รฟม. มั่นใจมี.ค. นี้ ได้ตัวผู้ชนะประมูล รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก คาดคดีพิพาทบีทีเอสจบเร็ว พร้อมโต้ข่าวค่าโดยสารสีส้มไม่แพง สูงสุดไม่เกิน 45บาท

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการเปิดประมูลโครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนศาลปกครองสูงสุด พิจารณาข้อพิพาท จากกรณที่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้เข้าร่วมประมูล ได้ยื่นร้องต่อศาลฯทุเลาการใช้เกณฑ์ทีโออาร์ใหม่ ของ รฟม.ว่า ขณะนี้ รฟม.รอคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด คาดว่าจะใช้เวลาราว 2 เดือนจะได้ข้อยุติ มั่นใจว่า รฟม.จะสามารถเจรจาข้อเสนอกับเอกชนที่ยื่นประมูลทั้ง 2 รายได้เร็ว และสามารถสรุปผลการคัดเลือกได้ตัวเอกชนภายใน เดือนมี.ค. 64 นี้ เพราะจะใช้เวลาพิจารณาไม่มาก เพราะมี 2 ราย มั่นใจว่าจะเปิดเดินรถได้ตามเป้าหมายเดิมในปี 2569

ส่วนการออกพระราชกฤษฎีกำหนดเวนคืนที่ดินอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม เบื้องต้นพบว่ามีผู้ร้องเรียนแต่ไม่มาก ขณะที่ รฟม. มีอัตราจ่ายทดแทนค่าเวนคืนสูง คาดว่าจะเสนอ ให้ ครม. พิจารณาออก พ.ร.ฎ.เวนคืนได้เร็วๆนี้

ส่วนรถไฟฟ้า สายสีส้มตะวันออก ศูนย์วัฒนธรรม-มินบุรี ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างว่า คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2567 โดยปีแรกคาดการณ์ว่าจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการ1แสนคน/วัน

นายภคพงศ์กล่าวถึงกรณีที่มีการนำเสนอข่าวว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้ม ณ วันที่ 1 ม.ค.2566 ซึ่งจะอยู่ระหว่าง 17-62 บาท แพงกว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งจะอยู่ระหว่าง 16-68 บาท (ซึ่งคำนวณจากค่าโดยสารในปัจจุบัน 15-65 บาท กรณีขยายสัมปทานออกไป 30 ปี) ว่าราคา 17-62 บาท ที่มีการนำมาอ้างอิงในข่าวนั้นไม่ใช่ราคาที่ รฟม.จะประกาศใช้เป็นทางการ เป็นค่าโดยสารอ้างอิงที่คำนวนตามมาตรฐานรฟม.ในรายงานวิเคาะห์แผนพีพีพี เพื่อนำไปกำหนดทีโออาร์ ให้เอกชนใช้อ้างอิงในการประเมินรายได้จัดทำข้อเสนอในการประมูลเท่านั้น

“ในขั้นตอนการประมูลคัดเลือกเอกชน รฟม. จะต้องเจรจาต่อรองขอลดอัตราค่าโดยสารอีกครั้ง ให้เป็นอัตราเดียวกับรถไฟฟ้าสายอื่น ซึ่งกระทรวงคมนาคมให้นโยบายว่า สายสีส้มจะต้องเจรจาปรับลดราคา ให้ลงมาอยู่ที่ 15-45บาท หรือเฉลี่ย 2.50บาท/สถานีเท่านั้นซึ่งเป็นราคาค่าโดยสารจริง”

นายภคพงศ์กล่าวต่อว่าในอนาคต รฟม. จะเจรจาให้มีการจัดเก็บค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว และจัดเก็บค่าโดยสารร่วมหรือ อัตราค่าโดยสารอัตราเดียวกัน สำหรับการเดินทางชื่อมต่ิอรถไฟฟ้าข้ามสายที่อยู่ในกำกับของ รฟม. คือ สายสีส้ม ชมพู เหลือง น้ำเงิน ม่วง เพื่อให้ค่าโดยสารภาพรวมไม่แพง

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่อยู่ภายในการกำกับของ กทม. นั้นอาจจะต้องใช้เวลาในการปรับเป็นค่าโดยสารอัตราเดียว กับ รฟม. โดยคาดว่าอาจจะเริ่มเจรจากับ กทม.ได้หลังปี 2572 ซึ่งเป็นปีที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส หมดอายุสัมปทานที่ได้จากกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ในอนาคตรถฟ้าทุกสายจะมีอัตราเดียว








Advertisement

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน