สธ.คาดสถานการณ์หลังล็อกดาวน์ จังหวัดที่มีผู้ป่วยกลับไปรักษา ไม่แพร่เชื้อต่อ จะดีขึ้นใน 2 สัปดาห์หลังหายป่วย ส่วนมีระบาดในพื้นที่ หากไม่ระบาดวงกว้าง คาดคุมได้ใน 1 เดือน ส่วน กทม.เริ่มชะลอตัว ติดเชื้อไม่เกิน 10% ฉีดวัคซีนครอบคลุมสูงอายุ 88% แล้ว ขอทุกคนยังอยู่บ้าน ป้องกันเชื้อสูงสุด

เมื่อวันที่ 8 ส.ค. นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงการประเมินสถานการณ์หลังล็อกดาวน์ ว่า พื้นที่ที่มีเฉพาะผู้ป่วยนำเข้า คือ ผู้ป่วยกลับภูมิลำเนาไปรักษา ส่วนใหญ่บริหารจัดการได้ดี รายงานตัวเข้าระบบรักษาไม่แพร่เชื้อต่อ จังหวัดเหล่านี้น่าจะควบคุมได้ รักษา 2 สัปดาห์หายป่วย ส่วนคนอาการเยอะอาจรักษาต่อเนื่อง 2-3 สัปดาห์ จังหวัดเหล่านี้น่าจะดีขึ้น แต่ตอนนี้ยังมีไปรักษา ตัวเลขเลยขึ้น

สำหรับจังหวัดที่มีผู้ป่วยกลับไปรักษาและระบาดในพื้นที่ ต้องใช้เวลาเพื่อให้การควบคุมโรคสงบลง เราจะเห็นสถานการณ์นี้ในบางจังหวัด คาดว่าใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จากประสบการณ์ถ้าไม่ใช่ระบาดในวงกว้าง ก็ควบคุมให้อยู่ในจำนวนไม่มากเกินขีดจำกัดของพื้นที่น่าจะทำได้ ซึ่งมักพบอยู่แถวอีสาน ภาคกลางตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง และภาคใต้บางพื้นที่

ที่น่าห่วงคือ กทม.ปริมณฑล โดย กทม.สัญญาณว่าจะเริ่มชะลอตัว จากจำนวนผู้ที่เสียชีวิตไม่ได้พุ่งแบบก้าวกระโดด ไม่เกิน 100 รายต่อวัน และดูข้อมูลตรวจหาเชื้อที่ตรวจด้วย ATK อยู่ประมาณไม่เกิน 10% ใน 2 วันหลัง ไม่ได้ขึ้น แสดงว่าค่อนข้างคงที่ และวัคซีนก็ฉีดเยอะแล้ว ผู้สูงอายุฉีดครอบคลุม 88% เมื่อวานนี้ อีกวันสองวันคงเกิน 90% คนป่วยเรื้อรังก็ทยอยฉีดเรื่อยๆ เมื่อมีภูมิโอกาสป่วยเสียชีวิตน้อยลง กทม.ชะลอตัวช่วงใกล้ๆ นี้ ส่วนปริมณฑลอาจใช้เวลาต่อไปอีก เพราะเกิดภายหลัง และฉีดวัคซีนยังไม่เท่า กทม. ซึ่งกำลังเร่งฉีดผู้สูงอายุอายุ โรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ให้เร็วที่สุดเป้าหมายให้ได้ 70% ขึ้นไป มีโอกาสบรรลุช่วงปลายเดือนนี้

“สรุปประชาชนจะช่วยอย่างไร คือ อย่าให้ติดเชื้อเพิ่ม ปฏิบัติตามคำแนะนำ ออกนอกบ้านให้น้อยที่สุด ลดเสี่ยงไปรับเชื้อนอกบ้าน มีอาการก็รับการตรวจ ATK ซึ่ง 80% คนติดโควิดยังเป็นอาการสีเขียวคืออาการน้อย 20% สีเหลือง ไวรัสลงปอดเข้ารักษาใน รพ. และสีแดง 5% หลักๆ คือ ลดการเคลื่อนที่เคลื่อนย้ายป้องกันตนเองสวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง ไปที่คนเยอะใส่หน้ากากสองชั้น ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ ไม่ไปในที่เสี่ยง อยู่ในบ้านก็ต้องระวังผู้สูงอายุติดเตียงติดเชื้อจากลูกหลานที่ออกไปนอกบ้าน จึงต้องออกนอกบ้านน้อยลง ก็ลดเสี่ยงรับเชือ้ละมาแพร่ในครัวเรือน มีอาการตรวจหาเชื้อเข้าระบบดูแลที่บ้าน ลงทะเบียนกับ สปสช. 1330 มีแพทย์ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์และออนไลน์ ให้เวชภัณฑ์ยามาส่งให้ เป็นคำแนะนำเหมือนเดิม ทำให้เข้มมากขึ้น ถ้าลดลงจะเห็นสถานการณ์ดีขึ้นได้” นพ.โสภณกล่าว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน