นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม. เมื่อวันที่ 27 ก.ย. เห็นชอบมาตรการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเกษตรกรรายย่อยเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร 2 มาตรการ คาดว่าจะช่วยเหลือเกษตรกรได้เกือบ 3 ล้านคนทั่วประเทศ โดยมาตรการแรก รัฐจะช่วยเหลือเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย 2.85 ล้านคน ที่ลงทะเบียนในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐระหว่างวันที่ 15 ก.ค. – 15 ส.ค.59 ที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองจากหน่วยงานราชการแล้ว จากนั้นธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะโอนเงินเข้าบัญชีให้แก่เกษตรกรโดยตรง

สำหรับการโอนเงินครั้งนี้ กำหนดโอนเงินให้ผู้ที่ไม่มีรายได้ หรือ มีรายได้ต่ำกว่าปีละ 30,000 บาท ในจำนวนเงินคนละ 3,000 บาท คาดว่ามีเกษตรกรผู้มีสิทธิจำนวน 1.51 ล้านคน ส่วนผู้มีรายได้มากกว่า 30,000 บาท แต่ไม่เกินปีละ 100,000 บาท จะได้รับเงินจำนวนคนละ 1,500 บาท คาดว่ามีเกษตรกรผู้มีสิทธิจำนวน 1.34 ล้านคน โดยใช้งบประมาณของปี 60 วงเงิน 6,540 ล้านบาท

7

นายณัฐพร กล่าวอีกว่าส่วนอีกมาตรการเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยที่เป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส. มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกรลูกค้ารายย่อยที่มีหนี้สินต้นเงินกู้รายละไม่เกิน 300,000 บาท จำนวนประมาณ 2.9 ล้านราย คิดเป็นมูลหนี้ 334,525 ล้านบาท เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.59 – 31 มี.ค.61 มี 3 โครงการย่อย แบ่งเป็น โครงการปลดเปลื้องหนี้สินให้เกษตรกรรายย่อยที่มีเหตุผิดปกติ เช่น เสียชีวิต พิการ ทุพพลภาพ และเจ็บป่วยเรื้อรัง ที่มีหนี้ค้างชำระ หรือเป็นหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มีเป้าหมายช่วยเหลือเกษตรกร 85,000 ราย

ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวแบ่งเป็น 2 กรณีคือ หากไม่มีหลักประกันจำนองและไม่มีทายาทรับช่วงการผลิต ธ.ก.ส. จะจำหน่ายหนี้เงินกู้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ มีเกษตรกรเป้าหมายประมาณ 50,000 ราย ส่วนอีกกรณีหากมีหลักประกันจำนองและมีทายาทรับช่วงการผลิต ธ.ก.ส. จะปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ทายาท โดยนำเงินต้น 50% มาปรับโครงสร้างหนี้ 5 ปี พักชำระต้นเงิน 2 ปีแรก คิดดอกเบี้ยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่เอ็มอาร์อาร์เท่ากับ 7% หากผ่อนชำระได้ตามกำหนด ลดดอกเบี้ยค้างให้ 100% และเงินต้นที่เหลืออีก 50% จะปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในภายหลัง

ส่วนอีกโครงการเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มี 2 กรณี คือ หากเป็นเกษตรกรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และเป็นลูกค้า ธ.ก.ส.มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี มีทายาทเข้าเป็นลูกค้าแทน จะนำเงินต้น 50% มาปรับโครงสร้างหนี้ระยะเวลา 5 ปี โดยพักชำระต้นเงิน 2 ปีแรก คิดดอกเบี้ยในอัตราเอ็มอาร์อาร์ หากผ่อนชำระได้ตามกำหนด ลดดอกเบี้ยค้างให้ 80% และเงินต้นที่เหลืออีก 50% จะปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในภายหลัง เกษตรกรเป้าหมายประมาณ 200,000 ราย ส่วนกรณีเกษตรกรที่มีหนี้เป็นภาระหนัก จะนำเงินต้น 50% มาปรับโครงสร้างหนี้ระยะเวลา 5 ปี โดยพักชำระต้นเงิน 2 ปีแรก คิดดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ หากผ่อนชำระได้ตามกำหนด ลดดอกเบี้ยค้างให้ 50% และเงินต้นที่เหลืออีก 50% จะปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ในภายหลัง คาดว่าจะช่วยเกษตรกรได้ 675,000 ราย จำนวนดอกเบี้ยที่ลดให้ประมาณ 10,000 ล้านบาท โดย ธ.ก.ส. รับภาระเอง

14277996721427853049l

ขณะที่โครงการสุดท้าย คือโครงการชำระดีมีคืนกับเกษตรกรที่ไม่มีปัญหาการชำระหนี้ มีเกษตรกรเป้าหมาย 2,222,000 ราย คิดเป็นมูลหนี้ 272,000 ล้านบาท โดย ธ.ก.ส. จะคืนดอกเบี้ยในส่วนที่ลูกค้าส่งชำระระหว่างวันที่ 1 พ.ย.59 – 31 ต.ค.60 ในอัตรา 30% ของจำนวนดอกเบี้ยที่ชำระ โดย ธ.ก.ส. จะนำดอกเบี้ยที่คืนให้ลูกค้ามาลดภาระหนี้โดยตัดเงินต้นให้ลูกค้าในกรณีที่มีหนี้คงเหลือ และคืนให้ลูกค้าเป็นเงินสดในกรณีที่ไม่มีหนี้คงเหลือ และสนับสนุนสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือนกรณีฉุกเฉินจำเป็นรายละไม่เกิน 100,000 บาท วงเงิน 50,000 ล้านบาท

“นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ได้แจ้งนายกรัฐมนตรี ในที่ประชุมครม.บอกแนวทางนี้จะช่วยเหลือเกษตรกรที่รายได้น้อย ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพให้มีเงินส่วนหนึ่งมาประคับประคองตนเองได้ เพราะช่วยนี้ราคาสินค้าเกษตรยังตกต่ำ จึงต้องเร่งช่วยเหลือ โดยเฉพาะในโครงการที่ช่วยเหลือรายละ 1,500 – 3,000 บาท คาดว่าจะโอนผ่านระบบพร้อมเพย์ไปยังบัญชีของผู้ที่ลงทะเบียนเอาไว้ และจากนี้ไปยังอาจมีอีกหลายมาตรการที่จะออกมาช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อยอีก แต่ก็ขึ้นอยู่กับรองนายกฯ จะผลักดันออกมาในจังหวะที่เหมาะสมอีกครั้ง”นายณัฐพร กล่าว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน