ครม.ไฟเขียว อีอีซีโปรเจ็กต์ 4 โครงการ วงเงิน 650,000 ล้าน พัฒนาสนามบินอู่ตะเภา-ศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา-ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3-ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3

ครม. ไฟเขียว อีอีซีโปรเจ็กต์ – นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ครั้งที่ 8/2561 ที่ จ.เชียงราย ระหว่างวันที่ 29-30 ต.ค. 2561 ได้อนุมัติให้มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ (EEC Project List) รวม 4 โครงการ

คือ 1. โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก เงินลงทุนรวม 290,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ภาครัฐ 17,768 ล้านบาท ภาคเอกชน 272,232 ล้านบาท ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 189,999 ล้านบาท ไม่นับรวมการจ้างงาน 15,640 ตาแหน่งต่อปี ผลตอบแทนโครงการ 193,612 ล้านบาท ภาครัฐ 119,353 ล้านบาท ภาคเอกชน 74,259 ล้านบาท

2. โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา เป็นการย้ายศูนย์ซ่อม ของการบินไทย ออกจากที่เดิม เพื่อก่อสร้างทางวิ่งที่ 2 และ อาคารผู้โดยสารใหม่ โดยใช้เป็นโอกาสในการลงทุนให้ศูนย์ซ่อมใหม่ ให้ขนาดใหญ่ขึ้น และทันสมัยมากขึ้นเพื่อผลักดัน อุตสาหกรรมอากาศยานของประเทศ เงินลงทุนรวม 10,588 ล้านบาท ภาครัฐ 6,333 ล้านบาท ภาคเอกชน 4,255 ล้านบาท ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 22,100 ล้านบาท ไม่นับรวมการจ้างงานเทคโนโลยีขั้นสูง ประมาณ 80,000 ล้านบาทและการเพิ่มรายได้จากบริการสายการบินต่างประเทศ ประมาณ 200,000 ล้านบาท ผลตอบแทนโครงการ 38,872 ล้านบาท ภาครัฐ 36,000 ล้านบาท ภาคเอกชน 2,872 ล้านบาท

3. โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 เป็นโครงการที่สาคัญมากเพราะเป็นประตูส่งออกของประเทศหากไม่เร่งดาเนินการจะทำให้ท่าเรือเดิม เต็มความจุ เป็นข้อจำกัดการส่งออก จึงต้องขยายท่าเรือแหลมฉบังให้เป็นท่าเรือระดับภูมิภาคเงินลงทุนโครงการท่าเรือ F รวม 84,361 ล้านบาท ภาครัฐ 53,490 ล้านบาท ภาคเอกชน 30,871 ล้านบาท ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 180,000 ล้านบาท ไม่นับรวมการจ้างงาน ผลตอบแทนโครงการ 76,078 ล้านบาท ภาครัฐ 73,358 ล้านบาท ภาคเอกชน 2,720 ล้านบาทในอนาคตจะเปิดท่าเรือ E โดยเอกชนจะลงทุนเพิ่มอีก 29,686 ล้านบาท รัฐไม่ต้องลงทุนเพิ่มแล้วรวมเงินลงทุนทั้งหมด ท่าเรือ F และ E ประมาณ 114,047 ล้านบาท

4. โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 เป็นการขยายท่าเรือมาบตาพุดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความจุในการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติ เงินลงทุนโครงการท่าเรือก๊าซ 47,900 ล้านบาท ภาครัฐ 12,900 ล้านบาท ภาคเอกชน 35,000 ล้านบาท ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 85,300 ล้านบาท ไม่นับรวมการจ้างงาน ผลตอบแทนโครงการ 47,357 ล้านบาท ภาครัฐ 34,221 ล้านบาท ภาคเอกชน 13,136 ล้านบาท ในอนาคตจะเปิดท่าเรือสินค้าเหลวและพื้นที่คลังสินค้าโดยเอกชนจะลงทุนเพิ่มอีก 7,500 ล้านบาท รัฐไม่ต้องลงทุนเพิ่มแล้ว รวมเงินลงทุนทั้งหมด ท่าเรือก๊าซ ท่าเรือสินค้าเหลว และพื้นที่คลังสินค้า ประมาณ 55,400 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีการรับทราบรายงานโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน และให้ดำเนินการต่อ ซึ่งโครงการเป็นโครงการแรกที่ได้ออกเอกสารคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนกับรัฐไปแล้ว และคาดว่าทั้ง 5 โครงการ จะได้เอกชนผู้รับผิดชอบโครงการในเดือนก.พ. 2562 และจะแล้วเสร็จประมาณปี 2566

นายพุฒิพงษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับ เงินลงทุนทั้ง 5 โครงการนั้น รวม 652,559 ล้านบาท แบ่งเป็นภาครัฐ 209,916 ล้านบาท ภาคเอกชน 442,643 ล้านบาท
ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อประเทศ 819,662 ล้านบาท ไม่นับรวมการจ้างงาน ผลตอบแทนทางการเงินโครงการ 559,715 ล้านบาท แบ่งเป็น ภาครัฐ 446,960 ล้านบาท ภาคเอกชน 112,755 ล้านบาท

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน