การรถไฟฯกลับลำแก้ปัญหาควันพิษจากรถไฟเครื่องยนต์ดีเซล ที่วิ่งมาที่สถานีกลางบางซื่อ เร่งหัวรถจักรไฟฟ้ามาทดแทน 2 เส้นทาง บางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน พร้อมปรับรถไฟฟ้าวิ่งบนทางคู่ 4 เส้นทาง ลงทุนเฉียดแสนล้าน บอร์ดไฟเขียว ‘ซีวิล’ชนะประมูลไฮสปีด ไทย-จีน เฟสที่ 1

นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า บอร์ดรฟท. รับทราบแนวทางการ แก้ไขปัญหามลภาวะควัน ที่จะเกิดจากขบวนรถไฟสายสีแดงทางไกล (ระบบดีเซล) ที่จะวิ่งเข้าไปยังสถานีกลางบางซื่อในอนาคต ซึ่งอาจทำให้ เกิดปัญหาฝุ่นควันภายในสถานีกลาง ซึ่งเป็นห้องปรับอากาศ

เบื้องต้น รฟท.เร่งแก้ไขปัญหานี้ด้วยการจัดทำโครงการเร่งด่วน ติดตั้งระบบไฟฟ้าในพื้นที่รถไฟสายสีแดงระยะทางไกล 2 เส้นทาง คือ ช่วง บางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน พร้อมจัดหาหัวรถจักรไฟฟ้าเข้ามาทำการลากขบวนรถทางไกลทั้ง 2 ขบวน เข้ามายังสถานีกลางบางซื่อ แทนการให้หัวรถจักรดีเซลวิ่งเข้ามายังสถานีกลางบางซื่อ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาควัน

เบื้องต้นจะต้องลงทุนในการติดตั้งระบบไฟฟ้าบนพื้นที่รถไฟสายสีแดง ระยะทางไกลราว 1,700 ล้านบาท ยังไม่รวมวงเงินจัดซื้อหัวรถจักร ไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้กำลังรวบรวมตัวเลขว่า จะใช้เงินลงทุนรในโครงการรวมทั้งสิ้นเท่าไหร่ คาดเสนอโครงการให้กระทรวงคมนาคม พิจารณา ได้ในสัปดาห์หน้า โดยเร่งรัดเปิดให้บริการได้ ก่อนที่สถานีกลางบางซื่อจะเปิดให้บริการเป็นทางการในปี 2564

นอกจากนี้ ยังรับทราบผลการศึกษา โครงการเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้าบนเส้นทางคู่ (รถไฟไฟฟ้า) ทดแทนรถไฟเครื่องยนต์ดีเซล 4 เส้น ทาง บางซื่อ-บ้านภาชี-ปากน้าโพ 252 ก.ม. 28,720 ล้านบาท บางซื่อ-บ้านภาชี-แก่งคอย-ถนนจิระ 243 ก.ม. 23,682 ล้านบาท บางซื่อ-หนองปลาดุก-หัวหิน 209 ก.ม. 33,572 ล้านบาท และ บางซื่อ-มักกะสัน-ฉะเชิงเทรา-พัทยา บางซื่อ-มักกะสัน-ฉะเชิงเทรา-พัทยา ระยะทาง 160 ก.ม. 10,127 ล้านบาท

จากผลการศึกษาพบว่า เส้นทางที่มีความคุ้มค่าสูงสุดและจะมีการเร่งดำเนินการก่อนคือ ชุมทางบางซื่อ-ชุมทางบ้านภาชี-ชุมทาง แก่งคอย-ชุมทางถนนจิระ โดย หลังจากนี้ รฟท.จะต้องกลับไปจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2563 และเปิดประมูลได้ประมาณปี64 ใช้เวลาในการติดตั้งระบบไฟฟ้า และจัดหาขบวนรถไฟฟ้าและสามารถเปิดให้บริการภายในปี 2566 ทันกับการเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรฟท. กล่าวอีกว่า นอกจากที่ บอร์ดรฟท. ยังเห็นชอบให้ บริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริง เป็นผู้ชนะการประมูล โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟสที่ 1 เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา งานสัญญาที่ 2-1 งานโยธา สีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 ก.ม. ด้วย วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ราคา 3,115 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 7%

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขั้นตอนต่อไป รฟท. จะพิจารณาเอกสาร ร่างสัญญา และหารือเรื่องวงเงินค่าจ้างบริษัท ซี วิลเอ็นจิเนียริง กับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง จากนั้นคาดว่า จะลงนามสัญญาได้เร็วที่สุดในเดือนมีนาคมและ เริ่มต้นก่อสร้างได้ในเดือนเมษายน โดยสัญญามีอายุ 18 เดือน ส่วนารประมูลงานโยธารถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่เหลืออีก 12 สัญญา วง เงินกว่า 1.1 แสนล้านบาทว่า การรถไฟฯ จะแบ่งการประมูลออกเป็น 2 ล็อต ล็อตแรก 5 สัญญา และล็อตที่ 2 อีก 7 สัญญา

สำหรับ 5 สัญญาแรก คาดว่าจะนำร่างเงื่อนไขการประมูล (TOR) ขึ้นรับฟังความคิดเห็นบนเว็บไซต์ในสัปดาห์หน้าและออกประกาศเชิญ ชวนเอกชนเข้าร่วมประมูลได้เร็วสุดในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมีนาคม ด้าน 7 สัญญาหลัง คาดว่าจะนำร่างทีโออาร์ขึ้นรับฟังความคิดเห็นบน เว็บไซต์ได้ต้นเดือนมีนาคมและออกประกาศเชิญชวนเอกชนได้เร็วที่สุดในปลายเดือนมีนาคม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน