โกษาปาน-ถนนสยาม (ตอนจบ)

คอลัมน์ รู้ไปโม้ด

โดย น้าชาติ ประชาชื่น

โกษาปาน-ถนนสยาม – ฉบับวานนี้ (19 ..) “น้องเต้ยขอทราบรายละเอียดการนำรูปปั้นโกษาปานไปติดตั้งในฝรั่งเศส และเรื่องถนนสยาม เมื่อวานตอบเรื่องสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

จัดสร้างรูปปั้นขนาดครึ่งตัว “Kosa Pan : Le buste โกษาปาน อนุสรณ์สถานแห่งมิตรไมตรีที่ถนนสยามนำไปประดิษฐาน ถนนสยาม เมืองแบรสต์ ประเทศฝรั่งเศส เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในวาระครบ 11 ปี การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์ผู้ก่อตั้งสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย แล้ว

โกษาปาน-ถนนสยาม

วันนี้ขอนำสู่ ถนนสยาม เมืองแบรสต์ ประเทศฝรั่งเศส คำตอบนำมาจากเว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม www.silpa-mag.com/ เผยแพร่เรื่องถนนสยาม ไม่มีในสยาม แต่มีในฝรั่งเศส (ได้ยังไง?)” ว่า เรื่องของถนนที่มีชื่อว่าสยาม (Rue De Siam) ในประเทศฝรั่งเศสนั้นเป็นเรื่องจริงและยังคงตั้งอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ หากใครไม่เชื่อก็ขอท้าให้เปิด Google Map แล้วค้นหาคำว่า Rue de Siam ดูได้เลย

เรื่องราวความเป็นมาที่ว่าถนนสยามไปตั้งอยู่ในประเทศฝรั่งเศสได้อย่างไรนั้น ไกรฤกษ์ นานา ได้รวบรวมข้อมูลมาเขียนลงในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับสิงหาคม 2546 สรุปได้ดังนี้

ถนนสยามในประเทศฝรั่งเศสนั้นมีอยู่ 2 สายด้วยกัน โดยสายแรกถือกำเนิดขึ้นใน ..2229 หรือในสมัยของพระนารายณ์มหาราช มีที่มาที่ไปคือเมื่อเรือของคณะทูตานุทูต นำโดยพระ วิสุทธสุนทร (โกษาปาน) เทียบท่าที่เมืองแบรสต์ (Brest) หรือบริเวณชายฝั่งทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ

โกษาปาน-ถนนสยาม

พบว่ามีข้าราชการและประชาชนชาวฝรั่งเศสเดินทางมาต้อนรับอย่างเอิกเกริกเรียงตั้งแต่ท่าเรือไปจนถึงในตัวเมือง หลังจากนั้นมาถนนบริเวณท่าเรือตัดเข้ามาที่ตัวเมืองแบรสต์จึงได้ชื่อว่าถนนสยามตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่คณะราชทูตที่พระนารายณ์ทรงส่งไป

สำหรับถนนสยามสายที่ 2 เกิดในสมัยของรัชกาลที่ 5 ภายหลังจากที่มีการตั้งสถานเอกอัครราชทูตสยามในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสใน ..2426 เมื่อรัฐบาลฝรั่งเศสได้มีกำหนดตัดถนนใหม่แยกออกจากถนนสาย Rue De La Pompe

ซึ่งเป็นถนนสายที่สถานทูตสยามตั้งอยู่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์เอกอัครราชทูตชาวสยามคนแรกที่ประจำอยู่ในกรุงปารีสได้ขอร้องให้ทางการฝรั่งเศสช่วยตั้งชื่อถนนสายใหม่นี้ว่า Rue de Siam หรือ ถนนสยาม ซึ่งรัฐบาลฝรั่งเศสก็ยินดี

ยังมีข้อมูลจากวิกิพีเดียว่า ถนนสยาม (ฝรั่งเศส Rue de Siam) เดิมชื่อ ถนน Saint-Pierre (ถนนนักบุญปีเตอร์) เป็นถนนที่ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นอนุสรณ์เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงส่งคณะทูต

โกษาปาน-ถนนสยาม

นำโดย เจ้าพระยาโกษาธิบดี หรือโกษาปาน, ออกหลวงกัลยาราชไมตรี และออกขุนศรีวิสารวาจา ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่พระราชวังแวร์ซาย โดยมีกำหนดการเข้าเฝ้าเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ..2229

คณะราชทูตสยามเดินทางมาโดยทางเรือ ขึ้นบกที่ท่าเรือเมืองแบร็สต์นี้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ..2229 ถือเป็นจุดแรกที่เข้าสู่ประเทศฝรั่งเศส และเดินทางผ่านถนนสายดังกล่าว ต่อมาชาวเมืองจึงได้เปลี่ยนชื่อถนนเป็นถนนสยามเพื่อระลึกถึงการเดินทางของคณะราชทูตครั้งนี้ โดยเริ่มใช้ชื่อดังกล่าวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ..2354

ถนนตั้งอยู่ที่เมืองแบรสต์ แคว้นเบรอตาญ นับเป็นถนนสายหลักของเมือง ในปัจจุบันสองข้างทางถนนยังเต็มไปด้วยป้ายชื่อ มีทัศนียภาพที่สวยงาม มีน้ำพุต่างระดับรวมถึงเกาะกลางถนน และเป็นเส้นทางไปสู่ศาลาว่าการเมือง

ถนนสยามนับได้ว่าเป็นถนนประวัติศาสตร์ในความสัมพันธ์ไทยฝรั่งเศส และถือว่าเป็นคู่กับถนนแบรสต์ (ถนนเจริญกรุงซอย 36 หรือ ซอยโรงภาษี) ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยได้เสนอให้เพิ่มชื่อถนน

แบรสต์อีกชื่อหนึ่ง เนื่องจากสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสและทำเนียบเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนถนนสายนี้ มีพิธีเพิ่มชื่อถนนเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ..2556 โดยเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย นายกเทศมนตรีเมืองแบรสต์ และผู้แทนรัฐบาลไทยทั้งจากกระทรวงวัฒนธรรมและ ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร เข้าร่วม

[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน