“ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์”

คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรมไทย : พระพุทธรูปยืน ปางเปิดโลก

คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรมไทยพระพุทธรูปยืนในคติและสัญลักษณ์ต่างจากพระพุทธรูปยืนในวัดหรือศาสนสถานที่ปรากฏเป็นพระ พุทธรูปใน 4 อิริยาบถ คติของการเจริญกายวิปัสสนา เกี่ยวกับความไม่เที่ยงของอิริยาบถทั้ง 4 ยืน เดิน นั่ง นอน

พระพุทธรูปปางเปิดโลกในพุทธประวัติทางเถรวาทเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อขึ้นไปจำพรรษาโปรดพุทธมารดา เมื่อเสด็จกลับทรงประทับอยู่กลางเหล่าเทวดา ได้แก่ พระอินทร์ พระพรหม และอัครสาวก พระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร ทรงแสดงปาฏิหาริย์ (สิ่งที่น่าอัศจรรย์ ความอัศจรรย์ สิ่งที่แปลกประหลาด น่าพิศวง ) คือเปิดโลกทั้งสาม คือ เทวโลก มนุษย์โลก และยมโลก ได้เห็นกันทั้งหมด

ในทางจิตนิยม สิ่งที่น่าอัศจรรย์ หรือ น่าพิศวง ของการแสดงปาฏิหาริย์ก็คือ การที่พระพุทธเจ้าได้แสดงให้เห็นว่า สัตว์โลกที่อยู่ในภพหรือภาวะต่างๆ กันนั้น หรือเรียกกันในรูปแบบอื่นก็คือ ทั้งฐานะทางสังคม ฐานะความรับรู้ ฐานะของสติ ปัญญาที่ทำให้สัตว์โลก เทวดา มนุษย์ เปรต เดรัจฉาน แตกต่างกันนี้แท้จริงแล้ว ก็อยู่ในฐานะเดียวกันก็คือ

ทั้งปวงเป็นทุกข์

ทั้งปวงไม่เที่ยง

ทั้งปวงไม่เป็นสาระ

ภาพจากพิพิธภัณฑ์หอพุทธศิลป์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน