รายงานข่าวจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประทศไทย (กพท.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงสถานการณ์ค่าโดยสารเส้นทางบินภายในประเทศในช่วงไตรสมาส 2 ปี 2564 โดยรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ของสายการบินที่ ให้บริการทั้งหมด 6 ราย ได้แก่ บางกอกแอร์เวย์ส ไทยสมายล์ ไทยแอร์เอเชีย นกแอร์ ไทยไลอ้อนแอร์ และไทยเวียตเจ็ท ว่า เมื่อเปรียบเทียบ กับช่วงไตรมาส 1 ปี 2564 พบว่า ภาพรวมค่าโดยสาร เพิ่มขึ้น โดยค่าโดยสารสูงสุดเพิ่มขึ้น มีจำนวน 64 เส้นทาง ซึ่งเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 50% และเส้นทางที่มีค่าโดยสารต่ำสุด ก็ราคาเพิ่มขึ้นเช่นกัน มีจำนวน 80 เส้นทาง ซึ่งเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 66%

ส่วนเส้นทางที่ ค่าโดยสารสูงสุดลดลง มีจำนวน 35 เส้นทาง ที่มีราคาลดลงเฉลี่ย 19% และเส้นทางที่ค่าโดยสารต่ำสุดลดลง มีจำนวน 21 เส้นทาง ซึ่งลดลงเฉลี่ย 16% ในขณะที่ เส้นทางที่ค่าโดยสารสูงสุดไม่เปลี่ยนแปลงมี จำนวน 15 เส้นทาง และเส้นทางที่ค่าโดยสารต่ำสุดไม่เปลี่ยนแปลงมีจำนวน 18 เส้นทาง

ทั้งนี้ เนื่องจากสายการบินส่วนใหญ่ลดจำนวนเที่ยวบินให้บริการในช่วงเทศกาลสงกรานต์อันเป็นผลจากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่เริ่มรุนแรงในเดือนเม.ย. จากคลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อและแคมป์คนงานก่อสร้าง ส่งผลให้อุปทานโดยรวมลดลงจากไตรมาส 1 ปี 2564 ในทุกกลุ่มเส้นทางบิน

รายงานข่าวแจ้งว่าจากข้อมูล ณ ไตรมาส 2 ปี 2564 พบว่า จำานวนเส้นทางบิน เที่ยวบิน และจำนวนที่นั่งลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 มีความรุนแรงมากขึ้นในหลายพื้นที่ และเมื่อพิจารณาความสามารถในการให้บริการ พบว่า ไทยแอร์เอเชีย มีสัดส่วนเส้นทางภายในประเทศสูงสุดคิดเป็น 37% และยังคงเป็นผู้นำตลาดในด้านจำนวนเที่ยวบินต่อสัปดาห์และจำนวนที่นั่งต่อสัปดาห์

โดยสายการบินส่วนใหญ่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจำนวนเส้นทางบินให้บริการจากไตรมาส 1 ปี 2564 แต่ลดจำนวนเที่ยวบินต่อสัปดาห์ลงจากไตรมาสก่อน ซึ่งทำให้จำนวนที่นั่งต่อสัปดาห์ลดลงด้วย เนื่องจากการระบาด ในไตรมาส 2 รุนแรงกว่าไตรมาส 1

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน