ถกสนั่น! จอร์จ ฟอลคอน เสียชีวิตหรือไม่? รอมแพง ยืนยันตามหลักฐานชั้นต้น

ถกสนั่น! จอร์จ ฟอลคอน / เข้มข้นขึ้นทุกตอน สำหรับพรหมลิขิต ละครอิงประวัติศาสตร์ที่ให้ทั้งความสนุกและได้ความรู้ เมื่อถึง EP8 ฉากสำคัญตอนหนึ่ง จอร์จ ฟอลคอน แสดงโดย โอม-คณิน สแตนลีย์ลูกชายของ ตองกีมาร์ (มะลิ) กับ เจ้าพระยาวิไชเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน ซึ่งที่ในเรื่องจอร์จเสียชีวิตลงขณะทำภารกิจสำคัญให้กับ พระเจ้าท้ายสระ ตามที่ละครนำเสนอไว้

 

ถกสนั่น! จอร์จ ฟอลคอน

เพจศิลปวัฒนธรรม เผยบทความหนึ่ง มีเนื้อหาบางช่วงบางตอนว่า “มีเอกสารหนึ่ง “Journal of the Siam Society” ใน “An Early British Merchant in Bangkok” โดย Moore, R. Adey ภายในนั้นระบุแผนผังครอบครัวไว้ว่า คอนสแตนติน ฟอลคอน หรือ ออกญาวิไชเยนทร์ แต่งงานกับ หญิงคนหนึ่งซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่น ผู้นับถือศาสนาคาทอลิก (นั่นคือ มารี กีมาร์ เดอ ปิน่า หรือ ท้าวทองกีบม้า) ก่อนจะมีลูกชายหนึ่งคน คือ “จอร์จ ฟอลคอน”

ว่ากันว่า จอร์จ ฟอลคอน เติบโตและรับราชการในแผ่นดินสยาม ก่อนจะถูกส่งไปทำงานต่างแดนในฐานะทูต ที่ “ปอนดิเชอรี” เมืองท่าของฝรั่งเศส ที่ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ต่อมา เขาตกลงปลงใจใช้ชีวิตร่วมกับหญิงชาวโปรตุเกส มีลูกชายด้วยกัน 1 คน คือ “จอห์น ฟอลคอน” และลูกผู้หญิงอีกหลายคน ก่อนที่ ค.ศ. 1754 จอร์จ ฟอลคอน จะเสียชีวิตลงอย่างสงบในปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ”

ถกสนั่น! จอร์จ ฟอลคอน

ต่อมาเพจศิลปวัฒนธรรม ก็ได้เสนอบทความอีกบทหนึ่ง ยินยันว่า “จอร์จ ฟอลคอน” เสียชีวิตจริงสมัยพระเจ้าท้ายสระ








Advertisement

เรื่องของ จอร์จ ฟอลคอน กลายเป็นที่ถกกันว่า ตกลงได้เสียชีวิตลงในช่วงใดกันแน่ ซึ่ง รอมแพง ไม่รอช้า ก็ได้โพสต์บทความหนึ่งเช่นกัน โดยมีเนื้อหาว่า “ตามหลักฐานชั้นต้น ซึ่งเป็นจดหมายของมิชชันนารีคณะมิสซัง ต่างประเทศกรุงปารีสในสยาม ที่เขียนใน ค.ศ. 1711 (พ.ศ. 2254 ยุคพระเจ้าท้ายสระ) ยืนยันว่า จอร์จ ฟอลคอน เสียชีวิตตั้งแต่ ค.ศ. 1709 (พ.ศ. 2252) ปีที่พระเจ้าท้ายสระขึ้นครองราชย์ แล้วยังระบุว่า เมียของจอร์จกับตองกีมาร์ส่งเรื่องขอเงินปันผลจากฝรั่งเศสด้วย และยังกล่าวถึงว่าลูกชายของจอร์จ ก็ชื่อคอนสแตนตินเหมือนสามีของตองกีมาร์

ถกสนั่น! จอร์จ ฟอลคอน

ในนิยาย จอร์จ ก็จะมีลูกชายลูกสาวทำให้ แม่มะลิ ต้องเข้มแข็งเลี้ยงหลาน เพราะฉะนั้นอย่ามาเผาบ้านรอมแพงเลยเจ้าค่ะ 😅 ส่วนหลักฐานที่มีการกล่าวถึงว่าจอร์จอยู่จนแก่นั้น มามีในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งห่างจากระยะเวลาที่เกิดเรื่องเป็นร้อยปี น่าจะเป็นการบอกเล่าของคนรุ่นหลังที่อาจจะคลาดเคลื่อนได้

ถกสนั่น! จอร์จ ฟอลคอน

ปล.หลักฐานชั้นต้น คือหลักฐานที่ถูกจดบันทึกหรือเขียนขึ้นมาในยุคสมัยเดียวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นหรือยุคสมัยใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะในละครหรือในนิยายหรือแม้แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ก็มิควรเชื่อ 100 เปอร์เซ็นต์นะเจ้าคะ😁

อย่างไรก็ดี มีแฟนคลับได้เข้ามาคอมเมนต์ในเพจ รอมแพง ว่า “เอาพ่อจอร์จคืนมา ฮือออออ” และอีกคอมเมนตืหนึ่งว่า “ทำไมตายง่ายจังเลย ง่ายเกินไปที่จะเป็นทหารคนสนิท คอยรักษาพระองค์” รอมแพงได้เข้ามาตอยว่า “ถ้าไม่ตายก็อาจจะมีผู้รู้ตำหนิรอมแพงได้ว่าไม่เขียนตามประวัติศาสตร์ และตามประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้ระบุว่าตายเพราะสาเหตุใด ดังนั้นให้ตายในหน้าที่ถือว่างดงามที่สุดแล้วค่ะ”

ขอบคุณเพจ Silpawattanatham – ศิลปวัฒนธรรม และ เพจ รอมแพง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน