เปิดรายชื่อ 5 พืชเศรษฐกิจแห่งอนาคต ตลาดต้องการสูง “ถั่วเหลือง- พริก- สมุนไพร-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และ Functional Food” แนะปรับใช้เทคโนโลยี-นวัตกรรม

วันที่ 27 ก.ย.2566 นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยในงานบรรยายพิเศษหัวข้อ “จับตา พืชเศรษฐกิจแห่งอนาคต และการสร้างรายได้ที่ยั่งยืน” เทคโนโลยีชาวบ้าน บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) จัดงานสัมมนาในหัวข้อ Pre Top Form พืชเศรษฐกิจแห่งอนาคต ณ ห้องประชุม อาคารหนังสือพิมพ์ข่าวสด กิจกรรมครั้งนี้ ได้กระแสตอบรับที่ดีจากเกษตรกรและประชาชน มีผู้สนใจเข้าร่วมงานจำนวนมาก

เทคโนโลยีชาวบ้าน บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) จัดงานสัมมนาในหัวข้อ Pre Top Form พืชเศรษฐกิจแห่งอนาคต

ภาคเกษตรเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจหลักที่สำคัญของประเทศ ที่มีประชากรอยู่ในภาคนี้เป็นจำนวนมากถึง 30 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 45% ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งจากข้อมูลของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปี 2565 เศรษฐกิจภาคการเกษตรของไทยมีมูลค่า 1.53 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียง 8.81% ของขนาดเศรษฐกิจรวมทั้งประเทศ

ถั่วเหลือง

หากพิจารณาถึงความสำคัญของภาคเศรษฐกิจไทย พบว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากในมิติของการเป็นแหล่งจ้างงานมีแรงงานภาคเกษตรจำนวน 20.53 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 35% ของผู้อยู่ในกำลังแรงงานทั้งหมด 58.81 ล้านคน รวมถึงมิติของการกระจายรายได้ที่แรงงานภาคเกษตรเป็นกลไกสำคัญในการจับจ่ายใช้สอยของภาคครัวเรือนที่ไม่ได้มีการกระจุกตัวเหมือน

ทั้งนี้ปัจจัยของพืชแห่งอนาคต พิจารณาจากองค์ประกอบสำคัญได้แก่ ตลาดมีความต้องการให้ผลตอบแทนคุ้มค่า เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และลักษณะภูมิอากาศของไทย สร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย มีเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต

ทั้งนี้ กลุ่มพืชเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มเติบโตสูงได้แก่








Advertisement

“ถั่วเหลือง” เป็นพืชที่มีตลาดแน่นอน นำเข้าปีละ 3 – 3.5 ล้านตัน ปัจจุบันราคาสูง 21- 25 บาท/กก.

“พริก“ ตลาดมีความต้องการสูง นำเข้าเพิ่มขึ้นกว่า 37% ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

พริก

“สมุนไพร” ตลาดมีความต้องการต่อเนื่อง มูลค่าการนำเข้าของตลาดโลก กว่าปีละ 370,000 ล้านบาท เป็นได้ทั้งพืชอาหาร ความงาม และทางการแพทย์ และมีนวัตกรรมเพิ่มมูลค่าที่หลากหลาย

“ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” มีตลาดแน่นอน นำเข้าปีละ 1.5 ล้านตัน ปัจจุบันราคาสูง 9 – 10 บาท/กก. ความชื้นไม่เกิน 14.50%

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

และ กลุ่มสินค้า Functional Food ซึ่งตลาดมีความต้องการมาก ในประเภทผลิตภัณฑ์จากสินค้าเกษตร เครื่องดื่ม และอาหาร “การทำการเกษตรและการปลูกพืชควรศึกษาข้อมูลรอบด้านให้ดี ทั้งวิธีการผลิต ผลตอบแทนความต้องการของตลาดและความเหมาะสมของพื้นที่รวมทั้งการปรับใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ในการทำเภษตรที่มีรายได้สูง”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน