ศบค.เผย หลายจังหวัดภาคเหนือ-ใต้ กลับมาเป็นสีเหลือง-เขียว ห่วงยังพบรวมกลุ่มกินเหล้าสังสรรค์จนติดเชื้อ ย้ำเร่งฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยงให้ครบ 70% โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์

วันที่ 3 ก.ย.64 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) แถลงข่าวประจำวันว่า สำหรับภาพรวมหลายพื้นที่ทางภาคเหนือและบางจังหวัดภาคใต้ คืนพื้นที่สีเหลืองและเขียวกลับมา และทิศทางกราฟอัตราติดเชื้อ กทม. ปริมณฑล เทียบกับต่างจังหวัดก็ทิศทางลงด้วยกันทั้งคู่ อัตราเป็นครึ่งๆ แต่ละพื้นที่คลัสเตอร์แตกต่างกันไป บางจังหวัดเป็นล้งผลไม้ แพปลา แรงงานเพื่อนบ้าน รวมทั้งชุมชน เช่น ชุมพร มีรายงานการรวมกลุ่ม ตั้งวงเหล้าดื่มแก้วเดียวกัน ต้องเน้นย้ำจังหวัดการตรวจสอบไทม์ไลน์ การรวมกลุ่มเลี้ยงสังสรรค์ งานศพ งานแต่ง ยังทำให้เกิดการแพร่เชื้อเป็นกลุ่มก้อน

“ที่ ศบค.ชุดเล็กรายงานต่อเนื่องและเป็นห่วงคือ แคมป์ก่อสร้าง วันนี้มีรายงานระยอง ราชบุรี นราธิวาส แม้ตัวเลขไม่สูงมาก แต่การมีหมุนเวียนแรงงาน เช่น ซับคอนแทรก ช่างปูน ช่างกระจก ช่างกระเบื้องทำงานหลายแคมป์ เมื่อเกิดจุดใดจุดหนึ่งจึงลามไปจุดอื่นโดยง่าย ขอให้จังหวัดเฝ้าระวังเข้มงวด แม้ไม่อยู่ในจังหวัดที่รายงานติดเชื้อสูง ขอให้เฝ้าระวังเข้มงวดด้วย” พญ.อภิสมัยกล่าว

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ข้อมูลกรมควบคุมโรคระบุว่า ผู้ป่วยที่เดินเข้า รพ.ตรวจ RT-PCR ตรวจพบผลบวก 20% แต่ถ้า กทม.พบถึง 30% เน้นย้ำว่าทุก รพ.ยังต้องจำเป็นตรวจคัดกรองโควิดกลุ่ม PUI คือมีอาการทางเดินหายใจและไข้ ต้องคัดกรอง 100%

ส่วนการตรวจด้วย ATK กทม.พบว่ายังมีผลบวกสูง สิ่งสำคัญที่กรมควบคุมโรคย้ำคือเจอผลลบลวงถึง 10% ตรวจแล้วผลลบ อาจจะไปตรวจ PCR ซ้ำแล้วบวก ย้ำว่าหากตรวจผลลบยังต้องเฝ้าระวังสังเกตอาการและกักตัว ขอให้ทุกจังหวัดเฝ้าระวัง โดยเฉพาะบุคลากรทางการแทพย์ที่ติดเชื้อต่อเนื่อง

วันนี้เสียชีวิต 271 ราย โดยกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปมี 62% หากรวมกลุ่มโรคเรื้อรังด้วยพบถึง 90% ของผู้เสียชีวิต และวันนี้มีหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิต 1 รายที่นราธิวาส ขณะที่กรมอนามัยเสนอ ศบค.ชุดเล็กกรณีหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ มีการรายงานประปรายตั้ง ธ.ค.63

แต่ช่วง ส.ค. 64 เดือนเดียวก้าวกระโดด 1,506 ราย ที่น่าเสียใจคือมีการรายงานเสียชีวิต 47 ราย เฉลี่ยวันละ 1-2 ราย นอกจากแม่แล้วมีทารกติดเชื้อด้วย แม่ที่เสียชีวิต 50% ทารกตายพร้อมแม้ อีก 50% ทีมสูตินรีแพทย์สามารถช่วยได้ แต่ก็สูญเสีตชีวิตแม่ไป หลังคลอดแล้วระหว่างให้นมบุตรมีการติดเชื้อระหว่างแม่ลูก

ห่วงคุณแม่ตั้งครรภ์








Advertisement

กรมอนามัยหารือทุกภาคส่วนรวมถึงกระทรวงแรงงาน กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ราชวิทยาลัยสูตนรีพทย์ มหาดไทย และ กทม. เสนออีโอซี และศปก.ศบค. ข้อสรุปร่วมกัน ขอให้ รพ.ที่ดูแลหญิงฝากครรภ์ หากเกิน 12 สัปดาห์ ให้เร่งติดตามมารับวัคซีนที่ รพ.ฝากครรภ์

แม้คลอดกลับไปแล้วก็ต้องตามมารับวัคซีนช่วงให้นมบุตรด้วย หากติดเชื้อให้รับการดูแล หากไม่มีความพร้อมให้ส่งต่อตามระบบ เว้นกรณีฉุกเฉิน อันตราย ตกเลือด น้ำเดิน ครรภ์เป็นพิษ มารดาเจ็บครรภ์ เด็กดิ้นน้อยลง ขอให้ รพ.ใกล้บ้านดูแลช่วยเหลือฉุกเฉิน

“หญิงตั้งครรภ์เกิน 12 สัปดาห์คาดว่ามีประมาณ 5 แสนราย ฉีดเพียง 4.5 หมื่นรายที่รับเข็มหนึ่ง คือ 9.1% เข็มสอง 4,983 ราย คิดเป็น 1% ต้องเน้นย้ำทุกจังหวัดเร่งระดมค้นหากลุ่มหญิงตั้งครรภ์ให้รับการฉีดวัคซีน หากเป็นเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้องเพื่อนฝูง ช่วยกันดูแล เพระาอันตราย เมื่อติดเชื้อมีโอกาสเกิดภาวะรุนแรงเสียชีวิตสูงมาก แต่ละจังหวัดต้องไม่เน้นย้ำหญิงตั้งวครรภ์

โดยเฉพาะ 29 จังหวัดสูงสุดและเข้มงวด ต้องเร่งฉีด 607 ให้ครอบคลุม 70% ของประชากร ซึ่งที่ผ่านมาการกระจายวัคซีนอาจไม่เป็นไปตามแผนต้องขออภัย แต่ตั้งแต่ ก.ย.เป็นต้นไปวัคซีนเพียงพอ ทุกจังหวัดกำลังเร่งระดมทุกภาคส่วน ให้ อสม.จัดทีมค้นหากลุ่มเสี่ยงนี้” พญ.อภิสมัยกล่าว

ที่ประชุมฝากว่า บางจังหวัดฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยงครอบคลุมสมควร ขอให้พิจารณาฉีดวัคซีนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในพื้นที่ด้วย บางจังหวัดอาจเน้นย้ำขนส่งสาธารณะ แคมป์ก่อสร้าง สถานประกอบการให้บิรการร้านอาหาร ตัดผม พิจารณาตามบริบทที่เห้นสมควร ย้ประชาชนว่าแม้การฉีดวัควีนครบเข็มสอง ต้องระมัดระวังการเฝ้าระวังส่วนบุคคล เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากตลอดเวลา ทำให้ปลอดภัยการติดเชื้อ

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน