วันรำลึกเหตุการณ์ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (ตอนจบ)

รู้ไปโม้ด โดยน้าชาติ ประชาชื่น

วันรำลึกเหตุการณ์ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (ตอนจบ) : รู้ไปโม้ด โดยน้าชาติ ประชาชื่น – ฉบับวานนี้ (4 ก.พ.) “นิษฐ์” ถามว่า วันฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เป็นมายังไง และ genocide กับ holocaust ต่างกันยังไง เมื่อวานตอบถึงความเป็นมาของ “วันรำลึกถึงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สากล” (International Holocaust Remembrance Day) แล้ว วันนี้พบความหมายของ 2 คำศัพท์ ข้อมูลจากวิกิพีเดีย

ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ารฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide) สหประชาชาติได้กำหนดนิยามของพฤติการณ์นี้ในข้อ 2 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ว่า ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หมายถึง “การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มชนในชาติ หรือกลุ่มชนทางศาสนาทั้งกลุ่มหรือส่วนใหญ่

เป็นต้นว่า ฆ่าสมาชิกของกลุ่ม กระทำให้สมาชิกของกลุ่มถึงแก่พิกลพิการอย่างหนักทางกายภาพหรือจิตภาวะ กระทำโดยไตร่ตรองหรือโดยคาดการณ์ไว้แล้วเพื่อให้เกิดแก่หรือนำพามาสู่สมาชิกของกลุ่มซึ่งทุกขเวทนาในสภาพความเป็นอยู่ กระทำโดยมาตรการใดๆ เพื่อกันมิให้มีการถือกำเนิดของทารกภายในกลุ่ม หรือใช้กำลังนำพาผู้เยาว์ในกลุ่มไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง”

แม้คำปรารภแห่งอนุสัญญาดังกล่าวจะระบุว่า ได้เกิดกรณีตัวอย่างในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ขึ้นแล้วหลายครั้งหลายครา ในประวัติศาสตร์โลก แต่คำว่า genocide นั้นเพิ่งประดิษฐ์ขึ้นโดย ราฟาเอล เลมคิน (Raphael Lemkin) นักนิติศาสตร์ลูกครึ่งโปแลนด์ยิว และประชาคมโลกเพิ่งยอมรับนิยามของฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่างเป็นทางการภายหลังความหายนะที่นูเรมเบิร์ก

ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ปัจจุบันความผิดฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลอาญาระหว่างประเทศที่จะดำเนินกระบวนยุติธรรม แต่ก่อนหน้านี้ระหว่างที่ประชาคมโลกกำลังช่วยกันก่อตั้งศาลดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการเฉพาะกิจระหว่างประเทศ จนกระทั่งธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2545

นอกจากนี้ นับแต่อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มีผลใช้บังคับในเดือนมกราคม พ.ศ.2491 เป็นต้นมา รัฐภาคีแห่งอนุสัญญาราวๆ 80 ประเทศได้ประกาศใช้และปรับปรุงกฎหมายภายในเพื่ออนุวัติอนุสัญญาดังกล่าว และผู้กระทำความผิดฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์บางรายก็ได้รับการลงโทษตามกฎหมายภายในก็มี

ฮอโลคอสต์ (Holocaust) เป็นพันธุฆาตชาวยิวในยุโรปประมาณ 6 ล้านคนระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โครงการฆาตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐเยอรมนี นำโดย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และ พรรคนาซี ทั่วทั้งดินแดนที่เยอรมนียึดครอง จากชาวยิว 9 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรป ประมาณ 2 ใน 3 ถูกสังหาร รวมถึงเด็กๆ กว่า 1 ล้าน

นักวิชาการบางส่วนเสนอว่า นิยามของฮอโลคอสต์ยังควรรวมถึงพันธุฆาตประชากรกลุ่มอื่นอีกหลายล้านคนของนาซี รวมทั้งชาวโรมานี คอมมิวนิสต์ เชลยศึกโซเวียต พลเรือนโปแลนด์และโซเวียต พวกรักเพศเดียวกัน ผู้ทุพพลภาพ พยานพระยะโฮวา และคู่แข่งทางการเมืองและศาสนาอื่นๆ ไม่ว่ากลุ่มชาติพันธุ์เยอรมันหรือไม่ก็ตาม ซึ่งหากใช้นิยามนี้จำนวนเหยื่อฮอโลคอสต์ทั้งสิ้นอยู่ระหว่าง 11-17 ล้านคน

การเบียดเบียนและพันธุฆาตมีการดำเนินแบ่งเป็นขั้น มีกฎหมายหลายฉบับที่ดึงชาวยิวออกจากประชาสังคม มีการสร้างค่ายกักกันซึ่งผู้ถูกกักกันถูกบังคับให้ใช้แรงงานทาสกระทั่งเสียชีวิตด้วยเพราะหมดแรงหรือโรค ที่ใดที่เยอรมนียึดครองดินแดนใหม่ในยุโรปตะวันออก หน่วยเฉพาะที่เรียกว่า ไอน์ซัทซกรุพเพน จะฆาตกรรมยิวและคู่แข่งทางการเมืองในการยิงหมู่

ผู้ยึดครองกำหนดให้ชาวยิวและโรมานีถูกจำกัดอยู่ในเกตโตที่แออัดยัดเยียดก่อนถูกขนส่งโดยรถสินค้าไปยังค่ายมรณะ ที่ซึ่งหากพวกเขารอดชีวิตจากการเดินทางจะถูกสังหารไปโดยมากในห้องรมแก๊ส

ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

การล้างชาติ ภาษาอังกฤษคือ holocaust มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า holokauston แยกได้เป็น 2 คำ คือ holos แปลว่า อย่างสิ้นซาก และ kaustos แปลว่า เผา มีความหมายถึงการบูชายัญต่อพระเจ้า เริ่มปรากฏการใช้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ในความหมายถึงการตายของคนกลุ่มใหญ่อย่างรุนแรง

วินสตัน เชอร์ชิลล์ และเหล่านักเขียนในยุคก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่ 2 ใช้คำนี้ในการบรรยายถึงการพันธุฆาตชาวอาร์เมเนียนในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 1 แต่หลังจากคริสต์ทศวรรษ 1950 คำดังกล่าวถูกจำกัดวง มากขึ้น ปัจจุบันเป็นคำวิสามานยนามที่ใช้อธิบายถึงการล้างชาติโดยนาซีเท่านั้น

พจนานุกรมฉบับออกซ์ฟอร์ด ระบุคำว่า holocaust หมายความถึงลักษณะการกระทำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ที่มีต่อชาวยิวใน ปีพ.ศ.2485

[email protected]

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน