เบาหวานชนิดที่ 2 รักษาแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

เบาหวานชนิดที่ 2 รักษาแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง – สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ฯ รณรงค์จัด Insulin Therapy 2019 ให้ความรู้บุคลากรทางการแพทย์ ที่โรงแรมประจักษ์ตรา ดีไซน์ โฮเทล จ.อุดรธานี

ภายในงานประชุม Insulin Therapy 2019 มีแพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ในนามของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ รวม 6 ท่าน ประกอบด้วย ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรณี นิธิยานันท์, พญ.อัมพา สุทธิจำรูญ, พญ.ยุพิน เบ็ญจสุรัตน์วงศ์, นพ.ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์, นพ.ชัชลิต รัตรสาร และ นพ.เพชร รอดอารีย์ ให้เกียรติมาร่วมให้ความรู้แก่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวมกว่า 150 คน

ในหัวข้อที่เจาะลึกเข้าถึงรายละเอียดในแต่ละมิติของการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน การพิจารณาเลือกอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน แนวทางการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ แนวทางการรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และการเลือกใช้วิธีการรักษาที่หลากหลายรูปแบบเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อผู้ป่วย

เบาหวานชนิดที่ 2 รักษาแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรณี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ กล่าวถึงภาพรวมสถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย รวมถึงให้โรงพยาบาล ทีมแพทย์และพยาบาลร่วมกันคิดวิเคราะห์และหาแนวทางรักษาผู้ป่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อช่วยลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อน จากข้อมูลประเมินได้ว่าผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน รวมถึงปรับการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

เบาหวานชนิดที่ 2 รักษาแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรณี กล่าวด้วยว่า องค์ประกอบที่จะดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานนั้นไม่ได้อยู่ที่แพทย์เพียงเท่านั้น แต่หมายรวมถึงทีม ทั้งพยาบาล สหสาขาวิชา รวมถึงบุคคล ใกล้ชิด พ่อแม่พี่น้อง ญาติมิตร แต่สำคัญที่สุดคือ ‘ผู้ป่วย’ ถือเป็นศูนย์กลาง หากผู้ป่วยเริ่มยอมรับและพร้อมที่จะอยู่กับเบาหวานอย่างเข้าใจ ก็จะเกิดทักษะและสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม ทำให้การดูแลรักษาเบาหวานและควบคุมภาวะร่วมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีได้ ช่วยลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานในครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่น และลดโอกาสการเกิดโรคร่วมอื่นๆ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อีกด้วย

เบาหวานชนิดที่ 2 รักษาแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

เบาหวานชนิดที่ 2 รักษาแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

นพ.ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์ ประธานวิชาการ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ กล่าวว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ยังไม่สามารถควบคุมดูแลตนเองได้ตามเป้าหมาย โดยปัจจุบันมียากลุ่มใหม่ที่ช่วยแก้ปัญหาลดน้ำตาลหลังมื้ออาหาร และช่วยลดน้ำตาลระหว่างมื้อได้ภายในเข็มเดียวกัน โดยยากลุ่มใหม่นี้ได้ถูกระบุอยู่ใน The American Diabetes Association’s (ADA) และ European Association for the Study of Diabetes (EASD) และยังปรับปรุงแนวทางการรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ใหม่ โดยเน้นที่การรักษาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย หรือให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของการรักษา

เบาหวานชนิดที่ 2 รักษาแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

โดยแนวทางการรักษาใหม่นี้จะพิจารณาถึงทางเลือกในการรักษาด้วยยาชนิดต่างๆ อาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงจากยาแต่ละชนิด ผลของการควบคุมน้ำตาล และการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน การเลือกใช้ยารักษา จะพิจารณาจากหลายองค์ประกอบ อาทิ ผู้ป่วย อายุ ระดับความรุนแรงของอาการ ระดับน้ำตาล โรคร่วม ประสิทธิภาพของยา ราคา และผลข้างเคียง เป็นต้น

ขณะเดียวกันผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยเฉพาะรายใหม่ๆ ก็ควรจะได้รับการแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Total Lifestyle Management) ประกอบด้วย 1.Diet – กินอาหารในปริมาณพอเหมาะ อ่อนหวาน มัน เค็ม มีผักผลไม้ทุกมื้อ ใช้ข้าว/แป้งขัดสีน้อย มีธัญพืชและถั่วทุกวัน มีการสอนให้รู้จักอาหารแลกเปลี่ยนหรือทดแทนกัน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มผสมน้ำตาล แอลกอฮอล์

2.Physical activity – ออกกำลังกายปานกลาง ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน เสริมด้วยฝึกแรงต้น และยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนและหลังออกกำลังกาย

3.Sedentary time – เคลื่อนที่ร่างกาย 5-10 นาที ทุก 1-2 ชั่วโมง

4.Psychosocial Issues – ให้ความรู้คำปรึกษาและช่วยเหลือการควบคุมเบาหวาน ฝึกสมาธิ วิธีผ่อนคลาย หรือปรึกษานักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์

5.Sleep – เข้านอนเป็นเวลา ประมาณ 22.00 น. และนอนไม่น้อยกว่า วันละ 7 ชั่วโมง

6.Alcohol – ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ (ดื่มได้ปริมาณจำกัด เป็นครั้งคราวในงานสังคม)

7.Smoking – ไม่สูบบุหรี่ รวมถึงไม่อยู่ในสถานที่ที่มีควันบุหรี่เป็นเวลานาน และในบ้านไม่สูบบุหรี่

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน