นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าใต้ดิน (เอ็มอาร์ที) สายเฉลมรัชมงคล บางซื่อ-หัวลำโพง เปิดเผยถึงธุรกิจการเดินรถไฟฟ้าว่า ปีนี้จะเป็นปีแรกที่บริษัทจะมีกำไรหลังจากปี 2558 ที่ขาดทุน 300 ล้านบาท เนื่องจากปีนี้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นจากค่าจ้างเดินจากรถไฟฟ้าสายสีม่วง เส้นทางบางใหญ่-เตาปูน ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)จ้างเดินรถตั้งแต่เดือนส.ค. 2559 ที่ผ่านมา เฉลี่ยเดือนละ 150 ล้านบาท ทำให้คาดว่ารายได้ของกลุ่มธุรกิจรถไฟฟ้าของบริษัทจะเติบโตได้อย่างน้อย 10%

นอกจากนี้ รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที ยังได้ผู้โดยสารเพิ่มเติมมากจากรถไฟฟ้าสายสีม่วงอีกประมาณราว 15,000 คนต่อวัน ส่งผลให้ยอดรวมผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเติบโตมากกว่า 5% โดยมีจำนวนปรับเพิ่มขึ้นจาก 2.8 แสนคนต่อวันเมื่อปีก่อนเป็น 3 แสนคนต่อวันในปัจจุบัน สูงกว่าอัตราการขยายปกติซึ่งอยู่ที่ราว 4% ต่อปี โดยรายได้จากค่าโดยสารจากจะเพิ่มขึ้นจากปกติอยู่ที่ 2,500 ล้านบาทต่อปี จะเป็น 2,700 ล้านบาทต่อไป

นายสมบัติ กล่าวต่อว่าสำหรับรายได้ในปี 2560 คาดว่าจะก้าวกระโดดมากกว่า 40% เพราะ BEM จะมีรายได้เพิ่มเข้ามาอีกปีละ 1,800 ล้านบาท จากค่าจ้างเดินรถรถไฟฟ้าสายสีม่วงเต็มปี ส่วนยอดผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินคาดว่าจะเติบโตได้ 4-5% จากปีนี้ แต่อาจเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดการณ์เล็กน้อยถ้าหากสามารถเชื่อมต่อสถานีเตาปูนและบางซื่อได้สำเร็จ ส่วนปีหน้าคาดว่าจะมีรายได้ปกติประมาณ 2,500 ล้านบาทและได้เพิ่มจากค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสีม่วงอีก 1,800 ล้านบาท บวกกันแล้วจะมีรายได้จากธุรกิจรถไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 4,300 ล้านบาทแน่อนอน

14657847161465784902l

“สำหรับการเจรจาเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแคและบางซื่อท่าพระ รวมถึงการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงต่อ 1 สถานี เตาปูน-บางซื่อนั้น ล่าสุดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เตรียมขอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ขยายเวลาเจรจาไปอีก 30 วัน ส่งผลให้การเชื่อมต่อช่วง 1 สถานีล่าช้าออกไปอีก”

นายสมบัติ กล่าวต่อว่า เป้าหมายการเปิดช่วง 1 สถานีจะเคลื่อนไปกับวันเริ่มที่ BEM เริ่มเข้าทำงาน โดย BEM ต้องใช้เวลาทำงานราว 6 เดือน เพราะฉะนั้นทุกฝ่ายกำลังเร่งมือ ถ้าจะให้ BEM ลดเวลาทำงานกว่านี้ก็เป็นได้ยาก แต่เบื้องต้นคาดว่าถ้าเจรจาจบในปีนี้ ช่วงครึ่งปีหน้าก็สามารถเปิดให้บริการได้แล้ว สำหรับการเจรจาเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินในปัจจุบันยังติดปัญหาเรื่องรายละเอียดปลีกย่อย แต่ไม่มีปัญหาเรื่องค่าโดยสาร เพราะการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินกำหนดให้ใช้อัตราค่าโดยสารตามสัญญาเดิม โดยมีเพดาราคาอยู่ที่ 12 สถานี หรือปัจจุบันอยู่ที่ไม่เกิน 42 บาท

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน