ชมเกาะยาวน้อย อนุรักษ์นกเงือก

ชมเกาะยาวน้อย – “นกเงือกสัตว์ป่าคุ้มครอง ดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของผืนป่า เพราะนกเงือกทำรังและวางไข่ในโพรงไม้ขนาดใหญ่ ป่าใดที่ยังมีนกเงือกย่อมหมายถึงป่านั้นมีไม้ใหญ่อยู่จำนวนมาก

อีกทั้งนกเงือกยังเป็นนักปลูกป่าตัวยง เพราะเวลากินผลไม้สุก มันจะขย้อนเม็ดทิ้ง ช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ผลไม้กว่า 300 ชนิดที่มันกินได้อย่างทั่วถึง

แต่ปัญหาการบุกรุกทำลายป่า ลักลอบตัดไม้เป็นปัจจัยสำคัญส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ของนกเงือก ทำให้จำนวนนกเงือกลดน้อยลงและใกล้สูญพันธุ์

ชมเกาะยาวน้อย

โพรงเทียมนกเงือก

โรงแรมเคป กูดู เกาะยาวน้อย ในเครือเคป & แคนทารี โฮเทลส์ ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงจัดกิจกรรมสร้างโพรงรังเทียมให้กับนกเงือกบนเกาะยาวน้อย .พังงา เพื่อปลุกจิตสำนึกและร่วมอนุรักษ์ ทั้งยังช่วยฟื้นฟูธรรมชาติและระบบนิเวศบนเกาะทางอ้อม

การดำเนินการได้รับความร่วมมือจาก นายภราดร บุตรละคร กลุ่มชุมชนคนรักนกเงือกเกาะยาวน้อย เจ้าของเพจเรารักษ์เกาะยาว รวมถึงอาจารย์และนักเรียนจากโรงเรียนเกาะยาววิทยา ที่เข้าร่วมในฐานะจิตอาสา

ปัจจัยที่ทำให้นกเงือกสูญพันธุ์ นอก จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป จำนวนป่าที่ลดลง การรุกคืบของคนที่เข้ามารบกวน หากแต่ที่เกาะยาวมีปัจจัยอื่นอีกด้วย

นายภราดรระบุว่า จากการศึกษาร่วมกับอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าที่นี่นกเงือกมีอาหารเพียงพอ ผลไม้หลากหลายพันธุ์ แต่ที่น่าตกใจคือการขโมยลูกนกเงือกไปขาย ตัวหนึ่งมีราคา 4,000-5,000 บาท

อีกปัญหาคือนกเงือกขาดโพรงสำหรับแพร่พันธุ์ นกเงือกเจาะโพรงทำรังเองไม่เป็น ต้องอาศัยโพรงตามธรรมชาติขนาดใหญ่ เพราะ นกเงือกตัวใหญ่ ขณะที่ต้นไม้ใหญ่มีน้อยลงทุกที

ชมเกาะยาวน้อย

แขวนโพรงรังเทียมหน้าโรงแรมเคป กูดู

อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขแล้ว เรื่องขโมยได้อาศัย ชาวบ้านในเกาะยาว โดยเฉพาะ อสม.เป็นหูเป็นตาช่วยกันดูแล ทำให้ปัญหาขโมยลูกนกลดลงเป็นศูนย์ภายใน 3 ปี

ส่วนเรื่องโพรง แก้ด้วยการทำโพรงรังเทียม โดยมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้ออกแบบ ลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้งจนได้ข้อยุติว่าโพรงต้องมีขนาดกว้าง 50 .. ยาว 50 .. สูง 1 เมตร และทำรูเข้าขนาด 12-13 ..

จำเป็นต้องทำขอบหนาตรงรู เนื่องจากนกจะนำดินมาปิดทางเข้าเหลือช่องไว้แค่ 2-3 .. ให้พ่อนกนำอาหารมาป้อนแม่นกเท่านั้น ถ้าไม่ทำขอบรูดินจะไม่ยึดติด ปิดปากรูไม่ได้ และต้องใส่ดินเป็นพื้นหนา 10 .. เพื่อช่วยรักษาอุณหภูมิ ขณะที่แม่นกจะนำดินจากตรงนี้มาผสมน้ำลายเพื่อปิดปากรู

ส่วนวงจรชีวิตนกเงือก เดือนก..ตัวผู้จะบินหาโพรงจนถูกใจ แล้วให้ตัวเมียเข้าไปออกไข่ เมื่อปิดปากโพรงแล้ว แม่นกจะปลดปีกและหางและวางไข่ กกจนเป็นตัวลูกโตได้ราว 2 เดือนก็เริ่มฝึกบินอยู่ในรัง เป็นเหตุผลว่าทำไมต้องทำโพรงสูงถึง 1 เมตร

ถึงเดือนพ.. .. ต่อเนื่องส.. แม่นกจะพาลูกออกจากโพรงไป อยู่ป่า สอนการใช้ชีวิตและฝึกบินจนแข็งแรง จากนั้นส.. .. และ .. จะเริ่มเข้าฝูง ช่วงเวลานี้จึงเห็นนกเงือกจำนวนมาก

พอประมาณพ.. .. และ .. นกเงือกเริ่มจับคู่ หากอยากมาดูความสวยงามของนกเงือกต้องมาช่วงนี้ มันจะผลัดกันไซ้ขน ป้อนอาหารให้กัน เดือนก..เป็นช่วงสืบพันธุ์ เข้าโพรงอีก เป็นวัฏจักรวนเวียนไป

วิถีชีวิตรักของนกเงือกจะผูกพันกันแค่ 2 ตัวตลอดชีวิต จึงเป็นสัญลักษณ์ของการครองคู่แบบผัวเดียวเมียเดียวแต่ก็เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการสูญพันธุ์ได้ง่าย

ชมเกาะยาวน้อย

นายภราดรกล่าวเสริมในประเด็นนี้ด้วยว่า ไม่เพียงการอยู่เป็นคู่ของมันเท่านั้น หากแต่นกเงือกแต่ละคู่ยังมีอาณาเขตเป็นของมันเอง ทำให้จำนวนนกเงือกแต่ละที่ไม่สามารถอาศัยอยู่กันได้แบบหนาแน่น

ขณะเดียวกัน เมื่อคู่หนึ่งจับจองโพรงแห่งไหนแล้วคู่อื่นก็จะไม่มาใช้ซ้ำ หากแสงแดดส่องถึงข้างในโพรงนกก็ไม่อยู่ ดังนั้น การสร้างจึงต้องพิถีพิถัน คิดถึงเวลาตากแดดตากลมแล้วไม้ไม่แตกง่ายเกินไป โดยโพรงหนึ่งมีอายุถึง 6 ปี

นอกจากนี้ การออกลูกแต่ละครั้งตัวเมียจะไม่ออกจากโพรงเลย ต้องรอให้ตัวผู้นำอาหารมาส่งเท่านั้น ปีไหนอาหารไม่พอ หากมีลูกมากถึง 3 ตัว อาจมีบางตัวต้องตายไป หรือกรณีตัวผู้ตื่นกลัวผู้คน หรือนักท่องเที่ยวที่มาเฝ้ามองจนหนีหายไป ก็ทิ้งตัวเมียกับลูกให้ตายหมู่อยู่ในโพรง

ชมเกาะยาวน้อย

อย่างไรก็ตาม นายภราดรยืนยันว่าวันนี้คนบนเกาะยาวตื่นตัวกันมากเรื่องการอนุรักษ์นกเงือก นอกจากความพยายามในการเพิ่มจำนวนโพรงรังเทียม รวมถึงให้ชาวบ้านช่วยกันเป็นหูเป็นตาจับขโมย พบเห็นนกเงือกบาดเจ็บ หรือลูกนกตกจากรังก็ให้รีบแจ้งข่าว

ทั้งยังนำประเด็นอนุรักษ์นกเงือกมา ต่อยอดเพื่อสร้างรายได้ ด้วยการอบรมชาวบ้าน สถานประกอบการด้านท่องเที่ยวให้รู้จัก นกเงือก ช่วงก..-.. จัดกิจกรรมนำชม นกเงือก ดูตัวผู้ป้อนอาหารตัวเมีย แต่ต้องสร้างซุ้มดูแบบถูกวิธี เพราะการเฝ้ามองโดยไม่มีซุ้ม จะทำให้ตัวผู้ตกใจหนีหายได้ ขณะเดียวกันผู้เฒ่าที่อยู่บ้าน สร้างรายได้ด้วย การเพาะไม้ที่เป็นอาหารของนกเงือกไปขาย นักท่องเที่ยวได้

ธีรวัลคุ์ เตชะอุบล ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาโครงการ กลุ่มโรงแรมในเครือเคป & แคนทารี โฮเทลส์ ร่วมบอกว่า เราตระหนักถึงปัญหาประชากรนกเงือกที่ลดลงบนเกาะ เพราะขาดแคลนรังธรรมชาติที่ใช้ในการสืบพันธุ์

พวกเรารักที่นี่ รักคนบนเกาะนี้ รวมทั้งธรรมชาติที่ยังงดงามบริบูรณ์ เราให้ความสำคัญเรื่องนี้ตั้งแต่วันแรก จึงตั้งชื่อห้องอาหาร Hornbill ตามชื่อเรียกนกเงือกบนเกาะ เพราะรักและอยากอนุรักษ์นกเงือกร่วมกับคนในชุมชนนี้

วไลพร กลิ่นโสม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน