น.ส.ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2567 สัดส่วนค่าใช่จ่ายด้านอาหารจะเติบโตเพิ่มขึ้น 20% เป็น 24% ของค่าจ่ายจากท่องเที่ยวภาพรวมค่าอาหาร ในปัจจุบันที่มีสัดส่วน 20% ของค่าจ่ายจากท่องเที่ยวภาพรวม ล่าสุด มิชลิน ไกด์ ที่ถือในฐานะคู่มืออ้างอิงด้านอาหารที่ทรงอิทธิพลต่อผู้คนทั่วโล จึงถือเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติของภาครัฐซึ่งมุ่งเน้น 5 ด้าน

ได้แก่ อาหาร แฟชั่น ภาพยนตร์ มวยไทย และเทศกาล เพื่อยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวของประเทศไทยในตลาดโลก ตามเป้าหมายของรับบาลที่จะประกาศให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว ซึ่งการขยายขอบเขตจัดทำคู่มือมิชลิน ไกด์ ประเทศไทย ไปยังจังหวัดชลบุรี จะส่งผลมูลค่าทางการตลาดให้กับธุรกิจร้านอาหารเติบโตขึ้น และยังเป็นการส่งเสริมวัตถุดิบในท้องถิ่น และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน

นายเกว็นดัล ปูลเล็นเนค ผู้อำนวยการฝ่ายจัดทำคู่มือมิชลิน ไกด์ทั่วโลก กล่าวว่า การจัดทำคู่มือมิชลิน ไกด์’ ฉบับประเทศไทย ประจำปี 68 หรือฉบับที่ 8 ได้ขยายเขตการค้นหาร้านอาหาร เข้าสู่ชลบุรี ซึ่งเมืองตากอากาศชายทะเลที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ มากที่สุดหรือห่างเพียงประมาณ 80 กิโลเมตร โดยมีจุดท่องเที่ยวสำคัญอย่างบางแสน พัทยา และเกาะล้าน จึงเป็นสถานที่พักผ่อนยอดนิยมที่ใกล้ที่สุดสำหรับคนกรุงเทพฯ รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่

เพราะมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้หลากหลายกลุ่ม ทั้งชายหาดที่งดงาม วัดที่เงียบสงบ ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น กิจกรรมตามเทศกาลต่าง ๆ ไปจนถึงร้านอาหารและรถเข็นขายอาหารริมทาง และสถานบันเทิงยามค่ำคืนที่น่าตื่นตาตื่นใจ ทั้งยังโดดเด่นเป็นพิเศษในเรื่องอาหารทะเลสดใหม่ อาหารท้องถิ่นที่ไม่เหมือนใคร และอาหารทะเลสดใหม่แล้ว ชลบุรียังเป็นสวรรค์ของคนรักชายหาด รวมถึงบรรยากาศการทานอาหารริมชายหาด

องค์ประกอบเหล่านี้ทำให้ชลบุรีเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชีวิตชีวา ทีมผู้ตรวจสอบของมิชลิน ไกด์ รู้สึกตื่นเต้นและแทบอดใจรอไม่ไหวที่จะออกสำรวจและคัดสรรร้านอาหารในพื้นที่นี้

อย่างไรก็ ททท.ได้สำรวจภาพรวมค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวใน “หมวดอาหารและเครื่องดื่ม”ปี 2566 ลดลงเหลือ 4,094 บาท/คน/ทริป ในปี 2566 จากเฉลี่ย 5,875 บาท/คน/ทริป เมื่อปี 2566 สอดคล้องกับกิจกรรมในหมวดอาหารที่นักท่องเที่ยวในปี 2566 มีความนิยมอาหารประเภท “สตรีตฟู้ด” (Street Food) เพิ่มขึ้น อย่างเห็นได้ชัดจาก 62.90% ในปี 2562 เป็น 77.37% ในปี 2566 ทั้งนี้ “อาหารท้องถิ่น” (Local Food) เป็นหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยมต่อเนื่อง บ่งบอกถึงความต้องการสัมผัสกับอาหารไทยแบบดั้งเดิมระหว่างท่องเที่ยวในไทย

ส่วนอาหารประเภท “ไทย ไฟน์ไดนิ่ง” (Thai Fine Dining) และ “อินเตอร์ ควิซีน” (Inter Cuisine) ได้รับความนิยมลดลง สวนทางกับอาหารที่ช่วยให้ได้รับประสบการณ์ หรือมีความใกล้ชิดกับท้องถิ่นที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ด้านกิจกรรมการรับประทานอาหารในลักษณะเฉพาะ เช่น ฟาร์มผลไม้ ดินเนอร์ล่องเรือ และร้านอาหารมิชลิน ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันพฤติกรรมแบบ “คาเฟ่ ฮอปปิง” (Cafe Hopping) เติบโตก้าวกระโดด จาก 11.60% ในปี 2562 เพิ่มเป็น 33.24% ในปี 2566 สะท้อนถึง “วัฒนธรรมกาแฟ” ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทั่วโลก








Advertisement

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน