เติมทักษะเยาวชน รักเอกลักษณ์ไทย

คอลัมน์ สดจากเยาวชน

เติมทักษะเยาวชน – เกือบครึ่งศตวรรษแล้วที่โครงการรณรงค์ ส่งเสริมให้เยาวชนรักความเป็นไทยก่อกำเนิดขึ้น โดยธนาคารธนชาตนำมาต่อยอดเป็นโครงการธนชาต ริเริ่มเติมเต็ม เอกลักษณ์ไทยการประกวดอ่านฟังเสียงภาษาไทยและมารยาทไทยที่เปิดให้เยาวชนจากทั่วประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐา ธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

โครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2515 ในนามธนาคารศรีนคร ส่งผ่านธนาคารนครหลวงไทย มาจนถึงธนาคารธนชาตในปัจจุบัน โดยเมื่อปี 2554 ธนาคารธนชาตเริ่มจัดแข่งขันในชื่อโครงการธนชาต ริเริ่มเติมเต็ม เอกลักษณ์ไทย

เติมทักษะเยาวชน

ภายใต้กิจกรรมการแข่งขันอ่านฟังเสียงและการประกวดมารยาทไทยและต่อยอด เติมเต็ม สร้างเวทีให้เยาวชนผู้บกพร่องทางการได้ยินและการมองเห็น มุ่งหวังสร้างทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับความก้าวหน้าให้เยาวชนไทย และเพาะเมล็ดพันธุ์ส่งต่อสำนึกรักความเป็นไทยออกไปสู่สังคมอย่างยั่งยืน

เติมทักษะเยาวชน

เกรียงไกร

เกรียงไกร ภูริวิทย์วัฒนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สำนักประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การต่อยอดโครงการให้ครอบคลุมทั้งเยาวชน ผู้บกพร่องทางการได้ยินและการมองเห็น เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนทุกคนมีความเท่าเทียมในการฝึกฝนทักษะที่จำเป็นในการสร้างความก้าวหน้าในชีวิต

เติมทักษะเยาวชน

โรงเรียนเศรษฐเสถียร

 

..วชิราภรณ์ ทองจำนงค์ และเพื่อนร่วมทีมจากโรงเรียน เศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร เยาวชนที่เข้าร่วมประกวดแข่งขันมารยาทไทยระดับมัธยมศึกษาสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน บอกเล่าผ่านล่ามภาษามือถึงเหตุผลที่เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ว่า

มารยาทไทยเป็นทักษะที่ช่วยเสริมสร้างบุคลิกให้ดูดี สามารถสร้างความประทับใจแก่ผู้พบเห็น ทั้งยังเป็นภาษากายที่มีเสียงดังและสำคัญไม่แพ้ภาษาพูด การฝึกบุคลิกและมารยาทจึงเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการสื่อสารและการทำงานในชีวิตประจำวัน

เติมทักษะเยาวชน

โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ

ด้าน คุณครูอรอนงค์ นุเสน และ คุณครูปานจรี เคนศรี ครูผู้ฝึกสอนจากโรงเรียนเศรษฐเสถียร กล่าวเสริมถึงความประทับใจที่เกิดขึ้นในโรงเรียนว่าเราส่งนักเรียนเข้าประกวดมาตั้งแต่ปี 2558 ความสำเร็จที่เห็นชัดเจนคือสายสัมพันธ์อันดีงามระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง หลังจบการแข่งขัน เด็กที่เข้าแข่งขันจะมาสาธิตการไหว้อย่างถูกต้องที่หน้าเสาธง เกิดเป็นความรู้สึกชื่นชมและความสนใจในเรื่องมารยาทไทย

เติมทักษะเยาวชน

บรรยากาศการประกวด

เติมทักษะเยาวชน

รุ่นพี่ที่เคยแข่งขันซึ่งรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองผันตัวมาเป็นผู้ช่วยครู เป็นแบบอย่างและคอยสอนน้องที่จะแข่งขันในปีต่อไป ทุกคนตั้งใจส่งต่อความรักและความตั้งใจในการรักษาวัฒนธรรมอันดีงามของชาติให้รุ่นน้อง เด็กๆ ยังนำการฝึกตรงนี้ไปใช้ต่อกับผู้ปกครอง ถือเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ดีของไทยสู่สังคมรอบข้างอีกทางหนึ่ง

นายศักดินันท์ โพธิ์ทอง และ ..พรรวษา ศรีกุณะ เยาวชน ผู้บกพร่องทางการมองเห็นจากโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ .เชียงใหม่ ผู้เข้าร่วมการแข่งขันอ่านฟัง เสียงอักษรเบรลในระดับมัธยมศึกษา กล่าวว่า การประกวดครั้งนี้เป็นประสบการณ์ที่ไม่ได้มีบ่อย และเป็นโอกาสฝึกการรับมือกับความตื่นเต้นและความกดดันในสถานการณ์จริง ได้เรียนรู้จุดอ่อนจุดแข็งของตนเองและยังพบมิตรภาพใหม่ๆ ผลลัพธ์จากการฝึกซ้อมเพื่อมาแข่งขันทำให้ได้ฝึกลับคมทักษะการสื่อสารที่จะเป็นประโยชน์ไปตลอดชีวิต

ประสบการณ์ครั้งนี้จะนำไปสู่โอกาสใหม่ๆ ที่ช่วยให้ชีวิตก้าวหน้า เพราะทักษะการสื่อสารให้ชัดเจนเป็นสิ่งจำเป็นในการ ใช้ชีวิต ผมสามารถนำทักษะที่ได้ฝึกฝนจากการเข้าแข่งขันไปใช้ได้ตั้งแต่ขั้นตอนการสัมภาษณ์ไปจนถึงในการทำงานจริงศักดินันท์กล่าว

คุณครูศิริวรรณ อ่อนเกตุ ครูผู้ฝึกสอนน้องๆ จากโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ .เชียงใหม่ กล่าวสรุปว่าสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในหัวใจของครูในวันนี้คือการได้เห็นเด็กๆ กล้าหาญที่จะมาร่วมการแข่งขัน ครูขอบคุณที่พวกเขากล้าออกจาก พื้นที่เล็กๆ ของตัวเองมาพบเจอสิ่งใหม่ ครูบอกเด็กทุกคนว่าเรา อาจไม่ได้เก่งที่สุด แต่เรากล้าหาญที่สุด

การประกวดครั้งนี้เป็นสปิริตของทั้งตัวเด็ก คณะกรรมการ และผู้จัดงาน พวกเขาจะได้รางวัลหรือไม่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ประสบการณ์ที่เด็กๆ ได้ออกจากสังคมเล็กๆ ของตนเองมาเจอประสบการณ์ใหม่ ได้พบปะผู้คนที่ให้เกียรติและปฏิบัติกับพวกเขาอย่างเท่าเทียมคือประสบการณ์ที่มีค่ามากที่สุดสำหรับพวกเขา

ครูจะใช้ประสบการณ์วันนี้ไปวางแผนนโยบายต่อยอดในโรงเรียน เพื่อเติมเต็มเมล็ดพันธุ์แห่งความก้าวหน้าเพื่อพาพวกเขาสู่ปลายทางซึ่งก็คือการมีทักษะชีวิตที่สมบูรณ์นั่นเองคุณครูศิริวรรณทิ้งท้าย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน