ส.อ.ท. จี้รัฐบาลใหม่เร่งออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังดัชนีความเชื่อมั่นฯ ร่วง ยุติขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ หวั่นกระทบเอสเอ็มอีเลิกกิจการ วอนรัฐสมทบประกันสังคมลูกจ้างเพิ่ม

ส.อ.ท.วอนยุติขึ้นค่าแรง – นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการประจำเดือนมิ.ย. 2562 อยู่ที่ระดับ 94.5 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนอยู่ที่ระดับ 95.9 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลทำให้การดำเนินนโยบายภาครัฐ และการใช้จ่ายงบประมาณชะลอตัว กระทบต่อการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศ ประกอบกับเงินบาทแข็งค่ามากกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค ส่งผลด้านลบต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของภาคการส่งออก โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก ทำให้ประเทศผู้นำเข้าขอลดราคาสินค้า ซึ่งส.อ.ท. เห็นว่าค่าเงินบาทที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความยืดเยื้อของสงครามการค้าและความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งไม่เพียงทำให้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการปรับตัวลดลงแล้ว แต่ขณะนี้หลายหน่วยงานด้านเศรษฐกิจต่างปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2562 ลงด้วยเช่นกัน ส่วนดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้ายังปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 101.3 จากครั้งก่อนคาดการณ์อยู่ที่ระดับ 102.9 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับกำลังซื้อในประเทศโดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค

“รัฐบาลใหม่ต้องเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการบริโภคและการใช้จ่ายภายในประเทศ รวมทั้งเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 และควรออกมาตรการดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากกว่าประเทศคู่ค้า เพื่อให้การส่งออกของไทยสามารถแข่งขันได้ โดยควรพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากปัจจุบันอยู่ที่ 1.75% เพื่อชะลอเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ”นายสุพันธุ์ กล่าว

ส่วนการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาท ทั่วประเทศนั้น จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) อาจถึงขั้นเลิกกิจการเพราะสู้ค่าแรงขั้นต่ำไม่ไหว โดยกระบวนการปรับขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่ถูกต้องนั้น จะต้องผ่านมติของคณะกรรมการไตรภาคี และในแต่ละพื้นที่จะมีค่าแรงไม่เท่ากันตามเศรษฐกิจของพื้นที่นั้นๆ และจะกำหนดเป็นราคาเดียวทั่วประเทศไม่ได้ และเห็นว่าหากปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำผู้ที่จะได้รับประโยชน์คือ แรงงานต่างด้าว ซึ่งปัจจุบันไทยมีแรงงานต่างด้าวถึง 3 ล้านคน จึงมีการขนเงินกลับประเทศตัวเอง ทำให้ค่าแรงส่วนนี้ไม่หมุนเวียนกลับเข้ามาสู่ระบบ

ทั้งนี้ หากภาครัฐจะช่วยแบ่งเบาภาระให้กับประชาชน ภาคเอกชนอยากเสนอให้รัฐช่วยนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมในส่วนที่หักกับลูกจ้าง 2.75% ของเงินเดือนเพิ่มเติมจากที่รัฐสมทบอยู่แล้ว 5% ของเงินเดือน รวมรัฐสมทบให้ลูกจ้างเป็น 7.75% ของเงินเดือนเป็นกรณีชั่วคราวหรือจนกว่าภาวะเศรษฐกิจจะดีขึ้นหรืออาจสมทบเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปี ส่วนที่นายจ้างสมทบอยู่แล้ว 5% ของเงินเดือนนั้นยังคงเดิม เพื่อช่วยเพิ่มเงินในกระเป๋าลูกจ้างทำให้มีกำลังซื้อ ในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น แทนการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อนายจ้าง

อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนเห็นว่าค่าแรงปัจจุบันของคนไทยส่วนใหญ่มีอัตราที่เหมาะสมอยู่แล้ว ควรผลักดันระบบการจ่ายค่าแรงตามทักษะ สนับสนุนให้มีการจ่ายค่าจ้างแรงงานตามทักษะฝีมือ โดยแต่ละอุตสาหกรรมและในแต่ละจังหวัดสามารถจ่ายค่าแรงที่แตกต่างกันได้ตามกลไกตลาด จึงไม่เห็นด้วยกับการปรับค่าแรงโดยทันทีพร้อมกันทั่วประเทศ แต่หากภาครัฐจะมีมาตรการช่วยเหลือ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน