ฆาตกรแห่งท้องทะเล ศิลปะนักศึกษา สจล.

คอลัมน์ สดจากเยาวชน

ฆาตกรแห่งท้องทะเล ฆาตกรแห่งห้วงสมุทร (Ocean Killer) ผลงานชิ้นเอกที่ถูกพูดถึงบนโลกออนไลน์ กับการปล่อย 4 ภาพแรก ก่อนนำเสนอในนิทรรศการศิลปนิพนธ์ประจำปี 2562

ฆาตกรแห่งห้วงสมุทร เป็นผลงานการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อรณรงค์ไม่ทิ้ง ขยะในทะเล เล่าเรื่องผ่านภาพทั้งหมด 6 ภาพ บอกเล่าเรื่องราวความเจ็บปวดผ่านสัตว์นักล่าอย่างฉลามที่ต้องยอมสยบให้ฆาตรกรไร้ชีวิตขยะพลาสติก

ฆาตกรแห่งท้องทะเล

พีรวัฒน์และผลงาน

พีรพัฒน์ ประสานพานิช นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขานิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) เจ้าของผลงานฆาตกรแห่งห้วงสมุทรหนึ่งใน 42 ผลงานศิลปนิพนธ์ของภาควิชานิเทศศิลป์ สจล.

จัดแสดงในนิทรรศการจบบริบูรณ์ของนักศึกษา ผลงานศิลปนิพนธ์เหล่านี้ล้วนบอกเล่าเรื่องราวและแง่มุมต่างๆ ที่สะท้อนมุมมองของสังคมและพูดถึงหนทางสู่วันข้างหน้าที่ดีกว่าผ่านงานออกแบบสร้างสรรค์

ผมเกิดและเติบโตในพื้นที่ที่มีทะเล เห็นพัฒนาการของทะเลในห้วง 10-20 ปีที่ผ่านมา ความเติบโตทางเศรษฐกิจจากการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้น แต่กลับทำให้สภาพแวดล้อมรอบตัวเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็วจากการใช้ประโยชน์อย่างไม่ระมัดระวังและไม่คิดถึงอนาคต สู่การเริ่มต้นการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านภาพ เพื่อรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวตระหนักถึงความรุนแรงจากขยะที่มีต่อท้องทะเล พีรพัฒน์กล่าว

ฆาตกรแห่งท้องทะเล

บรรยากาศศิลปนิพนธ์

ทะเลไทยถูกจัดอันดับให้เป็นทะเลที่มีขยะมากที่สุดอันดับ 6 ของโลก จากตัวเลขของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขยะที่พบมากที่สุดในทะเลไทยคือถุงพลาสติก ร้อยละ 18 แก้วหรือขวดพลาสติก ร้อยละ 17 โฟมหรือภาชนะใส่อาหาร ร้อยละ 9 หลอด ร้อยละ 7 เศษเชือกหรือเศษอวน ร้อยละ 5 และกระป๋องน้ำ ร้อยละ 4 ที่มาของขยะกว่าร้อยละ 80 มาจากแหล่งทิ้งขยะบนฝั่งบริเวณท่าเรือหรือชุมชนริมทะเล

รวมทั้งกิจกรรมการท่องเที่ยวและการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับทะเล นิทรรศการจบบริบูรณ์ของนักศึกษาพาไปเปิดความหมาย 3 ภาพ หยุดความรู้สึก กับความเจ็บปวดของสัตว์ทะเลจากฆาตกรแห่งห้วงสมุทร

ฆาตกรแห่งท้องทะเล

โซ่ตรวนตัดชีวิต

ฆาตกรแห่งท้องทะเล

มัจจุราชพลาสติก

ฆาตกรแห่งท้องทะเล

หญ้าทะเลไร้ชีวิต

มัจจุราชพลาสติกฉลาม สัตว์ที่ถูกยกให้เป็นนักล่าแห่งท้องทะเล ถูกนำมาประกอบในภาพนิทรรศการครั้งนี้ บอกเล่าผ่านความเจ็บปวดของนักล่าที่ถูกคุกคามจากฆาตกรไร้วิญญาณ อย่างขวดน้ำหรือแก้วน้ำพลาสติกที่ทิ้งลงทะเลจากพฤติกรรมมักง่ายของมนุษย์ ขวดน้ำพลาสติกเหล่านี้ต้องการเวลาสำหรับย่อยสลายตัวเองยาวนานถึง 450 ปี หรือกว่า 4 เท่าของชีวิตคนหนึ่งคน และสัตว์ทะเลมักเข้าใจผิดว่าขยะเป็นอาหาร แต่แท้จริงแล้วคือมัจจุราชที่จะมาปลิดชีวิตไปตลอดกาล

หญ้าทะเลไร้ชีวิตหลอดกับเต่าทะเล รณรงค์คู่กันมายาวนานผ่านทั้งภาพ เสียง วิดีโอ เรื่องเล่า ฯลฯ ถึงมหันตภัยที่มักกลืนกินชีวิตที่แสนยาวนานของเต่าทะเลให้สั้นลงชั่วข้ามคืน ข่าวความสูญเสียของเต่ากับหลอดเราพบเห็นได้ตลอดเวลา

แม้ปัจจุบันจะมีการรณรงค์อย่างจริงจัง ห้ามใช้หลอดพลาสติกบริเวณริมทะเลและชายหาด ภาพนี้เป็นส่วนหนึ่งในการบอกเล่า ความยากลำบากในการใช้ชีวิตของเต่าทะเล ที่สุดท้ายหลอดกับหญ้าทะเล เต่าเหล่านี้ไม่สามารถแยกออกได้ แล้วมนุษย์อย่างเราจะหยิบยื่นหลอดให้เต่ากินได้ลงคอหรือ

ฆาตกรแห่งท้องทะเล

ภาพรณรงค์งดทิ้งขยะในทะเล

ฆาตกรแห่งท้องทะเล ฆาตกรแห่งท้องทะเล

โซ่ตรวนตัดชีวิต จากการสำรวจพบว่าแมวน้ำเสียชีวิตจากเศษซากอวน และเชือกจากการทำประมงของมนุษย์สูงที่สุด ภาพนี้สื่อสารให้เห็นถึงความรุนแรงที่สัตว์เหล่านี้ถูกกระทำจากการใช้ชีวิตปกติของพวกเขา ความรุนแรงเหล่านี้มาจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจของมนุษย์ แต่ทำลายชีวิตของสัตว์ไปนับไม่ถ้วน ภาพเหล่านี้จึงถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถ่ายทอดเรื่องราวความเจ็บปวดจากฆาตกรเลือดเย็นแทนสัตว์ทะเลเหล่านี้

ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. ออกแบบการเรียนการสอนให้นักศึกษาเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง ในสิ่งที่แต่ละบุคคลสนใจและความถนัดที่แตกต่างกัน สิ่งสำคัญคือการเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาแสดงความสามารถและถ่ายทอดสิ่งที่เรียนมาสร้างประโยชน์สู่สังคมโลก

การถ่ายทอดข้อความใดๆ ก็ตามสักหนึ่งข้อความไม่จำกัดอยู่ที่การเขียนหรือการเล่าแบบออกเสียงภาพ ถูกนำมาใช้สื่อความหมายเช่นเดียวกัน หัวใจหลักของการออกแบบสารหรือข้อความเพื่อสื่อสารกับสังคมคือการออกแบบให้เข้าถึงและกุมความรู้สึกของผู้รับสาร ภาพเหล่านี้นำเสนอแทนเสียงร้องของสัตว์ทะเลต่อการคุกคามและหยิบยื่นความตายแก่พวกเขาโดยมนุษย์ผู้ไร้ความรับผิดชอบ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน