จำลองเสมือนจริง ฝึกแพทย์ฉุกเฉิน ผลงาน‘ไอซีที’มหิดล ร.พ.พระมงกุฎ

จำลองเสมือนจริง ฝึกแพทย์ฉุกเฉิน ผลงาน‘ไอซีที’มหิดล ร.พ.พระมงกุฎ – จากการศึกษาข้อมูลในปัจจุบันพบว่า บุคลากรทางการแพทย์ประสบปัญหาเกี่ยวกับความเครียดจากการปฏิบัติงานมากขึ้น ส่งผลเสียหลายประการต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับชีวิตของผู้ป่วยที่ต้องดูแลรักษา

จำลองเสมือนจริง-ฝึกแพทย์ฉุกเฉิน

และยังก่อให้เกิดอาการหรือโรคต่างๆ กับตนเองตามมาได้อีกด้วย เช่น อาการนอนไม่หลับ หรือเกิดภาวะทางจิตอย่างรุนแรง

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับโรงพยาบาลพระมงกุฎ เกล้า ประดิษฐ์คิดค้นผลงาน ‘การจำลองเสมือนจริงสำหรับการฝึก เพื่อสร้างภูมิต้านทานต่อความเครียดในสถานการณ์กดดันสูง’ มีลักษณะเป็นโปรแกรมติดตั้งบนเครื่อง High-End Graphics Workstation เชื่อมต่อกับจอภาพแบบติดตั้งที่ศีรษะ มีคอนโทรล เลอร์แบบสามมิติ และระบบติดตามการเคลื่อนไหวของผู้เข้ารับการฝึก

จำลองเสมือนจริง-ฝึกแพทย์ฉุกเฉิน

จำลองเสมือนจริง-ฝึกแพทย์ฉุกเฉิน

เพื่อแสดงสถานการณ์ฝึกเสมือนจริงและให้ผู้เข้ารับการฝึกสามารถโต้ตอบกับฉากสถานการณ์ได้ โดยมีตัวเซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ และ ค่าการเหนี่ยวนำไฟฟ้าของผิวหนัง เพื่อวัดระดับความเครียดของผู้เข้ารับการฝึกในฐานะผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินที่ออกปฏิบัติหน้าที่ครั้งแรก

เพื่อสร้างภูมิต้านทานต่อความเครียดในตัวผู้ปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน เช่น อาสากู้ชีพ ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สภาวะความกดดันจากการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตาย และเป็นการระวังป้องกันตนเองจากอาการที่เกี่ยวข้องกับความเครียดได้

จากการทดสอบกลุ่มตัวอย่าง 60 คน พบว่ามีระดับความเครียดระหว่างการฝึกเพิ่มขึ้นจากก่อนการใช้ระบบอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ร.พ.พระมงกุฎเกล้า ได้ทำการประเมินแล้วว่าเครื่องมือ ดังกล่าวมีศักยภาพเพียงพอในการใช้ฝึกเพื่อสร้างภูมิต้านทานต่อความเครียดได้

จำลองเสมือนจริง-ฝึกแพทย์ฉุกเฉิน

ดร.โมเรศ ปรัชญพฤทธิ์

ดร.โมเรศ ปรัชญพฤทธิ์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.มหิดล กล่าวว่า หลักการสำคัญของเครื่องมือนี้ คือ การจำลองสถานการณ์การปฏิบัติงานที่สมจริง และสามารถเหนี่ยวนำความเครียดในตัวผู้เข้ารับการฝึกได้ ทำให้ผู้รับการฝึกสามารถนำทักษะในการบริหารจัดการความเครียดที่เกิดขึ้นมาประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์เสมือนจริง

และสามารถปรับระดับความเครียดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ พร้อมทั้งสร้างภูมิต้านทานต่อปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดในลักษณะคล้ายๆ กัน ขณะปฏิบัติหน้าที่จริงได้

ดร.โมเรศกล่าวด้วยว่า ในอนาคตทางทีมผู้คิดค้นมีแผนที่จะพัฒนาฉากสถานการณ์จำลองให้มีจำนวนมากขึ้น พร้อมทั้งพัฒนาระบบภาพ เสียง และแอนิเมชั่น ให้มีความสมจริงมากยิ่งขึ้น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน