FootNote : กรณีถวายสัตย์ปฏิญาณ อำนาจบริหารถึงนิติบัญญัติ

พลันที่ประโยค “ผมขอเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว” กรณีถวายสัตย์ปฏิญาณหลุดออกมาจากปาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คำถามที่ตามมาโดยอัตโนมัติก็คือ

รับผิดชอบกับสถานการณ์ในวันที่ 16 กรกฎาคม

หรือรับผิดชอบกับสถานการณ์ระหว่างวันที่ 25-27 กรกฎาคม

2 สถานการณ์นี้มีความสัมพันธ์กัน

เพราะหากไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้นในสถานการณ์ถวายสัตย์ปฏิญาณเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ก็ไม่เกิดสถานการณ์ทักท้วงขึ้นในระหว่างวันที่ 25-27 กรกฎาคม

สะท้อนความสัมพันธ์ ยึดโยงและเกี่ยวเนื่องระหว่างรัฐบาลกับสภาผู้แทนราษฎร

อย่าได้แปลกใจหากทุกสายตาจะจ้องมองไปยัง 1 บทบาทของนายปิยบุตร แสงกนกกุล ประสานเข้ากับบทบาทของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส

1 บทบาทของ นายวีระกร คำประกอบ ในฐานะที่ทักท้วงเพื่อตัดบทบทบาทของ นายปิยบุตร แสงกนกกุล

ขณะที่ นายชวน หลีกภัย เห็นว่าเป็นเรื่องร้ายแรง

1 บทบาทของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นับจากระหว่างการประชุมวันที่ 25-27 กรกฎาคม กระทั่งการออกมายอมรับความผิดพลาดในวันที่ 8 สิงหาคม

คำถามก็คือ ใครจะต้องรับผิดชอบในเรื่องอันมีจุดเริ่มตั้งการถวายสัตย์ปฏิญาณเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม

เป็นความผิดของ นายปิยบุตร แสงกนกกุล ที่ท้วงติง

เป็นความผิดของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ที่พยายามถามถึงความรับผิดชอบไม่ว่าของรัฐบาล ไม่ว่าของสภาผู้แทนราษฎร

คำถามทั้งหมดสะท้อนทั้งในทางนิติธรรมและจริยธรรม

ปัญหาทั้งหมดรวมศูนย์ไปยังบทบาทและความหมายของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560

เพราะสัมพันธ์กับมาตรา 161

เหมือนจะครอบคลุมเฉพาะนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี แต่เมื่อมีการนำเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร

จึงครอบคลุมทั้งอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน