ปลูกมัน-แปรรูปขนมอร่อย ฝีมือเกษตรกรหนุ่มเมืองอุบล

ปลูกมัน-แปรรูปขนมอร่อย – “ชาวจังหวัดอุบลราชธานีจำนวนไม่น้อย ที่ยังคงทำงานเป็นลูกจ้างอยู่ที่กรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด เริ่มมีความคิดว่าสักวันหนึ่งจะต้องกลับมาทำธุรกิจเล็กๆ ที่บ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง

นายกฤษณะ สีหนาท เจ้าของ สวนสัมมะปี๋ .อุบลราชธานี เล่าถึงการตัดสินใจของตนเอง จากที่เคยเป็นผู้จัดการร้านสะดวกซื้อที่ทำงานในเมืองกรุง ผันตัวกลับมาทำเกษตรอินทรีย์ที่บ้านเกิด

นายกฤษณะผุดไอเดียแปรรูปมันหวาน เป็นขนมญี่ปุ่นสัญชาติไทย สร้างรายได้เดือนละเกือบสามหมื่นบาท

ปลูกมัน-แปรรูปขนมอร่อย

กฤษณะ สีหนาท

ปลูกมัน-แปรรูปขนมอร่อย

ชายหนุ่มวัย 32 ปี ชาวอำเภอเหล่าเสือโก้ก อำเภอเล็กๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี เห็นว่ากลับมาอยู่บ้านก็ต้อง เพาะปลูกทำไร่ทำสวน เพราะพื้นที่ในอำเภอเหล่าเสือโก้ก เหมาะแก่การทำการเกษตร แต่จะทำอย่างไรให้อาชีพเกษตรกรที่ทำอยู่นั้นมีความมั่นคงและเลี้ยงดูครอบครัวได้

ทางเลือกหนึ่งคือการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรที่ตนเองปลูกอยู่ให้มีมูลค่าและเป็นที่นิยมมากขึ้น

นายกฤษณะมองว่าที่ดินที่มีเพียงพอหากจะทำสวน พืชผัก จึงคิดถึงมันเทศ แต่เมื่อมีผลผลิตแล้วจะต้องขายให้ทันกับอายุของพืช บางครั้งก็ขายได้ในราคาถูก จึงเริ่มหันมาทำขนมจาก การแปรรูปสินค้าทางการเกษตรที่ตนปลูกเอง

ปลูกมัน-แปรรูปขนมอร่อย

ปลูกมัน-แปรรูปขนมอร่อย

ถ้าเป็นสินค้าทางการเกษตร จะติดเรื่องตลาด และอายุมันจะสั้น ผมจึงคิดถึงการแปรรูป เพราะเมื่อครั้งที่ผมเรียนอยู่กรุงเทพฯ ก็ได้เรียนวิชาทำอาหารมาบ้าง เมื่อมองกลุ่มลูกค้า พบว่ามีส่วนหนึ่งที่ชอบอาหารของต่างชาติ ผมจึงปรับใส่กับอาหารไทยเราด้วย จึงเป็นที่มาของขนม ไดฟุกุ แป้งมันไม่มีกลิ่น นุ่มละลายในปากนายกฤษณะกล่าว

การแปรรูปครั้งนี้เกษตรกรหนุ่มดัดแปลงแป้งข้าวเหนียวและแป้งข้าวเจ้าหอมมะลิที่ปลูกเองแบบเกษตรอินทรีย์ จัดส่งไปทำเป็นแป้งเพื่อมาทำเป็นขนม ส่วนไส้ด้านในเป็นมันหวานญี่ปุ่นกวนกับกะทิ ชูรสชาติไทย หน้าตาเหมือนขนมญี่ปุ่น เป็นการสร้างความแตกต่างและพัฒนาสินค้าอีกขั้นหนึ่ง

มันจะเพิ่มมูลค่าขึ้นมาอีกครับ จากที่เราต้องขุดมันญี่ปุ่นขายกิโลฯ ละ 10-20 บาท พอเราเอามาแปรรูปเป็นขนมมันญี่ปุ่นเพียง 1 กิโลกรัม ทำได้ถึง 10-20 กล่อง ส่วนไส้ เป็นมันหวานญี่ปุ่น สีม่วง สีส้ม บางครั้งทำเป็นแบบมัลเบอร์รี่สอดไส้ ก็จะคล้ายขนมไดฟุกุของญี่ปุ่น เมื่อกัดเข้าไปก็จะได้ความสดของ ผลมัลเบอร์รี่ กฤษณะกล่าว

เจ้าของผลิตภัณฑ์มันแปรรูปกล่าวว่า ขนมที่ทำนี้ยังไม่มีหน้าร้าน ส่วนใหญ่จะมีคนสั่งเป็นขนมเบรกตามงานประชุมต่างๆ ภายในจังหวัด ราคากล่องละ 30 บาท มี 4 ลูก ซึ่งก็มีคนติดต่อเข้ามาเผื่อรับไปจำหน่ายหรือไป จัดบูธอยู่เป็นประจำ จำหน่ายในพื้นที่อุบลราชธานีเท่านั้น เนื่องจากขนมชนิดนี้มันจะต้องกินวันต่อวัน วันหนึ่งขายได้ราว 30 กล่อง รายได้ต่อเดือนอยู่ที่ราว 27,000 บาท

ล่าสุด เกษตรกรหนุ่มคิดพัฒนาและ ได้เอาขนมตัวนี้ไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ว่าจะให้เก็บไว้ได้นานได้อย่างไร เนื่องจากคุณลักษณะของขนมมันต้องเป็นขนมที่ต้องกินวันต่อวัน ยืดอายุต่อไปไม่ได้ หากจะปรับเปลี่ยนต้องแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ไปในรูปแบบอื่น

นอกจากนี้ยังทำสวนให้เป็นศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตรอินทรีย์ ปลูกมัลเบอร์รี่ กระเจียว มะนาว ข้าว ผักหวาน แล้วก็ผักผสมผสานอีกหลายชนิด ผู้สนใจดูรายละเอียดได้ที่เพจเฟซบุ๊กกฤษณะ สีหนาทหรือสอบถามโทร.09-0959-7553

ภานุภพ ยุตกิจ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน