ปลูกถ่าย‘ตับ’- ทางรอดผู้ป่วยระยะสุดท้าย

 

ปลูกถ่าย‘ตับ’ทางรอดผู้ป่วยระยะสุดท้าย : ข่าวสดสุขภาพ‘ตับ’ เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่ขจัดสารพิษออกจากเลือด สร้างภูมิคุ้มกันบางอย่างขึ้นมาต่อสู้โรคติดเชื้อ และกำจัดเชื้อโรคต่างๆ ออกจากเลือด

นอกจากนี้ตับยังทำหน้าที่สร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบในการทำให้เลือดแข็งตัว และสร้างน้ำดี เป็นต้น นั่นเป็นเพียงหน้าที่ส่วนหนึ่งของตับเท่านั้น ซึ่งตับมีความสำคัญมากต่อร่างกาย

ปลูกถ่ายตับ

 

นพ.สอาด ตรีพงษ์กรุณา หัวหน้ากลุ่มงานศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า ดังนั้นโรคเกี่ยวกับตับทำให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนเรา การผ่าตัดปลูกถ่ายตับ จึงเป็นทางรอดเดียวของผู้ป่วยโรคตับแข็ง มะเร็งตับ และผู้ป่วย ตับวายเฉียบพลัน หากไม่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายให้ทันถ่วงทีนั้น จะมีผลทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

ปลูกถ่ายตับระยะสุดท้าย

ส่วนสำคัญที่สุดในการปลูกถ่ายตับนั้น คือการได้รับบริจาคอวัยวะจากผู้ที่เสียชีวิต ซึ่งหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการรับบริจาคอวัยวะ ณ ขณะนี้คือศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยซึ่งทำหน้าที่ เป็นตัวกลางในการรับบริจาคอวัยวะ โดยเป็นผู้ประสานไปยังศูนย์การปลูกถ่ายตับต่างๆ ทั่วประเทศ

และจัดลำดับคิวในการรับอวัยวะของแต่ละศูนย์ ยกเว้นกรณีฉุกเฉินที่มีผู้ป่วยตับวายเฉียบพลันซึ่งเข้าเกณฑ์ที่สภากาชาด กำหนด จะได้จัดลำดับพิเศษเป็นคิวแรก เนื่องจากภาวะดังกล่าวเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่จะทำให้คนไข้เสียชีวิตหากไม่ ได้รับการปลูกถ่ายตับทันเวลา

เมื่อมีผู้บริจาคตับเข้ามาที่ศูนย์ รับบริจาคอวัยวะ ทางศูนย์รับบริจาคอวัยวะจะตรวจสอบข้อมูลของผู้บริจาคและแจ้งไปยังศูนย์ปลูก ถ่ายตับลำดับแรกที่มีผู้ป่วยที่เข้ากันได้กับผู้บริจาคตับ จากนั้นทางศูนย์ปลูกถ่ายตับที่ได้รับตับจะแบ่งทีมศัลยแพทย์ออกเป็น 2 ทีม และดำเนินตามขั้นตอนดังนี้

ทีมแรกทำหน้าที่ผ่าตัดนำตับออกจากตัว ของผู้บริจาค หากอวัยวะมีความสมบูรณ์สามารถนำมาปลูกถ่ายได้ก็จะต้องนำอวัยวะแช่ในน้ำหล่อ เลี้ยงแล้วแช่เย็นไว้ที่อุณหภูมิ ประมาณ 4 องศา เพื่อนำมาปลูกถ่ายให้กับผู้รอรับอวัยวะ

ระยะเวลาระหว่างการนำอวัยวะออกจากร่างผู้บริจาค และนำอวัยวะมาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยไม่ควรจะมากกว่า 16-17 ชั่วโมง เนื่องจากตับที่นำออกจากร่างกายของผู้บริจาคไม่สามารถมีชีวิตอยู่นานกว่า 24 ชั่วโมง

ขณะทีมศัลยแพทย์ไปรับอวัยวะจากผู้บริจาค ทางร.พ.ก็จะเรียกผู้ป่วยที่รอรับการปลูกถ่ายอวัยวะ มาเตรียมตัวในการผ่าตัด แล้วศัลยแพทย์อีกทีมจะเริ่มผ่าตัดในผู้ที่จะรับอวัยวะ โดยจะจัดเวลาให้พอดีกับเวลาที่ตับที่รับบริจาคจะเดินทางมาถึง เพื่อให้เวลาที่นำตับออกจาก ผู้บริจาคจนปลูกถ่ายเสร็จสิ้นทันในเวลา 16-17 ชั่วโมง

ปลูกถ่ายตับ

เมื่อเสร็จสิ้นการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ ผู้ป่วยจะต้องพักฟื้นอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และสังเกตการทำงานของตับที่ได้รับการปลูกถ่ายใหม่ ว่าสามารถทำงานได้ปกติหรือไม่ โดยต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 2-4 สัปดาห์ แพทย์จึงจะอนุญาตให้กลับบ้านได้

โดยแต่ละรายจะมีมีค่าใช้จ่ายในการ ปลูกถ่ายอยู่ที่ประมาณ 4-5 แสนบาท ยังไม่รวมค่ายากดภูมิ อีกเดือนละประมาณ 10,000 บาท ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่ที่มารักษาที่โรงพยาบาลราชวิถี ไม่สามารถที่จะจ่ายค่ารักษาได้ ทำให้โรงพยาบาลต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมด

ด้วยงบประมาณที่มีอยู่จำกัดจึงไม่ สามารถผ่าตัดปลูกถ่ายให้กับ ผู้ป่วยได้มากเท่าที่ควร จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนบริจาคซื้อเครื่องมือแพทย์กับโรงพยาบาลราชวิถี

โดยสามารถร่วมบริจาคได้ที่ชื่อบัญชี “เงินบริจาคของโรงพยาบาลราชวิถี” หมายเลขบัญชี 051-276128-1 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาโรงพยาบาลราชวิถี (ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า) หรือ สอบถามโทร. 0-2354-8108-37 ต่อ 3032 หรือกรอกข้อมูลผ่าน http://www.rajavithi.go.th

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน