10 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ปี 62

10 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ – สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เชิญชวนเฝ้าติดตามปรากฏการณ์ต่างๆ ทางดาราศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้กันเริ่มจาก

1. ปี 2562 นี้เป็นการครบรอบ 50 ปี ที่ยานอะพอลโล 11 นำมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์เป็นครั้งแรก วันที่ 21 ..2512

ดวงจันทร์ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมหาศาล อาทิ แผนที่ดวงจันทร์แบบละเอียด องค์ความรู้ใหม่จากตัวอย่างหินและดินบนดวงจันทร์ ระบบนำร่องการบินและอวกาศระบบจีพีเอส ระบบประมวลผลคอมพิวเตอร์ บรรจุภัณฑ์ และการเก็บรักษาอาหารแช่แข็งและเลนส์กล้องถ่ายภาพที่ทนต่อการขีดข่วน โดยปัจจุบันมนุษย์วางแผนเดินทางสู่ดาวอังคารเป็นเป้าหมายถัดไป

2.ครบรอบ 100 ปี ใช้สุริยุปราคาเต็มดวง พิสูจน์ทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไป

ทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไปเป็นทฤษฎีที่นำมาอธิบายแรงโน้มถ่วงในเอกภพโดยอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์นักฟิสิกส์ชื่อดัง เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีดังกล่าว เซอร์อาร์เธอร์ เอ็ดดิงตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ จึงออกแบบการทดลองจากการสังเกตการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง เมื่อวันที่ 29 ..2462 พบว่าเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนมาบังหน้าดวงอาทิตย์จนมืดสนิท แสงจากดาวฤกษ์ด้านหลังดวงอาทิตย์จะเดินทางโค้งผ่านกาลอวกาศรอบๆ ดวงอาทิตย์ ทำให้ตำแหน่งปรากฏเปลี่ยนไปตามที่ไอน์สไตน์ทำนายไว้

3.หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ (Thai National Radio Astronomy Observatory : TNRAO) ในโครงสร้างพื้นฐานดาราศาสตร์สำคัญของไทย ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายดาราศาสตร์วิทยุและยีออเดซี ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ

กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เมตร แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในช่วงคลื่นวิทยุ รวมถึงการวิจัยด้านธรณีวิทยาและวิทยาศาสตร์บรรยากาศ เช่น การเกิดแผ่นดินไหว หรือ สึนามิ โดยร่วมสังเกตการณ์กับกล้อง โทรทรรศน์วิทยุทั่วโลกในเครือข่ายการแทรกสอดระยะไกล (VLB) มีแผนดำเนินการระหว่างปี 2560-2563 คาดว่าจะเริ่มใช้งานประมาณปลายปี 2564

4.ดาวเทียมวิจัยของคนไทย โครงการภาคีความร่วมมือพัฒนาความสามารถเทคโนโลยีอวกาศไทย (Thai Space Consortium : TSC) เพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างดาวเทียมวิจัยดวงแรกฝีมือคนไทย นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอวกาศและดาวเทียมของไทย

5.เปิดหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา สงขลา

หอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชนเต็มรูปแบบแห่งที่ 3 ของไทย 25 .. ศูนย์การเรียนรู้ดาราศาสตร์ที่สำคัญในภาคใต้ มีภารกิจหลักคือ สนับสนุนงานบริการวิชาการดาราศาสตร์แก่ชุมชน งานวิจัยดารา ศาสตร์สำหรับนักเรียน นักศึกษา สถาบันการศึกษา และยังเป็นศูนย์เรียนรู้ดาราศาสตร์มุสลิมอย่างครบวงจร

ที่ตั้งหอดูดาวอยู่บริเวณละติจูด 7 องศาเหนือ จึงสังเกตวัตถุท้องฟ้าในซีกฟ้าใต้ได้ดีกว่าภูมิภาคอื่น โดยสังเกตปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ได้ดีในช่วงฤดูฝนของไทย มีทิวทัศน์โดยรอบสวยงาม มองเห็นทั้งทะเลสาบสงขลาและอ่าวไทย โดยหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวิชาการที่สำคัญของภูมิภาคและเป็นหอดูดาวที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ

6.จันทรุปราคาบางส่วนสุริยุปราคาบางส่วน เหนือฟ้าเมืองไทย ในวันที่ 17 ..

เวลาประมาณ 03.02-06.00 . (ตามเวลาประเทศไทย) ดวงจันทร์จะเข้าไปในเงามืดของโลกมากที่สุด ประมาณร้อยละ 65 ในเวลาประมาณ 04.31 . สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทั่วประเทศตลอดทั้งปรากฏการณ์

สุริยุปราคาบางส่วน 26 .. เวลาประมาณ 10.18-13.57 . (ตามเวลาประเทศไทย) จะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวนแม้ไม่สามารถเห็นได้ในประเทศไทย แต่จะเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน โดยดวงอาทิตย์ถูกบังมากที่สุดบริเวณภาคใต้ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ประมาณร้อยละ 81 ส่วนทางภาคเหนือที่จังหวัดเชียงราย ดวงอาทิตย์จะถูกบังเพียงร้อยละ 40 ส่วนกรุงเทพฯ ดวงอาทิตย์จะถูกบังประมาณร้อยละ 56

7.ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้ไกลโลกที่สุดในรอบปี (356,836 กิโลเมตร) ในวันที่ 19 .. มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย

ต่อมาวันที่ 14 .. เข้าใกล้ 406,365 .. มีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติเล็กน้อย สังเกตได้ด้วยตาเปล่า ทางทิศตะวันออก หลังดวงอาทิตย์ตกตั้งแต่เวลาประมาณ 18.00 .เป็นต้นไป

8.ดาวเคราะห์ใกล้โลก สามารถมองเห็นได้ตลอดคืนและมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย เริ่มจากวันที่ 10 มิ.. ดวงอาทิตย์ โลก และดาวพฤหัสบดี จะเรียงอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลาง ส่งผลให้ดาวพฤหัสบดีอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่างประมาณ 641 ล้านก.. จากนั้นวันที่ 9 .. ดวงอาทิตย์ โลก และดาวเสาร์จะเรียงอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลาง ส่งผลให้ดาวเสาร์อยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่างประมาณ 1,352 ล้านก..

9.ฝนดาวตก วันที่ 22-23 เม.. ฝนดาวตก ไลริดส์ เฉลี่ย 18 ดวง/ชั่วโมง, 6-7 .. ฝนดาวตกฮีด้าอควอริดส์ เฉลี่ย 50 ดวง/ชั่วโมง 30-31 .. ฝนดาวตกเดลต้าอควอริดส์ เฉลี่ย 25 ดวง/ชั่วโมง, 12-13 .. ฝนดาวตกเพอร์ เซอิดส์ เฉลี่ย 110 ดวง/ชั่วโมง, 9-10 .. ฝนดาวตกทอริดส์ใต้ เฉลี่ย 5 ดวง/ชั่วโมง, 21-22 .. ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ เฉลี่ย 20 ดวง/ชั่วโมง,

12-13 .. ฝนดาวตกทอริดส์เหนือ เฉลี่ย 5 ดวง/ชั่วโมง, 18-19 .. ฝนดาวตกลีโอ นิดส์ เฉลี่ย 15 ดวง/ชั่วโมง, 13-14 .. ฝนดาวตกเจมินิดส์ เฉลี่ย 140 ดวง/ชั่วโมง และ 22-23 .. ฝนดาวตกเออร์ซิดส์ เฉลี่ย 10 ดวง/ชั่วโมง

10.จับตาข้ามปี ดาวเสาร์เคียงดาวพฤหัสบดี เข้าใกล้ที่สุดในรอบกว่า 397 ปี โดยค่อยๆ ขยับเข้าใกล้กันตั้งแต่ปลายปี 2562 ไปจนถึงเดือนธ..2563 จนกระทั่งวันที่ 21 .. จะปรากฏห่างกันเพียง 0.1 องศา มองบนฟ้าเสมือนเป็นดาวดวงเดียวกัน หากใช้กล้องโทรทรรศน์กำลังขยายไม่เกิน 150 เท่า จะเห็นดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดีอยู่ในช่องมองภาพเดียวกัน สังเกตได้ในช่วงหัวค่ำทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณระหว่างกลุ่มดาวคนยิงธนู และกลุ่มดาวแพะทะเล ปรากฏ การณ์นี้เกิดขึ้นในทุก 20 ปี แต่ครั้งนี้นับว่าเข้าใกล้ที่สุดในรอบกว่า 397 ปี

ติดตามข้อมูลได้ที่ www.NARIT.or.th”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน