คอลัมน์ รู้ไปโม้ด

น้าชาติ ประชาชื่น [email protected]

อยากทราบเรื่องเสื้อเกราะ มีกี่ประเภท และมีประวัติความเป็นมาไหมว่าเป็นอย่างไร

ชู้ตเตอร์

ตอบ ชู้ตเตอร์

(ตอนแรก)พบข้อมูลทั่วไปของเสื้อเกราะแล้ว วันนี้ว่ากันต่อถึงเสื้อเกราะในประเทศไทย และประวัติศาสตร์เสื้อเกราะ โดยเก็บความรู้มาจากเอกสารแผนกการวัตถุระเบิด กองศึกษาและวิจัย กรมสรรพาวุธทหารเรือ โดยน.อ.หญิง สุรวรรณ ลิ้มสัมพันธ์ อาจารย์กองวิชาฟิสิกส์และเคมี โรงเรียนนายเรือ ดังนี้

สำหรับเสื้อเกราะประเทศไทย มีร่างมาตรฐานยุทโธปกรณ์ที่จัดทำโดยคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม (กมย.กห.) ว่าด้วยเกราะกันกระสุน ซึ่งได้แปล วิเคราะห์ ประยุกต์และเรียบเรียงให้เหมาะสมกับประเทศไทย

โดยอิงมาตรฐาน U.S. NIJ.0101.04 ตามความจำเป็นและเหมาะสมเพื่อมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยเป็นหลัก โดยสามารถจำแนกตามระดับความสามารถในการกันกระสุนปืนได้เป็น 6 ระดับ คือ ระดับที่ 1 สามารถกันกระสุนที่เป็นภัยคุกคามที่มีหัวกระสุนขนาด .22LR และ .380ACP ได้, ระดับที่ 2A สามารถป้องกันกระสุนขนาด 9 ม.ม. พาราฯ และกระสุนขนาด .40 S&W และระดับ 1 ได้

ระดับที่ 3 เสื้อเกราะแบบมาตรฐานใช้กันกว้างขวางทั่วโลกเป็นเสื้อเกราะของเจ้าหน้าที่ตำรวจสหรัฐ กันกระสุนได้เกือบทุกชนิด ยกเว้นกระสุนปืนพกที่มีอำนาจการทะลุทะลวงสูง, ระดับที่ 4 สามารถกันกระสุนปืนพกโดยทั่วไปได้ เป็นเสื้อเกราะที่ออกแบบโดยรวมคุณสมบัติการป้องกันกระสุนและป้องกันการเสียบแทงด้วยวัตถุมีคมเข้าด้วยกัน

4

สามารถป้องกันวัตถุมีคมได้ทุกชนิดที่มีแรงไม่เกิน 81.2 ฟุต/ปอนด์, ระดับที่ 5 เสื้อเกราะชนิดพิเศษถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันกระสุนปืน 44 แม็กนั่ม รีวอลเวอร์ ซึ่งโดยปกติกระสุนชนิดนี้ทะลุทะลวงผ่านเสื้อเกราะคุณภาพต่ำได้ นอกจากนี้ยังสามารถกันกระสุนความเร็วสูงจำพวกกระสุนปืนพกและปืนกลเบาขนาด 9 มิลลิเมตรได้ดี และระดับที่ 6 เสื้อเกราะชนิดนี้ ถูกออกแบบมาสามารถกันกระสุนปืนเล็กยาวชนิดเจาะเกราะขนาด 30-40 และที่รุนแรงน้อยกว่าทั้งหมด
2
ทั้งนี้ การมีเสื้อเกราะไว้ในครอบครองจะต้องขอรับใบอนุญาตจากกรมการอุตสาหกรรมทหารเสียก่อนจึงจะนำมาใช้งานได้ ตามพ.ร.บ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530

ในอดีตมนุษย์ได้นำวัสดุหลากหลายมาทำเป็นเสื้อเกราะ เพื่อใช้ป้องกันตัวเองจากอันตรายเมื่ออยู่ในภาวะสงครามหรือสถานการณ์ที่เสี่ยงต่ออันตราย โดยแรกเริ่มชุดเกราะและโล่ทำขึ้นจากหนังสัตว์ จากนั้นพัฒนาเป็นเกราะไม้และเกราะโลหะ โดยโลหะมักใช้กับร่างกาย ดังที่คุ้นเคยกันดีกับภาพที่อัศวินในยุคกลางสวมใส่ขณะออกรบ แต่เมื่อเวลาผ่านไปเสื้อเกราะดังกล่าวก็ใช้ไม่ได้ผลกับอาวุธสมัยใหม่ จำพวกกระสุนปืนต่างๆ

มีหลักฐานบันทึกว่าเสื้อเกราะอ่อนได้ถูกใช้เป็นครั้งแรกโดยชาวญี่ปุ่นในยุคกลาง เป็นเสื้อเกราะที่ทำจากผ้าไหม แต่ผลจากการศึกษาพบว่าเสื้อเกราะผ้าไหมสามารถกันได้แต่กระสุนที่มีความเร็วต่ำ (400 ฟุต/วินาทีหรือน้อยกว่า) ไม่สามารถกันกระสุนปืนสมัยใหม่ที่มีความเร็วเกิน กว่า 600 ฟุต/วินาทีได้ ยิ่งเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการผลิตแล้ว เสื้อเกราะผ้าไหมมีราคาสูงถึงตัวละ 800 ดอลลาร์สหรัฐ (เทียบกับค่าของเงินในค.ศ.1998 เท่ากับ 1,400 ดอลลาร์สหรัฐ) ทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับ
1
เสื้อเกราะกันกระสุนรุ่นต่อมาเกิดขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เรียกว่า แฟล็ก แจ๊กเกต ผลิตขึ้นจากไนลอน สามารถกันสะเก็ดระเบิดและใช้ได้ผลอย่างดีกับการคุกคามของปืนพกและปืนไรเฟิล แต่เสื้อเกราะชนิดนี้มีข้อจำกัดคือมีขนาดใหญ่เทอะทะและใช้ได้แต่ในวงการทหารเท่านั้น จนกระทั่งปลายยุค 1960 ค้นพบเส้นใยสังเคราะห์ชนิดใหม่เรียกว่า เคฟลาร์ (Kevlar) ของดูปองต์ ที่สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับจากนั้นเสื้อเกราะถูกผลิตขึ้นจากวัสดุต่างๆ จากหลายบริษัท

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน