ตามเส้นทางรัก‘มะเมียะ’ มะละแหม่งไม่รู้จักแม้แต่ชื่อ

คอลัมน์ ข่าวสดหลากหลาย

ตามเส้นทางรัก‘มะเมียะ’ – ก่อนเป็นหัวข้อพูดคุยของสโมสรศิลปวัฒนธรรมเสวนาเบื้องหลังเรื่องรักของมะเมียะที่อาคารมติชนอคาเดมี เมื่อวันที่ 22 .. วิทยากรสองท่าน สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอุษา คเนย์ และ อดิศักดิ์ ศรีสม พิธีกรและผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ เดินทางไปหาข้อมูลกันถึงเมืองมะละแหม่ง ประเทศเมียนมามาแล้ว

เพราะตามโครงเรื่องตำนานรักของมะเมียะ สาวสามัญชนพม่ากับเจ้าน้อย ศุขเกษม แห่งนครเชียงใหม่นั้น มะละแหม่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของฝ่ายหญิงและสถานที่พบรักของทั้งสอง

แม้จะเป็นเรื่องโด่งดังระดับตำนาน แต่วันนี้ผู้คนส่วนหนึ่งเชื่อว่าเป็นเรื่องแต่ง และอีกส่วนยังเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง

ตามเส้นทางรัก‘มะเมียะ’

อดิศักดิ์ ศรีสม – สมฤทธิ์ ลือชัย

ตำนานรักของมะเมียะที่ลงเอยไม่สมหวัง เขียนโดย ปราณี ศิริธร พัทลุง ลงหนังสือเพ็ชร์ลานนาและชีวิตรักเจ้าเชียงใหม่

เล่าถึงความรักของมะเมียะ ไพร่สาวชาวพม่า ผู้ประกอบอาชีพค้าขายยาสูบ กับเจ้าน้อยศุขเกษม เจ้าอุตรการโกศลแห่งนครเชียงใหม่ ทั้งสองตกหลุมรักกันแล้วเจ้าศุขเกษมให้มะเมียะปลอมตัวเป็นชายพาไปอยู่ที่เชียงใหม่ แต่เมื่อความแตกก็ถูกกีดกันและพลัดพราก มะเมียะต้องกลับสู่บ้านเกิดและบวชเป็นแม่ชี

เรื่องราวนี้เล่าสู่กันฟังอย่างแพร่หลายที่เชียงใหม่ล้านนา นำมาผลิตเป็นทั้งเพลง ละครภาพยนตร์ ละครเวที จนกลายเป็นที่รู้จักกัน โดยทั่ว ถึงกับมีการจัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี ตำนานรักมะเมียะเมื่อ ..2546

แต่คนที่มะละแหม่งเคยได้ยินตำนานนี้หรือไม่ เป็นประเด็นที่น่าศึกษา

ตามเส้นทางรัก‘มะเมียะ’

หนังสืออีกเล่มที่มีตำนานรัก

ตามเส้นทางรัก‘มะเมียะ’

หนังสือที่ลงเรื่องเล่ามะเมียะ

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สะเทือนใจหลายๆ คน และเป็นเรื่องที่เรียกน้ำตารวมทั้งตัวผมเองด้วยผมจึงได้ลองตามรอยตำนานรักครั้งนี้ไปยังเมืองมะละแหม่งเมื่อปี 2549 คำตอบที่ได้กลับพบว่า ผู้คนที่เมืองมะละแหม่งกลับไม่รู้จักชื่อ มะเมียะ เลยสักคน ไม่ว่าคุณยายที่อาวุโสมากท่านหนึ่งที่มวนบุหรี่ขายในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเมือง ท่านทำอาชีพเช่นเดียวกับมะเมียะ

ไม่ว่าอธิการที่โรงเรียนเซนต์แพตทริกที่เชื่อว่าเจ้าน้อยศุขเกษมเคยไปเรียน กลับไม่มีใครรู้จักมะเมียะ ทำให้เกิดความสงสัยว่า จริงๆ แล้ว มะเมียะมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่อาจารย์ สมฤทธิ์กล่าวเปิดประเด็น

อย่างไรก็ตาม ทริปการค้นคว้าครั้งนี้ อาจารย์สมฤทธิ์และคุณอดิศักดิ์ พบข้อมูลว่าเคยมีอดีตแม่ชีอยู่ท่านหนึ่งชื่อว่าปาระมีหรือด่อปาระมีและมีเรื่องเล่าว่าขึ้นชื่อว่า มวนบุหรี่ได้อย่างชำนาญ สอดคล้องกับเรื่องราวของมะเมียะ ที่เป็นแม่ค้ามวนบุหรี่ขาย

ตามเส้นทางรัก‘มะเมียะ’

เจ้าน้อยศุขเกษม

ตามเส้นทางรัก‘มะเมียะ’

คุณยายสองพี่น้อง-ลูกของอูโพด่อง

วิทยาการทั้งสองผลัดกันเล่าว่า ทริปนั้นพบคุณยายชื่อด่อเอจิอายุราว 80 ปีในตอนนั้น ท่านความจำยังดี และเล่าว่าตนเองเป็นลูกสาวของ อูโพด่อง พ่อค้าไม้ชาวมะละแหม่ง ผู้ที่ถูกอ้างว่าเป็นคนดูแลเจ้าศุขเกษมตอนมาเรียนที่ มะละแหม่ง นอกจากนี้คุณยายเองก็เป็นผู้ดูแลอุปัฏฐากแม่ชีปาระมีจริง

นี่เป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยันว่าแม่ชีปาระมีมีตัวตนจริง

จากการสอบถามข้อมูลพบว่า แม่ชีท่านนี้เสียชีวิตเมื่ออายุ 80 ปี เสียชีวิตมากว่า 40 ปีแล้ว นั่นหมายความว่า ช่วง .. ที่แม่ชีท่านนี้เสียชีวิต เป็นช่วงใกล้เคียงกับ .. ที่มะเมียะเสียชีวิตเช่นเดียวกัน

เมื่อเทียบเวลาตามข้อมูลข้างต้นแล้วจะได้ว่าแม่ชีปาระมีเสียชีวิตเมื่อปี ..2509 และเกิดเมื่อ ..2429 ส่วนข้อมูลของมะเมียะที่ทราบกันคือเสียชีวิตตอนอายุ 75 เสียชีวิต ..2505 ดังนั้นน่าจะเกิด ..2430 ถือเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกัน

นอกจากนี้หากย้อนดูการตั้งชื่อของชาวพม่าแล้ว ชาวพม่าจะตั้งชื่อคนตามวันที่เกิด สำหรับคนที่เกิด วันพฤหัสบดี จะตั้งด้วยชื่อ ซึ่งทั้ง ปาระมี และมะเมียะ ก็มีตัวอักษรตรงตามคติคนเกิดวันพฤหัสบดี นั่นจึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่าแม่ชีปาระมีอาจเป็นคนเดียวกับมะเมียะ

ด้านคุณอดิศักดิ์เล่าพร้อมแสดงภาพวาด แม่ชีปาระมี ว่า เนื่องจากการค้นข้อมูลครั้งนี้ไม่พบ รูปถ่าย จึงให้คนไปหาช่างวาดภาพมาวาดตามคำบอกเล่าของ คุณยายด่อเอจิ มีน้องสาวของท่านคือคุณยายล่าเส่งมาช่วยให้ข้อมูลด้วยอีกคนหนึ่ง แล้วจึงได้ภาพแม่ชีปาระมีดูอายุจะราว 20 กว่าๆ

ตามเส้นทางรัก‘มะเมียะ’

โรงเรียนเซนต์แพตทริก เมืองมะละแหม่ง

สําหรับตัวละครในเรื่องนี้มีตัวตนจริง คือเจ้าศุขเกษม ผู้มีชีวิตอยู่ในโลกเพียง 33 ปี และชีวิตจริงสมรสกับเจ้าบัวชุม เชียงใหม่ ซึ่งมีสถานะทางสังคมใกล้เคียงกัน

พระบิดาของเจ้าศุขเกษมถึงส่งไปเรียนที่มะละแหม่ง เพราะตอนนั้นมะละแหม่งเป็นเมืองท่าตั้งอยู่ปากแม่น้ำอิระวดี เป็นเมืองศูนย์กลางของอังกฤษมาก่อนที่อังกฤษจะยึดพม่าได้ทั้งหมด ทำให้เมืองนี้มีความเจริญอยู่มาก มีการเรียนการสอนในโรงเรียนคาทอลิก เป็นโรงเรียนประจำแบบกินนอน มีการใช้ภาษาและสอนภาษาอังกฤษ

ประกอบกับดินแดนล้านนามีความสัมพันธ์กับพม่ามาก่อนสยาม แม้แต่ในภายหลังที่ล้านนาเป็นประเทศราชของสยามแล้ว ล้านนาก็ติดต่อกับพม่าอย่างใกล้ชิด ดังจะเห็นได้จากการนิยมใช้เงินรูปีเช่นเดียวกับพม่าและอินเดีย (ซึ่งอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษ)

บุคคลสำคัญอีกสองท่านคือ บุตรสาวสองคนของอูโพด่อง เศรษฐีค้าไม้ชาวพม่า สหายคนสนิทของเจ้าแก้วนวรัฐ ผู้มีหน้าที่ดูแลเจ้าศุขเกษมขณะมาเรียนที่มะละแหม่ง บุตรสาวทั้งสองคนของอูโพด่องไม่รู้จักมะเมียะจึงเป็นที่น่าสังเกตว่า เรื่องความรักของมะเมียะกับเจ้าน้อยศุขเกษมเป็นเรื่องที่ใหญ่พอสมควร เหตุใดในเมืองมะละแหม่งจึงไม่มีใครรู้จักเธอเลย

ตามเส้นทางรัก‘มะเมียะ’

ภาพวาดแม่ชี

นอกจากนี้ ข้อสังเกตที่น่าสงสัยอีกหลายจุดในตำนานรักนี้ เช่น มะเมียะตัดผม ปลอมตัวเป็นชายมาเชียงใหม่ เหตุใดจึงไม่มีใครรู้ว่าเป็นสตรี และเมื่อตอนที่เธอสยายผมเช็ดพระบาทเจ้าศุขเกษม ผมยาวมากพอที่จะทำเช่นนั้นได้หรือ

และหากมองในมุมของการเมืองด้วยแล้ว เจ้าเชียงใหม่ต้องกีดกันความรักครั้งนี้เพราะสยามจริงหรือไม่ หากความรักนี้อาจส่งผลกระทบต่อการเมืองระหว่างสยามกับอังกฤษจริง เหตุใดข้าราชการสยามจึงไม่มีบันทึกหรือมีหนังสือราชการใดๆ บันทึกไว้เลย

สำหรับผมแล้ว ผมคิดว่าความรักมะเมียะกับเจ้าศุขเกษมนั้น มันก็คือนิยายอิงประวัติศาสตร์ แต่อย่าเชื่อผมตรงนี้วันนี้ ถ้าจะเชื่อก็เชิญ ตามสบาย แต่ว่าถ้าจะให้ดีแล้ว ควรจะเอาคนที่เชื่อว่ามีตัวตนจริงขึ้นมาพูด เขาจะได้มาหักล้างผม ประวัติศาสตร์จะสนุกตรงนี้ครับ ถ้าคุณไปฟังแล้วก็เชื่อ ไม่ต้องทำอะไรต่อ ประวัติศาสตร์จะไม่สนุก มันจะสนุกเมื่อมีการหักล้างกันคุณสมฤทธิ์กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน