปัญหาเหล่านี้ด้วยการอาศัยในต่างประเทศสัก 1 เดือนหรือนานกว่านั้นเพื่อลิ้มรสการใช้ชีวิตแบบชาวต่างชาติในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อชดเชยความจริงที่ว่าความฝันอาจจะไม่กลายเป็นความจริง

สภาพอากาศเป็นพิษในจีน ทำให้คนนิยมไปพักผ่อนต่างแดนด้วยเช่นกัน / Photo: AP

ผมคิดว่ามันเป็นเทรนด์ แม้ครอบครัวชนชั้นกลางประสบความยุ่งยากในการอาศัยในต่างประเทศและมีที่พักในต่างประเทศมากขึ้น แต่ในทางกลับกัน พวกเขาปรารถนาที่จะมีเสรีภาพ คุณภาพชีวิตมากว่าการอาศัยอยู่ในหัวเมืองหลัักของจีนไช่ มิงตง ผู้ก่อตั้งเจ้อเจียง นิวเวย์ ผู้ดำเนินการท่องเที่ยวและการศึกษาออนไลน์ในเมืองหนิงปัว ทางใต้ของนครเซีี่ยงไฮ้กล่าว

พร้อมกับบอกว่าการได้วีซ่าที่เดินทางเข้าได้หลายครั้งและราคาตั๋วเครื่องบินลดลงมากทำให้การพำนักในต่างประเทศขยายจากไม่กี่สัปดาห์เป็น 3 เดือนต่อปี

ไช่บอกว่า ปี 2554 ราคาตั๋วเครื่องบินจากเซี่ยงไฮ้ไปนิวซีแลนด์ ราคา 14,000 หยวนหรือประมาณ 70,000 บาท แต่ตอนนี้เหลือเพียง 4,000 หยวนหรือประมาณ 20,000 บาทเท่านั้น

ชาวจีนนิยมไปพักที่ต่างแดนทั้งในสหรัฐ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และในชาติเอเชียอย่างไทย Photo: AP

นอกจากนี้ การที่ครอบครัวชนชั้นกลางฐานะร่ำรวยขอวีซ่านักท่องเที่ยวได้นาน 5 ปีหรืออาจจะ 10 ปี ทำให้อยู่อาศัยในหลายๆ ประเทศได้นานถึง 6 เดือนต่อครั้ง เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ และเอเชียบางประเทศ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ครอบครัวชนชั้นกลางที่เคยติดปัญหาต่างๆ สามารถเดินทางไปอยู่ในต่างประเทศได้ระยะสั้นๆ

สถาบันการท่องเที่ยวจีน กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า ปีที่่ผ่านมา นักท่องเที่ยวจีนเดินทางออกนอกประเทศกว่า 140 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 13.5 โดยมีใช้จ่ายประมาณ 120,000ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 3,720,000 ล้านบาท

ในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ มีคนจีนเยอะขึ้นๆ มาอยู่เพื่อสัมผัสประสบการณ์ใช้ชีวิตแบบคนพื้นเมืองซึ่งแตกต่างจากการใช้ชีวิตในจีนมากๆโอเวน จู ซึ่งซื้อคอนโดฯ ในกรุงเทพฯ เมื่อปีที่แล้วกล่าวและเปิดเผยว่าเมืองไทยมีเสรีภาพ วัฒนธรรมและชุมชนหลากหลาย คุณภาพอากาศ อาหารและบริการก็ดีกว่าหัวเมืองหลักในจีนมาก แต่สู้ราคาไหว

พร้อมยกตัวอย่างว่า ในกรุงเทพฯ อพาร์ตเมนต์สำหรับชาวต่างชาติ ขนาด 1 ห้องนอน เดือนละ 2,000 – 3,000 หยวนหรือประมาณ10,000 – 15,000 บาท ขณะที่อพาร์ตเมนท์ ห้องนอนเดียวในเมืองเซินเจิ้น ราคาสูงเป็นสองเท่า และราคาค่าเช่าก็สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

จูบอกว่ากรุงเทพฯ มีอาหารนานาชาติและติดต่อคนทั่วโลกได้ง่าย ผู้คนรอบตัวเขามาพักในเมืองไทยสักพักหนึ่งแล้วกลับไปจีน จากนั้น ก็กลับมาพักในไทยอีก 2-3 เดือน

ทั้งไช่และจูบอกว่าพวกเขาพบปรากฏการณ์ใหม่ที่เกิิดขึ้นกับชนชั้นกลางของจีนจับโอกาสทำธุรกิจ

จูกำลังอยู่ในระหว่างการยื่นขอจดทะเบียนบริษัทในกรุงเทพฯ และมีแผนทำธุรกิจออนไลน์ให้บริการชาวจีนที่ต้องการมาอาศัยในต่างประเทศโดยไม่มีอสังหาริมทรัพย์หรือมีสถานะเป็นผู้อพยพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ

ส่วนไช่บอกว่าครอบครัวชาวจีนแถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีจ่ายเงินให้เขาเพื่อส่งลูกๆ ไปเรียนในนิวซีแลนด์หรืือยุโรป ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ระหว่างปิดเทอมกลาง ขณะที่พ่อแม่เช่าบ้านพักตากอากาศอยู่แถวๆนั้น โดยนิวซีแลนด์และโทรอนโท ในแคนาดาเป็นจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

ปีที่แล้ว เจิ้ง เฟิง แม่เลี้ยงเดี่ยวและนักเขียนอิสระจากปักกิ่ง เช่าบ้านพักตากอากาศหลังเล็กๆ ในออสเตรเลียเป็นเวลา 1 เดือนสำหรับครอบครัวและเพื่อนอีก 1 คน เพื่อหนีมลภาวะในปักกิ่งและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในต่างแดน

พูดตรงๆ เลยนะว่าฉันไม่มีเงินพอที่จะลงทุนอสังหาริมทรัพย์หรือได้รับบัตรประจำตัวผู้ที่มีถิ่นพำนักถาวร หรือ กรีนการ์ดในออสเตรเลีย แต่จ่ายเงิน 30,000 หยวน (150,000 บาท) สำหรับตัวเองและลูกสำหรับอาศัยในต่างประเทศได้สักเดือนหรือ 2 เดือนได้เจิ้งบอก

ครอบครัวตระกูลเจิ้งและชูจะมาอยู่ที่เชียงใหม่ด้วยกันในปีนี้และมีแผนที่จะไปพำนักในอังกฤษปีหน้า

ส่วนอลิซ หยู เพื่อนของเจิง ได้วีซ่าถาวรสหรัฐฯ ประเภทนักลงทุน อีบี-5 เมื่อ 2-3 ปีก่อน และมีแผนเดินทางไปต่างประเทศปีละ 1-2 เดือน จนกว่าครอบครัวของเธอจะได้ย้ายไปอยู่ในสหรัฐฯ

ขณะที่ความต้องการวีซ่าประเภทนักลงทุน อีบี-5 ในจีนลดลงเนื่องจากกฎหมายเข้าเมืองสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

การอนุมัติให้วีซ่าประเภทนี้อาจต้องใช้เวลา 10 ปี ทำให้มีรายชื่อขอวีซ่าค้างอยู่จำนวนมากส่งผลให้ความต้องการขอวีซ่าดังกล่าวลดลงและทำให้กระแสลงทุนในสหรัฐฯ จากต่างประเทศลดลงไปด้วย

หยูบอกว่าต่อไปอาจจะกลายเป็นมาตรฐานของครอบครัวชาวจีนชนชั้นกลางว่าจะต้องมีเวลาและเงินเพื่อไปอาศัยในบ้านพักตากอากาศชานเมืองในต่างประเทศ

ไม่ว่าจะได้วีซ่าพำนักในสหรัฐฯ ระยะยาวหรือไม่ก็ตาม ฉันอยากให้ลูกๆ เติบโตท่ามกลางวิถีชีวิตนานาชาติและมีเสรีภาพมากกว่าเติบโตในจีน ครอบครัวชาวจีนที่ร่ำรวยและชนชั้นกลางก็คงจะเป็นแบบเดียวกันหยูกล่าว

ขณะที่ลูกชายของคาเรน เกา เริ่มเรียนโรงเรียนนานาชาติในเชียงใหม่เดือนมิถุนายน โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 70,000 หยวนหรือประมาณ 350,000 บาทต่อปี หลังจากที่เกาออกจากตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ในเมืองเซิินเจิ้นและย้ายมาอยู่เมืองไทยโดยใช้วีซ่านักท่องเที่ยว แต่ตอนนี้ เกาได้วีซ่าประเภทติดตามบุตร ส่วนลูกชายได้วีซ่านักเรียนแล้ว

เกาบอกว่า อากาศดี อาหารดี และไม่มีการเซนเซอร์อินเทอร์เน็ตเพียงไม่กี่เดือนต่่อปี แต่ค่าใช้จ่ายถูกกว่าค่าครองชีพในปักกิ่ง ฟังดูเป็นความคิดที่ดี หลังจากส่งลูกเข้าเรียนในเซินเจิ้นไม่ได้เนื่องจากไม่มีใบอนุญาตพำนักท้องถิ่น ทางเลือกที่ดีที่สุด คือการมาเมืองไทย อีกทั้ง ยังรู้สึกไม่มั่นคงและกังวลเรืื่องการลงทุนในจีนอีกด้วย

ปีที่แล้ว เกาเหมือนกับนักลงทุนภาคเอกชนหลายพันคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางที่อาศัยในหัวเมืองหลัก ซึ่งต้องสูญเสียมหาศาลเพราะโรงแรมและโรงแรมขนาดเล็กในเมืองต้าหลี่ มลฑลยูนนานถูกรื้อทิ้ง ขณะที่รัฐบาลรณรงค์ให้ควบคุมมลพิษและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมรอบๆทะเลสาบเอ๋อร์ไห่

เราถูกทางการปล้นโดยไม่ได้เงินค่าชดเชยเกากล่าวทิ้งท้าย

///////////

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน