นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการสเปซ-เอฟ เกิดขึ้นเพื่อสร้างระบบนิเวศให้กับแวดวงเทคโนโลยีอาหาร นอกจากจะสนับสนุนให้สตาร์ตอัพได้เติบโตและประสบความสำเร็จในโลกธุรกิจให้ได้แล้ว โครงการนี้จึงเป็นตัวอย่างของความสำเร็จที่ภาครัฐ ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาจับมือกันส่งเสริมอุตสาหกรรมให้ก้าวหน้าต่อไป และ ไทยยูเนี่ยน ในฐานะหนึ่งในผู้นำผู้ผลิตอาหารทะเลระดับโลก เรามุ่งมั่นพัฒนาในด้านนวัตกรรมมาโดยตลอด เพราะเราเชื่อว่านวัตกรรมคือหัวใจหลักของความสำเร็จในอนาคต เราจึงใช้นวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคที่ปรับเปลี่ยนไปตามไลฟ์สไตล์และมีความตระหนักเรื่องความยั่งยืนมากขึ้นด้วย

สตาร์ตอัพในโปรแกรม Accelerator สำหรับบริษัทสตาร์ตอัพที่อยู่ในระยะเร่งการเติบโต จำนวน 7 บริษัท ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์และแนวคิดต่างๆ ให้กับนักลงทุนจากสถาบันการเงิน บริษัทเอกชน ที่ประจำอยู่ในประเทศไทย กว่า 70 ชีวิตภายในงาน โดยผลิตภัณฑ์และแนวคิดของสตาร์ตอัพนั้นได้ที่ได้พัฒนา ปรับปรุงและต่อยอดในระหว่างที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้เข้ากับตลาดและลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

สตาร์ตอัพทั้ง 7 บริษัทยังกล่าวด้วยว่ามีความพร้อมที่จะยกระดับและเติบโตขึ้นในเชิงธุรกิจ ภายหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมเร่งการเติบโตของโครงการ สเปซ-เอฟ ตลอดระยะเวลา 4 เดือน ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เข้มข้นออกแบบสำหรับสตาร์ตอัพฟู้ดเทค โดยความร่วมมือของสามฝ่ายได้แก่ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ

นาพันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันความท้าทายด้านอาหารได้เกิดขึ้นทั่วโลก จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ความต้องการอาหารมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทั้งปริมาณและคุณภาพ โครงการ SPACE-F จึงถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี ในการแก้ปัญหาเหล่านี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติมีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการเติบโตของสตาร์พอัพเสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอาหาร เนื่องจากประเทศไทยเป็นที่ตั้งของตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่มีความหลากหลาย และมีห่วงโซ่อาหารที่กว้างขวางและครอบคลุมทั่วโลก ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิม และความร่วมมือสนับสนุนจากหลายภาคส่วน จะสามารถทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาสตาร์ตอัพด้านอาหาร (FoodTech) ได้อย่างเหมาะสม และจะช่วยแก้ปัญหา และพร้อมรับมือกับความท้าทายเหล่านั้นได้อย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติยังมีกลไลสนับสนุนสตาร์ตอัพในโครงการต่อไป เช่น การขอ SMART Visa สำหรับชาวต่างชาติ, การขอบัตรสนับสนุนจาก BOI, และถ้าเป็นบริษัทไทย ก็สามารถขอรับเงินทุนสำหรับทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ได้

นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในส่วนของมหาวิทยาลัยมหิดลหนึ่งใน Co-Founder ของโครงการ สเปซ-เอฟ มหาวิทยาลัยฯ ยินดีที่ได้เห็นความสำเร็จของโครงการ และยินดีสนับสนุนโครงการสเปซ-เอฟ ให้มีการขยายความร่วมมือจากที่คณะวิทยาศาสตร์ได้เริ่มไว้ไปยังหน่วยงานอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย เพื่อช่วยสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงของสตาร์ทอัพในระบบนิเวศน์นวัตกรรม (Ecosystem) ยิ่งขึ้น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน