จากกรณี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ระบุว่าติดโควิดครั้งที่ 2 ในรอบ 1 เดือน ขณะที่อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุมีโอกาสเกิดขึ้นได้ ในกรณีติดต่างสายพันธุ์ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ติดซ้ำ ในเวลาสั้นๆ ยกเว้นผู้มีปัญหาการสร้างภูมิต้านทานนั้น

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ได้โพสต์ถึงเรื่องดังกล่าวว่า ” เรามีโอกาสจะติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย “BA.2” ซ้ำหลังจากติดเชื้อ “BA.1” ภายใน 1 เดือนได้หรือไม่? คำตอบคือเกิดขึ้นได้ แต่พบไม่บ่อย “เพียงร้อยละ 0.126” หรือ 1 ใน 1,000

โดยมีรายงานจากหลายประเทศในยุโรบถึงการติดเชื้อซ้ำในลักษณะนี้ว่าไม่พบอาการรุนแรงในผู้ติดเชื้อซ้ำ ที่จำเป็นต้องเข้ารักษาตัวใน รพ. หรือเสียชีวิต มีการศึกษาการติดเชื้อซ้ำในประชากรประเทศเดนมาร์ก ระหว่าง 22 พย 2564-11 กพ 2565 จากผู้ติดเชื้อจำนวน 1.8 ล้านคนซึ่งส่วนใหญ่ติดเชื้อ BA.1 พบว่ามีการติดเชื้อซ้ำด้วย BA.2 ภายหลังจากหายจากการติดเชื้อครั้งแรก (BA.1) ภายในระยะเวลา 20-60 วัน คิดเป็น “ร้อยละ 0.126” โดยผู้ติดเชื้อซ้ำ (BA.1>BA.2) ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ไม่พบผู้ติดเชื้อ BA.2 ครั้งแรกแล้วกลับมาติดเชื้อ BA.1 ซ้ัำ https://www.medrxiv.org/…/2022.02.19.22271112v1.full.pdf

สาเหตุที่มีการติดเชื้อซ้ำได้เพราะทั้ง BA.1 และ BA.2 ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว หากเปรียบเทียบกับคนเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายคือ BA.1 และ B A.2 ไม่เหมือนกันทุกส่วนเหมือนเด็กแฝด (identical twin) แต่มีความเหมือนกันในระดับพี่น้องจากพ่อแม่เดียวกัน บริเวณหนามบางส่วนจะมีลักษณะเฉพาะตัวไม่เหมือนกัน

BA.1 บริเวณหนามกลายพันธุ์ต่างไปจาก BA.2 จำนวน 7 ตำแหน่ง
BA.2 บริเวณหนามกลายพันธุ์ต่างไปจาก BA.1 จำนวน 5 ตำแหน่ง
(ภาพ 1)

ทำให้ภูมิคุ้มกันแอนติบอดีที่ได้จากการติดเชื้อ BA.1 ไม่อาจปกป้องการติดเชื้อจาก BA.2 ได้ 100 %
(ภาพ 2-4) ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯตรวจหาสายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยเทคโนโลยี “Mass Array” ภายใน 24-48 ชั่วโมงยังพบสัดส่วนของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 และ BA.2 ใกล้เคียงกัน (ภาพ 5)

อ่านเพิ่มเติม เราจะติดเชื้อโอมิครอน “BA.2” ซ้ำหลังจากติดเชื้อโอมิครอน “BA.1” ได้หรือไม่ และ เหตุใด WHO ไม่จัดตั้ง “BA.2” เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์หลักที่น่ากังวล (variants of concern)

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน