ยอดคนติดโอมิครอนพุ่ง-ราคาสินค้าแพง-การเมืองระส่ำ ฉุดความเชื่อมั่นผู้บริโภค-ภาคธุรกิจทรุด

ความเชื่อมั่นผู้บริโภคทรุด – นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และความเชื่อมั่นหอการค้าไทย (ธุรกิจเอกชน) เดือนม.ค. 2565 พบว่า ความเชื่อมั่นทั้งของผู้บริโภคและภาคธุรกิจปรับลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน และ 3 เดือนตามลำดับ

โดยมีปัจจัยลบคือผู้บริโภคมีความกังวลจำนวนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน คำสั่ง ศบค. ยกเลิก เทสต์ แอนด์ โก ผลกระทบจากน้ำมัน วัตถุดิบและราคาสินค้าสูงขึ้น ส่งผลต่อเงินเฟ้อสูงขึ้นและมีโอกาสเงินเฟ้อครึ่งปีแรกนี้สูง 3% รวมถึงเริ่มมองการเมืองมีเสถียรภาพลดลง ล้วนเพิ่มแรงกดดันให้ประชาชนระมัดระวังใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นเดือนม.ค. ลดลงอีกครั้ง ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นบันทอนความเชื่อมั่นลดลงในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ และไม่มีปัจจัยรุนแรงมาเพิ่มอีกและสถานการณ์ดีขึ้นในครึ่งปีหลัง เศรษฐกิจปีนี้มีโอกาสขยายตัว 3.5-4.5%

ส่วนปัจจัยบวกคือการผ่อนคลายมาตรการในการทำธุรกิจสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2564 ว่าจะขยายตัวที่ 1.2% เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับประมาณการครั้งก่อนที่ 1.0% สำหรับในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัว 4%

มาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ได้แก่ มาตรการช้อปดีมีคืน โครงการคนละครึ่ง เฟส 4 มาตรการขยายระยะเวลาการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย เป็นต้นการฉีดวัคซีนของทั้งโลก ทำให้สถานการณ์โควิด-19 ในระดับโลกปรับตัวดีขึ้นการส่งออกของไทยเดือนธ.ค. 2564 ขยายตัว 24.18%

ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะข้าว ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และปศุสัตว์ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่เริ่มมีรายได้สูงขึ้น และกำลังซื้อในต่างจังหวัดเริ่มปรับตัวดีขึ้น

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 38.7 41.4 และ 54.4 ตามลำดับ โดยปรับตัวลดลงทุกรายการเมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนธ.ค. 2564 ที่อยู่ในระดับ 40.1 42.7 และ 55.7 ตามลำดับ ดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ 100) แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคตอย่างมาก เพราะมีความกังวลในวิกฤตโควิด-19 ในประเทศไทยและทั่วโลก ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยและการจ้างงานมีโอกาสฟื้นตัวได้ช้าในอนาคต ซึ่งจะทำให้รายได้ในอนาคตของผู้บริโภคมีความไม่แน่นอนสูง

การปรับตัวลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการในเดือนนี้ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (CCI) ลดลงจากระดับ 46.2 เป็น 44.8 ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบัน ลดลงระดับ 30.0 มาอยู่ที่ 28.5 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตลดลงจากระดับ 53.8 มาอยู่ที่ระดับ 52.5 อีกทั้งมีมุมมองต่อการลงทุนใหม่ ซื้อบ้านใหม่ ท่องเที่ยว ภาวะความสุขในชีวิตประจำวัน และการเมือง ลดลง สะท้อนถึงความกังวลต่างๆ

นายธนวรรธน์ กล่าวต่อว่า ในส่วนดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย เดือนม.ค. ลดลง 0.5-0.7 จุด อยู่ระดับ 37.2 จาก 37.8 จากความเชื่อมั่นต่อปัจจุบันลดลง จาก 38.8 มาอยู่ที่ 38.1 และ ความเชื่อมั่นต่ออนาต ลดลงจาก 36.7 มาอยู่ที่ 36.2

“เอกชนจึงเสนอรัฐเร่งดำเนินการ คือ การเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะมาตรการสนับสนุนเอสเอ็มอี การผ่อนคลายมาตรการดำเนินธุรกิจกลางคืน และเยียวยาธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ อีกทั้งขอให้ภาครัฐดำเนินการเปิดเทสต์แอนด์โก เพื่อรับนักท่องเที่ยว รวมถึงต้องการให้รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่างๆ ถึงแม้ว่าสถานการณ์จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น การยกเลิกแนวคิดการล็อกดาวน์หรือการจำกัดพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจสามารถดำเนินการต่อเนื่อง หลังจากจำนวนผู้ติดโอมิครอนสูงขึ้น”

ที่สำคัญคือเร่งเคาะมาตรการช่วยเหลือโดยการลดค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าเดินทาง รวมทั้ง ลดภาระ ภาษีและค่าธรรมเนียม เช่น ภาษีสรรพสามิตเชื้อเพลิง และสินค้าจ าเป็นต่อการดำรงชีพของประชาชน รวมถึงขยายโครงการคนละครึ่ง เฟส 5 ในวงเงินที่เกิน 1,500 บาท/คน เพราะเป็นส่วนเติมเงินเข้าระบบการค้าให้เกิดการซื้อขายได้ปกติมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและส่งผลต่อคงรายได้รายย่อย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน