สสส.หนุนพัฒนา 18 ทีมเยาวชน สู่‘นักนวัตกรสุขภาพรุ่นใหม่’

สสส.หนุนพัฒนา 18 ทีมเยาวชน สู่‘นักนวัตกรสุขภาพรุ่นใหม่’ – จากผลงานกว่า 132 โครงการของเยาวชนคนรุ่นใหม่ทั้งระดับมัธยมและอาชีวศึกษา ที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดอย่างล้นหลามใน “โครงการประกวดผลงานนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ : THAI HEALTH INNO AWARDS ครั้งที่ 2” จนเหลือเพียง 18 ผลงานที่โดดเด่นและผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเข้าสู่รอบ สุดท้าย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงจัดกิจกรรม เวิร์กช็อป “การพัฒนาศักยภาพนวัตกรรุ่นใหม่ด้านนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ”

สสส.หนุนพัฒนา

18ทีมเยาวชน

นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ รองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. กล่าวเปิดงานให้ความรู้และความเข้าใจถึงแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพและอธิบาย การทำงานของ สสส. ทางด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ก่อนเข้าสู่กิจกรรมสนุกสนานเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการจากทั่วประเทศได้ ทำความรู้จักกัน

จุดเด่นของกิจกรรมคือจะแยกกลุ่มระหว่าง นักเรียนและครูที่ปรึกษาออกจากกันเพื่อให้ความรู้ในการสร้างสรรค์และพัฒนาผล งานที่แตกต่าง โดยกลุ่มนักเรียนนักศึกษาหลังจากได้รับความรู้จากกิจกรรมเรียนรู้แนวคิด กระบวนการเสริมสร้างสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา (Ottawa Charter) จากการบรรยายของ ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนงานนวัตกรรม สสส.

สสส.หนุนพัฒนา

เช่นเดียวกับกลุ่มอาจารย์ที่ปรึกษาที่แยก ห้องไปอีกห้องหนึ่ง เนื้อหาหลักของการเรียนรู้คือ การคิดเชิงออกแบบเช่นเดียวกัน แต่มีการเพิ่มอาวุธสำคัญสำหรับที่ปรึกษาคือ วิธีให้คำปรึกษาแบบการให้คำปรึกษาและรับฟังด้วยหัวใจ (Coaching and Deep Listening) ขณะที่ครูที่ปรึกษาก็จะทำหน้าที่เป็น “โค้ช” ที่ดี ช่วยให้เด็กๆ สร้างนวัตกรรมที่ดีที่สุด

กิจกรรมในวันที่สองเข้มข้นขึ้นด้วยการให้ เด็กนำโครงการที่คิดค้นมาวิเคราะห์ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ โดยมีวิทยากรกระบวนการที่เด็กๆ เรียกกันว่า “พี่ฟา” ลงไปคลุกคลีกับเด็กๆ อย่างใกล้ชิดเพื่อกระตุ้นให้เด็กๆ คิด วิเคราะห์ แยกแยะนวัตกรรม พร้อมๆ ไปกับการให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ที่ปรึกษา และเพื่อให้เหล่า “ยุวนวัตกร” ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ สสส. จึงจัดผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ จำนวนมากมาทำหน้าที่ที่ปรึกษาช่วยให้คำแนะนำ ช่วยวิเคราะห์และเสนอแนวคิดให้แก่ทีมต่างๆ เพิ่ม

สสส.หนุนพัฒนา

ช่วงสุดท้ายกิจกรรมในวันที่สามคือ การนำเสนอโครงการที่ปรับปรุงแล้วแก่กรรมการ การตัดสินโครงการ ซึ่งทำหน้าที่ที่ปรึกษารอบสุดท้ายอีกครั้ง ซึ่งเมื่อกิจกรรมมาถึงตอนท้าย นวัตกรรมที่นักนวัตกรรุ่นใหม่ทั้ง 18 ทีม คิดขึ้นก็แทบจะตอบโจทย์และมีผลลัพธ์ที่ตรงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการทุกทีม

สสส.หนุนพัฒนา

“น้องกั๊ง” ชลิตา หวานซึ้ง จากทีม Boripat Health Care โรงเรียนบริพัตรศึกษา อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน บอกถึงสิ่งที่ตนและทีมได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ กระบวนการคิดเชิงออกแบบหรือ Design Thinking นั่นเอง ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ “ครูฟาง” สมลักษณ์ พัดค้อ อาจารย์ที่ปรึกษา โครงการเครื่องผลิตน้ำหมักจากฝักคูน โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ระบุว่า จากการสังเกต เมื่อนำกระบวนการคิดเชิงออกแบบมาใช้ จะทำให้แนวทางการทำงานชัดเจนขึ้นและทำได้เป็นลำดับขั้นตอน มากขึ้น และเมื่อรู้ถึงแนวทางการให้คำปรึกษาและรับฟังด้วยหัวใจ ก็พบว่าได้ผลลัพธ์ที่ดีมาก

สสส.หนุนพัฒนา

ในส่วนของที่ปรึกษาและคณะกรรมการ ปาพจน์ ตันสุวรรณ ผู้ชำนาญการ (โครงการพิเศษ) ศูนย์ส่งเสริมองค์กรคุณภาพ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความพอใจการจัดงานครั้งนี้ที่นำทั้งนักเรียนและครูมาให้ความรู้ทางด้าน Design Thinking และแนะนำเทคนิค coaching ให้แก่อาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งเป็นการได้ประโยชน์อย่างมากทั้งครูและนักเรียน

สสส.หนุนพัฒนา

ขณะที่ นพ.ปัญญา ไข่มุก ที่ปรึกษา โครงการ ระบุว่า การอบรมครั้งนี้จะทำให้ ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งครูและนักเรียน กลายเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งการสร้างนวัตกรรม สร้างสรรค์แนวคิดในการช่วยเหลือสังคม เผยแพร่ไปในวงกว้างต่อไป

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน