คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

คอลัมน์รู้ไปโม้ด โดย น้าชาติ ประชาชื่น

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

อยากทราบความเป็นมา ของการมีคณะกรรมการเลือกตั้ง กกต.

นายลุย

ตอบ นายลุย

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย ..2475 กระทั่งประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ..2540 ประเทศไทยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป 19 ครั้ง ระยะเวลา 64 ปี ดำเนินการภายใต้กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งตราขึ้นบังคับใช้ในแต่ละสมัย

กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกฉบับ ล้วนบัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการ มีอำนาจออกกฎกระทรวงและระเบียบให้การปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมาย ส่งผลให้กระทรวงมหาดไทยเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมาโดยตลอด

จนกระทั่งการเลือกตั้งครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 นายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น มีคำสั่งลงวันที่ 8 มกราคม 2535 แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและสอดส่องดูแลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

คณะกรรมการติดตามและสอดส่องดูแลการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ติดตามและสอดส่องดูแลกระบวนการของการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 22 มีนาคม 2535 ให้เป็นไปโดยสุจริต ยุติธรรม และถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมาย โดยร่วมมือกับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องคณะกรรมการติดตามและสอดส่องดูแลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือที่รู้จักกันในชื่อองค์กรกลางถือเป็นองค์กรอิสระที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ไม่มีผลประโยชน์ใดๆ กับการเลือกตั้ง ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจถึงความสำคัญของการเลือกตั้ง และตรวจสอบการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ ยุติธรรม

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย .. 2540 เป็นผลพวงมาจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 อันนำสู่กระแสเรียกร้องต้องการให้มีการปฏิรูปทางการเมืองอย่างจริงจัง

จนในที่สุดมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) ..2539 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งมาตรา 211 ด้วยการเพิ่มหมวด 12 ว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ และให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา 240 วัน นับแต่วันที่มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญครบตามจำนวน (99 คน)

สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) จำนวน 99 คน มาจากการเลือกตั้งของประชาชนแต่ละจังหวัด 76 คน และรัฐสภาคัดเลือกจากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์และการปกครองอีก 23 คน โดยการยกร่างรัฐธรรมนูญให้คำนึงถึงความต้องการของประชาชนเป็นสำคัญ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2540 สสร. ได้ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว แล้วนำเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณา

ซึ่งที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 7/2540 (สมัยสามัญครั้งที่สอง) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2540 มีมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย .. …. และเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ลงพระปรมาภิไธยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ..2540 ก็มีผลใช้บังคับในวันเดียวกัน

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน หรือฉบับปฏิรูปการเมือง โดยเนื้อหาสาระได้มีการปรับปรุงแก้ไขออกแบบโครงสร้างระบบการเมืองให้มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพมากขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพิ่มกลไกการตรวจสอบอำนาจรัฐและนักการเมืองการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ การบัญญัติให้มีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นองค์กรอิสระทำหน้าที่ควบคุมและจัดการเลือกตั้งแทนที่กระทรวงมหาดไทยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทย และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดแรก เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2540

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย .. 2540 กำหนดอำนาจหน้าที่ของ กกต. เพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งอย่างยุติธรรมในประเทศไทย ประกอบด้วยคณะกรรมการจำนวน 5 คน ซึ่งเลือกสรรโดยวุฒิสภา ดำรงตำแหน่งได้สมัยเดียวเป็นเวลา 7 ปี ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา

กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง

[email protected]

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง

  • เลือกตั้ง 2562 : ที่ประชุม กกต. จันทร์นี้ เตรียมหารือข้อร้องเรียน ทษช.

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน