การบินไทย ผุดแผนฟื้นฟู 5 ปี ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้
ชงบอร์ดซื้อเครื่องใหม่ 1.56 แสนล้าน

เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การบินไทยอยู่ระหว่างจัดทำแผนฟื้นฟู ระยะ 5 ปี ระหว่างปี 63-67 เพื่อใช้ในการฟื้นฟูองค์กรโดยจะเริ่มดำเนินการเริ่มตั้งแต่ปี 2563 โดยคาดว่าจะสามารถนำเสนอให้บอร์ดพิจารณาอนุมัติได้ในการประชุมเดือน ม.ค.2563

รายงานข่าวจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) แจ้งว่า สำหรับแผนฟื้นฟู ระยะ 5 ปี (63-67) จะประกอบด้วย 20 โครงการ โดยแบ่งออกเป็น 4 มาตรการ คือมาตรการเพิ่มรายได้, มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร, มาตรการควบคุมและลดค่าใช้จ่าย และมาตรการอื่นๆ คาดว่าจะนำเสนอให้บอร์ดพิจารณาได้วันที่ 16 ม.ค. 2563

กดติดตามไลน์ ข่าวสด official account ได้ที่นี่
เพิ่มเพื่อน

 

โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1.มาตรการเพิ่มรายได้ โดยจะเร่งพัฒนาเพิ่มรายได้จากบริการเสริม หรือ Ancillary Service ซึ่งเป็นบริการอื่นนอกเหนือจากการขนส่งคนหรือสินค้า เช่น บริการเลือกที่นั่งล่วง บริการอาหารและ เครื่องดื่ม บริการที่นั่งแถวหน้าที่กว้างกว่าแถวอื่นหรือ Preferred Seats ซึ่งผู้โดยสารต้องจ่ายเพิ่ม ซึ่งขณะนี้ได้รับการตอบรับดีมากคาดว่าน่าจะเพิ่มรายได้ให้การบินไทย เดือนละไม่ต่ำกว่า 70 ล้านบาท

จะมีการปรับปรุงธุรกิจคาร์โก้รูปแบบใหม่, ศึกษาแนวทางการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของบริษัท, จัดทำระบบหน้ากระดานเดียวรวบรวมความเคลื่อนไหวของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจบริหารจัดการเที่ยวบินให้เกิดความยืดหยุ่นและคุ้มค่าสูงสุด (Dashboard) คือหน้าแรกที่รวมสิ่งต่างๆที่สำคัญบนแอปพลิเคชั่น efin Mobile เอามาไว้ในที่เดียว

2.มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ โดยจะเร่งนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์การและการให้บริการให้ทันสมัย (digital transformation) ,การบริหารโครงข่ายเส้นทางบิน ให้มีประสิทธิภาพ โดยยกเลิกเส้นทางบินที่ขาดทุน ,ปรับปรุงกระบวนการบริการภาคพื้น ,เพิ่ประสิทธิภาพของฝ่ายครัวการบิน ,จัดทำระบบการบริหารผลงานและประเมินผลงาน (Performance Management Effectiveness)

3.ควบคุมและลดค่าใช้จ่าย โดยจะจัดทำแผนบริหารจัดการเครื่องบินรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า plan buy fly sale มาใช้ โดยจะหาโอกาสในการซื้อหรือขายเครื่องบินได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องรอให้ถึงระยะเวลาการปลดระวางหรือเครื่องบินเสื่อสภาพเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งรูปแบบนี้อาจจะทำให้เกิดกำไรจากการขาย และยังช่วยลดปัญหาต้นทุนค่าใช้จ่ายค่าซ่อม และค่าเสื่อมราคาได้มาก กรณีที่เครื่องบินขายไม่ออกจากอายุการใช้งานที่สูงเกินไป

จัดทำมาตรการจำกัดของเสียในขบวนการผลิตโดยเฉพาะครัวการบิน ( Zero In ventory ) โดยจะต้องมีการวางแผนการบริการจัดการวัตถุดิบไม่ให้เกิดปัญหาเหลือทิ้ง, ปรับรูปแบบการจัดซื้อจัดจ้างในสัญญาเดิมใหม่ โดยให้ฝ่ายจัดซื้อปรับลดมูลค่าสัญญาจัดซื้อจัดจ้างลง10% ด้วยการขอความร่วมมือให้คู่ค้าเดิมปรับลดราคาจัดซื้อจัดจ้างให้การบินไทยเพื่อเป็นการช่วยเหลือในช่วงที่บริษัทประสบภาวะขาดทุน ,การปรับโครงสร้างทางการเงิน

และ 4.มาตรการอื่นๆ เตรียมออกมาตรการควบคุมกำกับตัวแทนจำหน่าย,พัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐและหน่วยงานอื่นเพิ่มเติม,จัดทำระบบลูกค้าเป็นศูนย์กลางและระบบให้บริการบนเครื่อง (Build customer Centric and Intregretd Service Ring) เพื่อให้รู้จักและเข้าใจความรู้สึกของลูกค้า และารแจ้งปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนเครื่อง การขายหรืออัปเกรดที่นั่งได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น

รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมบอร์ดเดือน ม.ค.ปี 63 การบินไทย เตรียมแผนการจัดหาเครื่องบินใหม่เสนอให้บอร์ดพิจารณาด้วย ซึ่งเป็นแผนใหม่ที่มีการปรับปรุงจากแผนเดิมที่เตรียมจัดหาเครื่องบินใหม่ 38 ลำ วงเงิน 1.56 แสนล้านบาท

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน