ภูมิแผ่นดินล้านนา เชิดชู 5 บุคคล

สํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดพิธีมอบรางวัล “ภูมิแผ่นดิน ปิ่นล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ.2561” เพื่อเชิดชูเกียรติประวัติผู้ทำประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม ผู้มีคุณูปการต่อวงการศิลปวัฒนธรรมล้านนา โดยมีศาสตราจารย์คลินิก นพ.นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธาน ที่ศาลาธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อไม่นานนี้

บัวตอง แก้วฝั้น และอรุณศิลป์ ดวงมูล

บุคคล 5 ท่านที่ได้รับรางวัลประจำปี พ.ศ.2561 ได้แก่ รศ.ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนา สาขาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ชาวจังหวัดน่าน ครูผู้สอนวิชาภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นไทยและคติชนวิทยา มานานกว่า 4 ทศวรรษ เป็นผู้เชี่ยวชาญและรอบรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะด้านภาษาและ

วรรณกรรมท้องถิ่น ด้านล้านนาคดีศึกษาและผ้าทอไทย ยวน มีประสบการณ์การศึกษา วิจัย ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมล้านนามาช้านาน ทั้งยังมีผลงานวิจัย ตำรา และบทความวิชาการจำนวนมากที่ประจักษ์ในคุณค่าและได้รับการอ้างอิงอยู่เสมอ ตลอดจนเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ชุมชนตลอดมา

ผศ.วิลักษณ์ ศรีป่าซาง สาขาภาษาและวรรณกรรม ชาวจังหวัดเชียงใหม่ ผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ ได้แก่ การเขียนหนังสือพระเจ้าไม้ล้านนา, ตนบุญล้านนา ประวัติครูบาฉบับอ่านม่วน, พระสกุลหริภุญไชย, คง

ผศ.วิลักษณ์ ศรีป่าซาง

เข้ม ข่าม ขลัง เครื่องรางล้านนา, ครัว หย้องของงามแม่ญิงล้านนา, ศาสตรา อาคม อุษาคเนย์, ดาบเมือง และยังมีสารคดีและเอกสารหลายฉบับ เป็นผู้เขียนบทละครและผู้จัดละครล้านนาการจัดการแสดงล้านนาโอเปร่าศิวาราตรี ด้วยรักและศรัทธา ณ ล้านนาเทวาลัย และงาน 666 ปีพระธาตุแช่แห้ง เป็นต้น

นายสมพล หล้าสกุล ชาวจังหวัดลำพูน ศิลปินแกะสลักไม้ ที่มีจุดมุ่งหมายการทำงานเพื่อให้คนรุ่นหลังเห็นคุณค่าทางศิลปะมากกว่าจะเป็นเพียงอาชีพ ความสุขในการดำเนินชีวิตไม่ได้เกิดจากการทำงานจำนวนมาก

นายสมพล หล้าสกุล

แต่เกิดจากความรักที่จะช่วยเหลือสังคมตามกำลังและความสามารถ จากการยึดมั่นในคุณธรรมทำงานแกะสลักมากว่า 30 ปี อุทิศตนแก่ส่วนรวมโดยให้ความรู้เป็นทาน ผลงานแกะไม้ไม่ได้คิดค่าตอบแทน ทุกครั้งที่ได้รับค่าวิทยากรจะมอบคืนให้หน่วยงานนั้นๆ เพื่อประโยชน์ต่อไป

พ่อครูอรุณศิลป์ ดวงมูล ชาวจังหวัดน่าน ศิลปินพื้นบ้านผู้ประดิษฐ์เพิ่มส่วนประกอบของสะล้อ และปรับวัสดุในการผลิตเครื่องดนตรีประเภทสี เพิ่มบันไดเสียง และแบ่งช่วงคีย์เสียงเป็น 7 คีย์ หาวัสดุปรับคีย์เสียงสะล้อและปินให้คงที่ แต่ยังคำนึงถึงขนบโบราณและ เพิ่มคันทวนหัวสะล้อจากแบบกลมเป็นการแกะรูป หัวพญานาคได้งดงาม จากการพัฒนาคิดค้นส่งผลให้เด็กๆ จังหวัดน่านบรรเลงดนตรี สะล้อ ซอ ปิน หรือ “สะล้อก๊อบ” ในปี 2552 ซอน่าน หรือ ซอปิน ได้รับการขึ้นทะเบียนในการปกป้องคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ประเภทศิลปะการแสดงดนตรี สะล้อ ซอ ปิน จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

แม่ครูบัวตอง แก้วฝั้น ชาวอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ช่างซอที่มีความรู้ความสามารถในการขับซอเป็นอย่างดี เป็นที่ยอมรับในกลุ่มชาวล้านนา 8 จังหวัด แม่ครูบัวตองทำคุณประโยชน์ต่อสังคมหลายด้าน เป็นผู้มีบทบาทอนุรักษ์ถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น การสอนขับซอให้คนรุ่นใหม่ คนหนุ่มสาว นักเรียน นักศึกษา แม่ครูมีความคิดสร้างสรรค์นำเหตุการณ์และสถานการณ์ต่างๆ มาปรับประยุกต์ใช้ในเพลงซอให้เข้ากับยุคสมัย

ผศ.วิลักษณ์ ศรีป่าซาง กล่าวว่า “วรรณกรรมซึ่งกำลังจะเลือนหายไปกับยุวชนรุ่นใหม่ ด้วยวัฒนธรรมต่างๆ ที่ก้าวล่วงเข้ามา เราเป็นคนหนึ่งที่รักษาศิลปวัฒนธรรมนี้ไว้ การให้รางวัลครั้งนี้ใช่ว่าจะได้เพียงแค่รางวัลอย่างเดียว แต่หมายถึงคุณค่าและกำลังใจสำหรับคนที่ตั้งใจทำงาน มีคนเล็งเห็นความสำคัญ ไม่ได้เห็นว่าเชยหรือหลงลืมไป”

ด้าน นายสมพล หล้าสกุล กล่าวว่า “งานแกะสลักไม้เป็นงานหนักและใช้สมาธิมากผลงานที่ภาคภูมิใจคือการแกะสลักพระบรมรูปเหมือนของในหลวง ร.9 ด้วยไม้ขนุน ลงรัก ปิดทอง และทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพฯ ในปี 2559 ที่โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ 48 พรรษา จ.ลำพูน นับเป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจที่สุดในชีวิต”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน