ความคืบหน้าการวิเคราะห์เจาะลึกผลโพลการเมืองครั้งประวัติศาสตร์ ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างสององค์กรสื่อชั้นนำมติชนxเดลินิวส์ เลือกตั้ง ’66” รอบแรก ซึ่งปิดโพลไปแล้วเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2566 สร้างปรากฏการณ์เสียงสะท้อนจากผู้คนในสังคม วงการสื่อ ภาคธุรกิจ รวมถึงภาคการเมืองอย่างแพร่หลายร้อนแรง

โดยผลโพลมติชนxเดลินิวส์ เลือกตั้ง ’66” รอบแรกมี 2 คำถาม พบว่า ในกลุ่มผู้ร่วมโหวตโพลผ่านช่องทางออนไลน์สื่อเครือมติชน ได้แก่ มติชน มติชนสุดสัปดาห์ มติชนทีวี ข่าวสด ประชาชาติธุรกิจ รวมถึงเดลินิวส์ กระจายไปทั่วทุกภูมิภาค ทุกระดับอายุ อาชีพ การศึกษา และรายได้ทั่วประเทศ มีจำนวนรวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 84,076 ราย และเป็นการโหวตแบบไม่ซ้ำไอพีแอดเดรส (IP Address)

สำหรับคำถามหัวข้อที่ 1 ถามว่า ท่านจะเลือกใครเป็นนายกรัฐมนตรี ในการเลือกตั้ง 2566

พบว่าในกลุ่ม 5 อันดับแรก ผู้ได้รับการโหวตเป็นอันดับ 1 คือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จากพรรคก้าวไกล ร้อยละ 29.42, อันดับ 2 ..แพทองธาร ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 23.23, อันดับ 3 นายเศรษฐา ทวีสิน จากพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 16.69, อันดับ 4 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จากพรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 13.72, อันดับ 5 ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกใคร ร้อยละ 2.97 ฯลฯ

กราฟรวม-โพล มติชนxเดลินิวส์

ผลการสำรวจทั้งสองคำถาม

ส่วนคำถามหัวข้อที่ 2 ถามว่า ท่านจะสนับสนุนพรรคการเมืองใด ในการเลือกตั้ง 2566 พบว่า

ในกลุ่ม 5 อันดับแรกนั้น พรรคการเมืองได้รับการโหวตเป็นอันดับ 1 คือ พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 38.89, อันดับ 2 พรรคก้าวไกล ร้อยละ 32.37, อันดับ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 12.84, อันดับ 4 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 3.30, อันดับ 5 ยังไม่ตัดสินใจเลือกพรรคใด ร้อยละ 2.21 ฯลฯ

ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 จากการวิเคราะห์ผลโพลมติชนxเดลิวนิวส์ เลือกตั้ง 66” เชิงลึกและเชิงวิชาการ โดยวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย ศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ผศ.ดร.พีระ เจริญวัฒนนุกูล อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์ นายปรีชา โพธิ รองคณบดีฯ และ นายอัครพงษ์ ค่ำคูณ คณบดี ในฐานะหัวหน้าทีมวิเคราะห์ผลโพล

ขนาดประชากรที่ทำแบบสำรวจ

พบว่า จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เดลินิวส์และมติชน สำรวจครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 8-14 เมษายน 2566 เป็นเวลา 7 วัน มีจำนวน 84,076 ราย คน ผ่านวิธีการโหวตออนไลน์ แบบไม่ซ้ำ IP Address ด้วยคำถาม 2 ข้อ คือ เลือกพรรคการเมืองใด และเลือกใครเป็นนายกรัฐมนตรี

โหวตแบบไม่ซ้ำIP
รวมทั้งยังมีการถามข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ระบุชื่อ ได้แก่ ภูมิลำเนา เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ผลโพลในครั้งนี้ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 84,706 คน พบว่ามีร้อยละของความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) อยู่ที่ประมาณ 0.34% ค่ามาตรฐานไม่เกิน 3% ซึ่งเพียงพอต่อการอธิบายความน่าเชื่อถือของผลสำรวจ

นักวิชาการวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ฯ ชี้ว่า ประเด็นที่น่าสนใจจากการสำรวจนี้ พบว่า ผลโหวตของทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมในการตอบแบบสำรวจของมติชนและเดลินิวส์มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัดจำนวนเท่าๆ กัน คือ 49.80% และ 50.20% ทำให้ไม่มีผลต่อความคลาดเคลื่อนในประเด็นการโน้มเอียงทางภูมิศาสตร์

โพลชี้คนกรุงอยากให้พิธาเป็นนายกฯ
นอกจากนั้น ผลโพลท่านจะเลือกใครเป็นนายกฯ แสดงให้เห็นว่า คนกรุงเทพฯ เลือก 1.นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ 28.48%, 2...แพทองธาร ชินวัตร 20.01%, 3.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา 18.04% และคนต่างจังหวัดเลือก 1.นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ 30.33%, 2...แพทองธาร ชินวัตร 26.38%, 3.นายเศรษฐา ทวีสิน 17.27%, ส่วน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อันดับ 4 ที่ 9.49%

ทั้งนี้ ประเด็นที่น่าสนใจคือ เมื่อพิจารณาจากโพลพบว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังคงมีความนิยมสูงกว่า พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ และนายอนุทิน ชาญวีรกุล

วิเคราะห์โพลโดย วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3 อันดับพรรคการเมืองที่คนกรุงเทพเลือก?

สำหรับพรรคการเมืองที่คนกรุงเทพฯ เลือก 3 อันดับแรก ได้แก่

พรรคเพื่อไทย 35.14%
พรรคก้าวไกล 31.42%​
พรรครวมไทยสร้างชาติ 17.15% ​

ดังนั้น กรุงเทพมหานครจึงเป็นสนามเลือกตั้ง 3 พรรคใหญ่ดังกล่าว ซึ่งประเด็นความนิยมในตัวบุคคลกับพรรคการเมืองมีส่วนสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง แต่หากดูสัดส่วนของความนิยมส่วนใหญ่แล้ว พรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล มีรวมกันเกินกว่า 60% ในเขตกรุงเทพฯ

เพื่อไทยนำโด่งในต่างจังหวัด ปชป.ฐานเสียงภาคใต้แพ้รวมไทยสร้างชาติ
ในส่วนของต่างจังหวัด พิจารณาเป็นรายภูมิภาคจะพบว่า พรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดเป็นอันดับที่ 1 คือ พรรคเพื่อไทย โดยมีกระแสความนิยม 5 ภาค ได้แก่ ภาคกลาง 43.29%, ภาคเหนือ 49.83%, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 43.91%, ภาคตะวันออก 43.40%, ภาคตะวันตก 41.32% ตามมาด้วยพรรคก้าวไกล ซึ่งได้อันดับที่ 2 ในทุกภูมิภาค ยกเว้นภาคใต้ที่มีความนิยมในอันดับ 1 ที่ 36.41% ในขณะที่พรรครวมไทยสร้างชาติ ตามมาเป็นอันดับที่ 3 ของทุกภูมิภาค ยกเว้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพรรคภูมิใจไทยได้อันดับ 3 ที่ 14.60%

ทั้งนี้ มีข้อสังเกตของกลุ่มตัวอย่างต่อความนิยมในพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่ภาคใต้มีเพียง 6.01% ซึ่งน้อยกว่าพรรครวมไทยสร้างชาติที่ได้ 13.40% หรือห่างกันมากกว่าเท่าตัว สะท้อนให้เห็นถึงความนิยมในพรรคประชาธิปัตย์ที่ลดน้อยลงจากที่เคยได้รับความนิยมอย่างสูงในพื้นที่ภาคใต้การวิเคราะห์โดยนักวิชาการวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ฯ ระบุ

เพื่อไทย ยากแลนด์สไลด์
จากผลสำรวจยังแสดงให้เห็นว่า โอกาสที่พรรคเพื่อไทย จะได้รับความนิยมแบบแลนด์สไลด์แบบทั่วประเทศดูจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากไม่มีภูมิภาคใดเลยที่ได้มากกว่า 50% ผลโพลมติชนxเดลินิวส์รอบแรก ยังแสดงให้เห็นว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ ตามมาด้วย น..แพทองธาร ชินวัตร ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งนายเศรษฐา ทวีสิน ที่ได้รับความนิยมในอันดับที่ 3 ในทุกภูมิภาค ยกเว้นภาคใต้ ที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มาเป็นอันดับที่ 3 (15.34%) เบียดแซงเอาชนะนายเศรษฐา ทวีสิน ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอันดับที่ 4 (10.18%) ในภาคใต้

หากจำแนกตามเพศแล้ว ผู้ร่วมโหวตเพศชาย มีส่วนร่วมในการทำโพลมากถึง 67.15% โดยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และ น..แพทองธาร ชินวัตร ได้รับความนิยมจากทุกเพศในอันดับที่ 1 และ 2 และ นายเศรษฐา ทวีสิน ได้รับความนิยมอันดับที่ 3 จากเพศชาย ในขณะที่เพศหญิงและผู้ไม่ระบุเพศ เทความนิยมในอันดับที่ 3 ให้กับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในส่วนของพรรคการเมืองนั้น เพศชายเลือกพรรคเพื่อไทยอันดับ 1 และ ก้าวไกลอันดับ 2 แต่เพศหญิงและผู้ไม่ระบุเพศเลือกพรรคก้าวไกลอันดับ 1 และทุกเพศให้พรรครวมไทยสร้างชาติเป็นอันดับที่ 3

นิวเจนชูก้าวไกล
ต่อมา เมื่อพิจารณาจากช่วงอายุของกลุ่มตัวอย่าง จะพบว่า Generation X (อายุ 42-57 ปี) เป็นผู้มีส่วนร่วมมากที่สุดในโพลครั้งนี้ คือ 34.82% โดยมีความนิยมพรรคเพื่อไทย และ น..แพทองธาร ชินวัตร เป็นอันดับที่ 1 เช่นเดียวกับกลุ่ม Baby Boomer (อายุ 58-76 ปี) ที่เลือกพรรคเพื่อไทยอันดับ 1 แต่ก็มีแนวโน้มที่จะเลือกพรรครวมไทยสร้างชาติ และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นอันดับที่ 3 ด้วย

นิวเจนชูก้าวไกล

ส่วนกลุ่มวัย 77 ปี ขึ้นไปเทคะแนนให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นอันดับ 1 แต่ก็ยังมีความนิยมพรรคเพื่อไทยด้วย ส่วนพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยยังคงได้รับความนิยมจากกลุ่ม Gen Y (อายุ 26-41 ปี) และ New Voter ในกลุ่ม Gen Z (อายุ 18-25 ปี) ที่เลือก นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และ น..แพทองธาร ชินวัตร เป็นอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ

ช่วงวัยที่เลือกพรรคต่างๆ วิเคราะห์โพลโดย วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นอกจากนั้น เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม คือ 49.51% เป็นผู้มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ที่ให้ความนิยมนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล เป็นอันดับ 1 และเลือก น..แพทองธาร ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย เป็นอันดับ 2 รวมทั้งมีข้อสังเกตว่า ผู้ที่มีการศึกษาในระดับปริญญาเอกได้ให้ความนิยมนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นอันดับ 1 และ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นอันดับที่ 2 ส่วนอันดับ 3 เป็นของ น..แพทองธาร ชินวัตร

ข้าราชการ ร่วมตอบแบบสอบถามมากสุด
ในตัวแปรด้านสาขาอาชีพของกลุ่มตัวอย่างนั้นพบว่า กลุ่มข้าราชการเข้ามาร่วมตอบแบบสอบถามมากที่สุดจำนวนถึง 24.27% หรือเกือบ 1 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด โดยข้าราชการโหวตให้ น..แพทองธาร ชินวัตร เป็นอันดับ 1 ที่ 24.78% ตามมาด้วย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อันดับ 2 ที่ 20.74% และอันดับ 3 คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ 17.87% สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มข้าราชการที่ทำงานภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มาเป็นเวลามากกว่า 8 ปี ต้องการเปลี่ยนแปลงผู้นำโดยเฉพาะผู้นำรุ่นใหม่

วิเคราะห์โพลโดย วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เมื่อพิจารณาระดับรายได้ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ทุกกลุ่มรายได้เลือก นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ น..แพทองธาร ชินวัตร และ นายเศรษฐา ทวีสิน มากที่สุดเป็น 3 ลำดับแรก โดยพรรคเพื่อไทยได้อันดับ 1 และพรรคก้าวไกลได้อันดับ 2 แสดงให้เห็นถึงความนิยมของทั้งสองพรรค ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากความชื่นชอบต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจและต้องการความเปลี่ยนแปลงในเรื่องความมั่นคงทางรายได้ผลวิเคราะห์โพล มติชนxเดลิวนิวส์ เลือกตั้ง 66” เชิงลึก โดยทีมนักวิชาการวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุ

โพลรอบ2 เข้มข้นยิ่งกว่าเดิม
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การเปิดโหวตโพลครั้งสำคัญชี้ชะตาอนาคตการเมืองไทยมติชนxเดลินิวส์ เลือกตั้ง ’66” รอบสอง จะเริ่มขึ้นตั้งแต่วันเสาร์ที่ 22 เมษายน ไปจนถึงวันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2566 ผ่านช่องทางออนไลน์ของทั้งสื่อเครือมติชนและเดลินิวส์ ซึ่งจะประกาศเป็นทางการให้ทราบต่อไปเร็วๆ นี้

สำหรับหัวข้อคำถามในรอบสอง จะเพิ่มความเข้มข้นขึ้นเป็น 4 คำถาม ประกอบด้วย ข้อ (1.) ท่านจะเลือกผู้สมัคร..เขตจากพรรคการเมืองใดในการเลือกตั้ง 2566 นี้, ข้อ (2.) ท่านจะเลือก..ปาร์ตี้ลิสต์” (..บัญชีรายชื่อ) พรรคใดในการเลือกตั้ง 2566 นี้, ข้อ (3.) ท่านจะสนับสนุนใครเป็นนายกรัฐมนตรี และข้อ (4.) ท่านคิดว่า ส.. ควรโหวตเลือกแคนดิเดตนายกฯ จากพรรคที่ได้ ส.. มากที่สุดหรือไม่ ทั้งนี้ ผู้ที่เคยร่วมโหวตโพลรอบแรกไปแล้วก็สามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับการโหวตครั้งประวัติศาสตร์รอบที่สองนี้ได้ เพียงแต่เมื่อทำโหวตรอบสองไปแล้วจะไม่สามารถโหวตซ้ำได้อีก เพราะมีการล็อกไอพีแอดเดรสชุดเดิมไม่ให้โหวตซ้ำ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน