บทบรรณาธิการ : วิกฤตฝุ่น

วิกฤตฝุ่นสถานการณ์ฝุ่นละอองในกรุงเทพฯ และปริมณฑลกลับมาเป็นที่น่าวิตกอย่างยิ่งอีกครั้ง ถึงขั้นกระทรวงศึกษาธิการสั่งโรงเรียนหยุดการเรียนการสอน ระหว่างวันที่ 30 .. ถึง 1 ..

ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ปริมณฑล 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี

ความเคลื่อนไหวนี้ตอกย้ำว่า ฝุ่นละอองเป็นปัญหาที่กินเวลายาวนานและจะกระทบต่อสุขภาพประชาชนไม่ช้าก็เร็ว

ขณะที่การรับมือของทางการยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน หลังใช้วิธีการพ่นน้ำหรือฝนเทียมในช่วงเฉพาะหน้ายังไม่มีข้อสรุปหรือภาพรวมที่ชัดเจนเช่นกันว่าจะบรรเทาปัญหาได้เท่าใด และจะใช้ระยะเวลานานเท่าใด

วิกฤตฝุ่น

ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ประชาชนได้รับมาจากกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ในแต่ละวัน รวมถึงพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐานจนกระทบสุขภาพเข้าขั้นวิกฤต

ช่วงกลางสัปดาห์ มีค่าฝุ่นอยู่ที่ 60-144 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกินกว่าค่ามาตรฐานที่อยู่ระดับ 50 มค../ลบ.. และคุณภาพอากาศอยู่ในระดับปานกลางถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ส่วนการแก้ไขปัญหายังคงเป็นการขอความร่วมมือ เช่น ห้ามใช้รถยนต์ควันดำอย่างเด็ดขาด ห้ามการเผาในที่โล่งทุกประเภทอย่างเด็ดขาด และลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล

แต่ยังไม่มีปฏิกิริยาในส่วนการบังคับใช้กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่ห้ามและลงโทษผู้ฝ่าฝืนใดๆ ออกมา

ขณะเดียวกัน นักวิชาการยังตั้งข้อสังเกตถึงการตั้งค่ามาตรฐานฝุ่นละออง PM2.5 ของไทย ว่า มาตรฐานฝุ่นละออง PM2.5 ขององค์การอนามัยโลก เฉลี่ยไว้ที่ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรต่อปี และเฉลี่ย 25 มค../ลบ..ต่อ 24 ชั่วโมง

แต่ของไทย เพดานฝุ่นละอองเฉลี่ยต่อปี สูงกว่าค่าแนะนำองค์การอนามัยโลก 2.5 เท่า และเฉลี่ยต่อ 24 ชั่วโมง สูงกว่าค่าแนะนำขององค์การอนามัยโลก 2 เท่า

ส่วนเกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ของไทยกำหนดระดับ 101-200 อยู่ในระดับสีส้ม แต่ขององค์การอนามัยโลกหากค่ามลพิษทางอากาศเกิน 150 นับเป็นพื้นที่สีแดง หรือมีผลกระทบต่อ สุขภาพแล้ว

เกิดคำถามว่าถึงเวลาต้องปรับมาตรฐานแล้วหรือไม่

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน