SACICT จิตอาสา ปันความรู้หัตถศิลป์

SACICT จิตอาสาเพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายความจงรักภักดี น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT

จัดโครงการ “SACICT จิตอาสาผสานพลังครูฯ และ ทายาทฯ แบ่งปันความรู้งานหัตถศิลป์ สร้างอาชีพและรายได้สร้างรอยยิ้มและความสุขให้สังคมไทย

โดยพาคณะเจ้าหน้าที่และสื่อมวลชนร่วมกิจกรรมครั้งที่ 1 เดินทางสู่จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 16-17 .. สัมผัสและชมความงามงานหัตถศิลป์ ตามรอยการพัฒนาผ้าปักกับชุมชนชายขอบ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสร้างอาชีพและรายได้แก่กลุ่มชาติพันธุ์ผ่านการสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทย โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร จิตอาสา ครูสิริวัฑน์ เธียรปัญญา หรือลุงปุ๊ ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2554 บรรยายให้ความรู้ตลอดกิจกรรม

SACICT จิตอาสา

ลุงปุ๊ ครูสิ ริวัฑน์ เธียรปัญญา

วันแรก เริ่มด้วยการนำชมพิพิธภัณฑ์หอพลับพลา เจ้าดารารัศมี ชมความงามพร้อมรับฟังเรื่องราวในผืนผ้าที่ลุงปุ๊เก็บรวบรวมรักษาไว้ ทั้งผ้าซิ่นชนเผ่าต่างๆ อายุนับร้อยปี อาทิ ผ้าซิ่นลื้อ ผ้าซิ่นศรีดอนชัย บ้านน้ำเกิงหาดบ้าย เมืองแบง เมืองงา นาแล ที่มีลวดลายสีสันงดงาม สื่อวิถีชีวิตสิ่งที่ชาวบ้านพบเห็นและเป็นอยู่ ไม่เว้นแม้แต่เหตุการณ์ในสงครามเวียดนาม ที่ลายผ้ามีทั้งเฮลิคอปเตอร์ รถถัง และ เครื่องบินรบ บอกเล่าเรื่องราวในยุคสมัย ผ่านสายตาแม่หญิงผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ ถักทอผืนผ้า รวมไปถึงการทอผ้าหลบ ผ้าปูที่นอน ผ้ากราบ และผ้าตุงที่มักมีลวดลายรูปปราสาท

ผ้าทุกผืนแม้จะมีอายุนับร้อยปี แต่ลุงปุ๊ไม่หวงห้าม ทุกคนสามารถหยิบจับดูลวดลายได้ ลุงปุ๊บอกว่าผมอยากให้ผู้ชมและเด็กๆ มาจับ มาสัมผัส มาพลิกผืนผ้าเพื่อดูลวดลายให้ถึงข้างในหลังจัดแสดงผ้าทอไทลื้อแล้ว ลุงปุ๊เผยว่า ต่อไปจะจัดแสดงผ้าทอเผ่าไท 5 ชนเผ่า ในลักษณะนิทรรศการหมุนเวียน ภายใต้อาคารพิพิธภัณฑ์เด็กนักเรียนหญิงตัวน้อยสาธิตการทอผ้าด้วยความคล่องแคล่ว ขณะที่เด็กชายกำลังตอกฉลุลายไม้ สื่อถึงลมหายใจแห่งศิลปะไทยจะยังคงอยู่จากรุ่นสู่รุ่น

จากนั้นคณะเดินทางไปศึกษาดูพัฒนาการผลิตภัณฑ์ ผ้าปักที่ร้านกองหลวง เชียงราย ชมสินค้างานหัตถกรรม ในช่วงบ่ายศึกษาศิลปวัฒนธรรมล้านนา ร่วมสักการะ พระแก้วมรกต ณ วัดพระแก้ว เชียงราย

วันที่สอง คณะเดินทางสู่ชุมชนชายขอบ หนองขำ (ลาหู่) และโป่งป่าแขม (อาข่า) .แม่สรวย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เพื่อร่วมกิจกรรม “SACICT จิตอาสาโดยจัดบรรยายการเรียนรู้ผ้าปักแก่ชาวบ้านและชนเผ่าพื้นเมือง โดยมีลุงปุ๊และวิทยากรร่วมคอยให้คำแนะนำใกล้ชิด

การปักผ้า ถือเป็นทักษะที่เชี่ยวชาญของชนเผ่าพื้นเมือง ต่างสร้างสรรค์ลวดลาย สีสัน อันเป็นเอกลักษณ์ได้อย่างสวยงามลงตัว การเรียนรู้ผ้าปักจากลุงปุ๊ในครั้งนี้นับเป็นการสร้างอาชีพเสริมรายได้หลังเสร็จงานจากนาไร่

SACICT จิตอาสา

อาเบอ เย้เบีย สนุกงานผ้าปัก

ดีใจที่สุดคือเผ่าอื่นไม่รังเกียจเรา เราโชคดีที่เป็น อาข่า จะได้ทำผ้าปักให้เขาใส่ ไม่ใช่แค่เราใส่เอง เขาจะได้ใส่ฝีมือของเราอาเบอ เย้เบีย หญิงสาวชาวอาข่า วัย 41 ปี ก่อนกล่าวต่อว่า ถ้าเราไม่ขยันเราก็ไม่มีผลงาน งานปักแต่ละชิ้นใช้เวลานาน ไม่เหมือนทำสวน แต่ข้อดีคืออยู่กับบ้านก็ทำได้ ผู้หญิงอาข่าขยัน แต่ถ้าเราไม่ตั้งใจ ไม่ฝึกฝนก็ทำไม่ได้ จะทำงานผ้าปักนี้เป็นอาชีพเสริม

SACICT จิตอาสา

ป้าดอกแก้วอวดผลงาน

ด้าน ป้าดอกแก้ว ณ คีรี ชนเผ่าลาหู่เหลือง วัย 60 ปี บอกเล่าความรู้สึกว่าดีใจมากที่มองเห็นเรา ลาหู่เป็นเผ่าเล็กๆ ขอบคุณที่มาจัดอบรม จะได้มีอาชีพเสริมหลังว่างจากทำไร่ทำสวน จะได้มีตังค์ใช้ และดีใจมากที่เป็นโครงการที่พระบรมราชชนนีสนับสนุน ติดตามพระราชกรณียกิจพระบรมราชชนนี ร.9 และ ร.10 จากข่าวทีวีและยูทูบ รักทุกพระองค์มาก ท่านช่วยเรา ช่วยชาวเขาทุกอย่าง ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

SACICT จิตอาสา

อัมพวันชมผืนผ้าชนเผ่า

นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวว่า ในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายความจงรักภักดี น้อมสำนึกในพระมหา กรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว SACICT จึงจัดกิจกรรม CSR ภายใต้ชื่อโครงการ “SACICT จิตอาสาเพื่อน้อมนำแนวพระราชดำริในด้านจิตอาสาของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสืบสานพระราชปณิธานในการส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมไทย ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สอดคล้องกับภารกิจของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ หรือ SACICT ในการอนุรักษ์ สืบสาน และต่อยอดงานศิลปหัตถกรรมไทย ภายใต้กลยุทธ์หัตถศิลป์ของชีวิตปัจจุบัน

โครงการ SACICT จิตอาสา จัดรวม 10 ครั้งใน 4 ภูมิภาค ตั้งแต่เดือนพ..-มิ.. ตอกย้ำว่า SACICT เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านศิลปหัตถกรรมของประเทศ เชิดชูครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ในการถ่ายทอดแบ่งปันองค์ความรู้ศิลปหัตถกรรมให้สังคมไทยนางอัมพวันกล่าว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน