รายงานพิเศษ

ยูเนสโก (UNESCO) ได้จัดโครงการรณรงค์ระดับโลกสำหรับการศึกษาเรื่องเพศวิถีหรือ (CSE) ในโครงการ “มูลนิธิเพื่อชีวิตและความรัก” ขึ้นในกรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้

นางมากิ ฮายาชิคาวา หัวหน้าส่วนงานและด้านคุณภาพการศึกษา องค์การยูเนสโก กรุงเทพฯ กล่าวว่า ยูเนสโกมุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่นใจว่าเด็กและเยาวชนทุกคนจะได้รับประโยชน์จาก CSE เพื่อให้ถูกนำไปใช้งานได้จริง อีกทั้งสามารถควบคุมและตัดสินใจอย่างรอบคอบเกี่ยวกับเรื่องเพศและความสัมพันธ์ได้อย่างอิสระและอย่างรับผิดชอบ

“แคมเปญ CSE : A Foundation for Life and Love” เพื่อเป็นกระบอกเสียง ที่ทำให้ทราบถึงความจำเป็นของ CSE อันจะเป็นส่วนสำคัญในการสนทนาในครอบครัว, โรงเรียนและทั่วไปในภาคประชาสังคม” นางมากิกล่าว

นางมากิกล่าวต่อว่า ยูเนสโกได้พูดคุยกับครอบครัวจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อรับรู้ถึงเสียงสะท้อนจากประสบการณ์ในการศึกษาเรื่องเพศ รวมถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการที่จะได้เรียนรู้ นำมาจัดทำเป็นวิดีโอและนิทรรศการ แสดงให้เห็นว่าทำไมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เยาวชนจะเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพ ความสัมพันธ์ เพศสภาพ เพศ และเรื่องทางเพศอื่นๆ

ดร.จิราภรณ์ อรุณากูร ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชภัณฑ์วัยรุ่น กล่าวว่า ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากโครงการ CSE เป็นอย่างมาก เพราะไม่เพียงแต่จะกล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ แต่ได้กล่าวถึงวิธีการที่จะป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย ซึ่งนั่นเกี่ยวเนื่องกับการมีความสัมพันธ์ที่ดี รวมถึงการเรียนรู้วิธีการที่จะสื่อสารในสิ่งที่ตัวเราต้องการหรือไม่ต้องการได้อย่างเหมาะสม

สำหรับการศึกษาเรื่องเพศวิถี (CSE) : มีดังนี้

การศึกษาเรื่องเพศวิถี คือกระบวนการสอนตามหลักสูตร และการเรียนรู้องค์ความรู้ อารมณ์ ร่างกาย และ เพศวิถีในแง่สังคม ซึ่งตามหลักสูตรถูกจัดให้เด็กและเยาวชน ได้มีองค์ความรู้ ทักษะ ทัศนคติและการมองเห็นคุณค่าที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้พวกเขาเหล่านั้นได้ตระหนักถึงสุขภาพ สวัสดิภาพ รวมถึงศักดิ์ศรีของตนเอง นำไปสู่การพัฒนาทางด้านการเคารพสังคมและความสัมพันธ์ทางเพศ อีกทั้งทำให้สามารถพิจารณาได้ถึง ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสวัสดิภาพของตนเองและผู้อื่นจากสิ่งที่เราเลือกได้ พร้อมทั้งเข้าใจและให้ความคุ้มครองสิทธิของตนตลอดชีวิต

จากการตรวจสอบหลักฐานใหม่ พร้อมกับการทบทวนหลักสูตรทั่วโลกซึ่งดำเนินการโดยองค์การยูเนสโกในปี 2016 พบว่าในหลักสูตรไม่ได้ให้ความสำคัญในการศึกษาเรื่องเพศทั้งในหรือนอกโรงเรียน ไม่ได้มีการสอนเรื่องกิจกรรมทางเพศ, เรื่องพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หรืออัตราการเสี่ยงในการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเชื้อ HIV นอกจากนี้ยังพบว่าการเข้าร่วมกลุ่มเพื่องดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้มีประสิทธิภาพมากพอในการชะลอความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ หรือลดจำนวนของคู่นอนลง

วัยรุ่นต่างต้องเผชิญปัญหาเรื่องเพศและปัญหาสุขภาพด้านการเจริญพันธุ์มากมาย จากการเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น การเข้าถึงวิธีคุมกำเนิด ไปจนถึงการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร, ความรุนแรงทางเพศ, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเชื้อ HIV/ เอดส์ การศึกษาเรื่องเพศวิถีมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือเยาวชนเพื่อนำทางพวกเขาในการเผชิญหน้ากับสิ่งท้าทายเหล่านี้

ยูเนสโกได้นำเสนอบทความเต็มเรื่อง Inter national technical guidance on sexuality education ในปี 2018 จากการทำงานร่วมกันกับ UNAIDS, UNDP, UNFPA, UN Women, and WHO ช่วยให้องค์กรการศึกษา, สุขภาพ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พัฒนาและนำ CSE ไปใช้ได้เป็นผลสำเร็จ รวมถึงข้อเท็จจริงอื่นๆ แนวการปฏิบัตินี่เป็นไปตามความสมัครใจและไม่มีการบังคับให้นำไปใช้ โดยอ้างอิงตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดตามหลักสากล และตระหนักถึงความหลากหลายในบริบทของประเทศที่มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเพศ

แนวคิดหลัก หัวข้อและวัตถุประสงค์หลักของ The Technical Guidance outlines ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาและปรับใช้เพื่อผู้เรียน อายุ 5-18+ ขึ้นไป มีดังนี้ 1.ความสัมพันธ์ 2.คุณค่าในตัวเอง, สิทธิ, วัฒนธรรม และเรื่องทางเพศ 3.ความเข้าใจเพศ 4.ความรุนแรง และการปกป้องตัวเองให้ปลอดภัย 5.ทักษะเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี 6.ร่างกายของมนุษย์และการพัฒนาการ 7.เรื่องทางเพศ และพฤติกรรมทางเพศอื่นๆ และ 8.เรื่องเพศและสุขภาพอนามัยในการเจริญพันธุ์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน